ReadyPlanet.com
dot
Line ID
dot


10. ความเป็นมาของปัญหาสายพานกระพ้อแบบเดิม

 ทางเลือกใหม่ สายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting)

          ความเป็นมาของปัญหา

            ท่านที่เคยทำงานเกี่ยวกับสายพานลำเลียงคงรู้จักสายพานกระพ้อเป็นอย่างดี  ประมาณว่าไม่ต้องมีอะไรมาพูดถึงอีก แต่พออ่านบทความชิ้นนี้ของบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด จบลง อาจจะต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ มาทบทวนความรู้หรือประสบการณ์ เรื่องสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) ที่ผ่านมาว่าแท้จริงแล้วที่เราใช้งานสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) อยู่ทุกวันนี้ได้สายพานกระพ้อที่ดีเหมาะสมกับเงินที่จ่ายไปแล้วหรือยัง ทางเลือกที่ดีกว่านี้มีอีกหรือไม่? บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด ก็ขอแชร์ประสบการณ์ร่วมกับท่านผู้อ่านหน่อยก็แล้วกันครับ

    ต้นกระพ้อ (Bucket Elevator) 

เท่าที่บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัดได้พบเห็นและมีประสบการณ์ตรงในการซ่อมแซมและเปลี่ยนสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) มาเราพบว่า มากกว่า 95 ของสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) ที่ใช้กันเป็นแบบประยุกต์จากสายพานลำเลียงธรรมดา (Multi Ply Belt) มาเป็นสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) ไม่ใช่ว่าสายพานลำเลียงธรรมดา (Multi Ply Belt) ไม่ดีหรือใช้ไม่ได้นะครับ ใช้ได้ (แต่มีปัญหาบ้างท่านที่ใช้งานอยู่คงรู้ดี ) แต่ก็ยังมีทางเลือกอื่นๆที่น่าพิจารณาอีก เช่นน้อยคนนักที่ทราบว่าสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting)ที่เป็นสายพานกระพ้อจริงๆเหมาะสมกว่าที่ท่านใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ยังมีอยู่แต่ไม่เคยใช้  บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด จึงทำหน้าที่แจ้งข่าวให้เป็นทางเลือกแก่ท่านที่ผ่านมาอ่าน website นี้ได้ทราบ รับรองว่าอ่านแล้วได้อะไรติดตัวไปแน่ๆ ใช้วิจารณญาณของท่านพิจราณาเองว่าจะเชื่อข้อมูลของเราได้มากน้อยแค่ไหน เรื่องแบบนี้ มุสากันไม่ได้ง่ายๆเพราะเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์พิสูจน์ข้อเท็จจริงกันได้ 

กลับมาที่ 5 ที่เหลือของสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) นั้นส่วนมากจะใช้เป็นสายพานที่ถักทอแบบ Solid Woven ซึ่งจะติดมากับเครื่องจักรตั้งแต่ครั้งแรกที่นำเครื่องจักรเข้ามาจากต่างประเทศ เรียกว่าเป็นเรื่องพิเศษที่พวกเราไม่ค่อยคุ้นเคยกันก็ได้ (ส่วนที่ใช้ Steel Cord เป็นสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) เรายังไม่ปรากฏเห็นมากนักในประเทศไทย)

มี Case Study มาเล่าสู่กันฟัง เมื่อเดือน มีนาคม2556 ที่ผ่านมา บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัดได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนลูกค้ารายหนึ่งที่ใช้งานสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) ที่จังหวัดระยอง ลูกค้ารายนี้พาเราไปสำรวจสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) ที่มีอยู่หลายต้น แล้วถามว่า ทำไมสายพานที่ติดมากับเครื่องจักร จากต่างประเทศใช้งานมา 10 ปีแล้ว ยังไม่เคยเปลี่ยน หรือตัดต่อแต่อย่างใด? ผิดกับต้นกระพ้อที่ทำเองในประเทศไทยแม้สร้างทีหลัง(ใช้สายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) ที่ผลิตในประเทศ) ต้องตัดต่อสายพานทุกๆ ปีครึ่งหรือ 2 ปี เป็นประจำ ทำให้เสียเงินและเวลามากมาย มีคำแนะนำหรืออะไรที่เป็นทางเลือกที่ดีกว่านี้หรือไม่?

เมื่อบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัดได้เข้าไปสำรวจหน้างานก็พบว่าสายพานที่ติดมากับเครื่องจักร จากต่างประเทศนั้นเป็นสายพานที่ถักทอแบบ Solid Woven ตาม Specification ที่โรงงานต่างประเทศให้มาดังนี้

 

ส่วนสายพานที่ ต้องตัด-ต่อทุก ปีครึ่งหรือ 2 ปี เป็นประจำนั้นเป็นสายพานกระพ้อธรรมดา (Multi Ply Belt) หรือคล้ายกับสายพานลำเลียงที่ใช้กันทั่วไปในประเทศไทยเราส่วนเหตุผลที่ต้องตัด-ต่อ-เปลี่ยน บ่อยๆ จะเป็นอย่างไรนั้น ขอให้ท่านติดตามอ่านต่อไป

 

สายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) แบบ Solid Woven เป็นสายพานที่ติดมากับเครื่องจักร จากต่างประเทศใช้งานมา 10 ปีแล้วไม่เคยได้ตัดต่อเลย

สายพานลำเลียงธรรมดา (Multi Ply Belt) ต้องตัดต่อสายพานทุก ปีครึ่งหรือ 2 ปี และต้องเปลี่ยนใหม่บ่อยๆ

1.ชนิดของสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) 

สายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) มีมากมายหลายชนิด แต่ที่ใช้กันทั่วไปในประเทศไทยราจะเป็นสายพานลำเลียงธรรมดา (Multi Ply Belt) และใช้ในต่างประเทศจะเป็นสายพานที่ถักทอแบบ Solid Woven ความแตกต่างกันเป็นอย่างไรขอให้ราณาจากข้อมูลดังต่อไปนี้

1.1) การถักผ้าใบ(Fabric) ที่ใช้ทำสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) 

         1.1.1.) สายพานลำเลียงธรรมดา (Multi Ply Belt)  ผ้าใบจะถักแบบธรรมดาเรียบง่าย(Plain Weave) คือมีด้ายถัก 2 ด้าน ด้านยาว(Warp) และด้านขวาง(Weft) ถักขึ้น-ลง กันไป-มาคล้ายรูป Sine Wave เป็นสายพานที่เรากันว่า ผ้าใบ EP ที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบันใช้กันเป็นสายพานลำเลียง เนื้อผ้าใบของสายพานแบบนี้จะหลวมและไม่แน่นเท่าใดนัก ทำให้เมื่อสายพานรับน้ำหนักจะยืดตัวได้สูง

ถักแบธรรมดา(Plain Weave)

 

โครงสร้างของผ้าใบในสายพานลำเลียงธรรมดา (Multi Ply Belt)

Ø                             1.1.2.) สายพานลำเลียงถักแบบด้ายตรง(Straight Warp) คือมีด้ายถัก 2 ด้านยาว(Warp)วิ่งตรงๆเป็นด้ายหลักรับ Tension และมี Fill Yarns และ Binder warp ถักไขว้ขึ้น-ลง กันไป-มาสลับกัน การถักแบบนี้ทำให้สายพานมีคุณสมบัติคล้ายกับคาน(Beam) มีความเสถียรสูง(High Stability) มีความแน่นสูง การยืดตัวต่ำ ขาดยาก ขอบข้างไม่เปื่อยยุ่ยง่ายทนต่อแรงกระแทก มีความแข็งแรงด้านขวางสูงใช้กับงานประเภททนแรงดึงสูง ทนการกระแทกสูง และราคาก็สูงตามคุณภาพไปด้วย

 

การถักแบบด้ายตรง(Straight Warp)

 

ผ้าใบรับแรงถักแบบ Straight Warp (SW) แข็งแรงมาก

Ø                            1.1.3.) สายพานลำเลียงถักแบบ Solid Woven คือการปรับปรุง( Modify ) การถักแบบด้ายตรง(Straight Warp)ให้มีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้นโดยเพิ่มชั้นการถักแบบตรง(Straight Warp)ให้มากกว่า ชั้น แล้วใช้ด้ายตามแนวขวางถักมัดให้แน่นเป็นก้อนเดียวกัน ดังนั้นการถักแบบSolid Woven จึงมีความเสถียรสูง(High Stability) มีความแน่นสูง ตัวผ้าใบของสายพานล็อกกันเป็นก้อนเดียวกัน ในสภาพการใช้งานปรกติขอบข้างไม่แยกชั้น ไม่หลุดลุ่ย( Fray )(เพราะการถักผ้าใบเป็นก้อนเดียวกัน)เป็นแข็งแรงมากใช้ Bolt ยึดกับลูกกระพ้อได้แข็งแรงขาดยาก

 

 ถักแบบ Solid Woven Belt ผ้าใบหลายชั้นแต่ล็อกกันเป็นก้อนเดียวแข็งแรงมาก

  สายพานลำเลียงถักแบบ Solid Woven (Solid Woven) การยืดตัวต่ำมากๆ (ปรกติประมาณ 0.5 -0.7 ของ Rated Tension) ขาดยาก ทนต่อแรงกระแทก มีความแข็งแรงด้านขวางสูง ที่ต่างประเทศใช้เป็นสายพานลำเลียงในสถานที่ที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่นในเหมืองถ่านหินใต้ดิน (Under Ground Mining) ที่บ้านเรายังผลิตกันไม่ได้ เท่าที่ทราบผู้ผลิตในประเทศไทยไม่เคยกล่าวถึงสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting)แบบ Solid Woven เลย   อาจจะไม่ได้ผลิตหรือกลัวเสียตลาดสายพานแบบธรรมดาที่ใช้กันอยู่ก็ได้ ขณะที่ต่างประเทศมีการใช้งานอย่างกว้างขวางแม้ในประเทศจีนที่เรามักดูเขาด้วยสายตาที่แปลความหมายว่ายังไม่พัฒนาเท่าใดนัก ก็ใช้กันอย่างแพร่หลาย ด้วยคุณสมบัติการยืดตัวต่ำอย่างนี้นอกจากจะใช้กับงานหนักๆแล้ว ยังเหมาะสมจะ ทำสายพานกระพ้ออย่างยิ่ง เพราะ การยืดตัวต่ำมากๆ (ปรกติประมาณ 0.5 -0.7 % ของ Rated Tension) จึงมีความเสถียรสูงไม่ต้องตัดสายพานบ่อยๆ หรือไม่ต้องตัดเลยตลอดการใช้งาน และใช้ Bolt ยึดกับลูกกระพ้อได้แน่นมาก ขาดยาก ทนสุดๆ

 

2. สายพานกระพ้อแบบSolid Woven ดีกว่าสายพานแบบธรรมดา (Multi Ply Belt) อย่างไร?

2.1 ) สายพานกระพ้อแบบSolid Woven มีคุณสมบัติการยืดตัวต่ำกว่ามาก

(ปรกติประมาณ 0.5 -0.7 % ของ Rated Tensionขึ้นอยู่กับแต่ละผู้ผลิตลองสมมุติตัวเลขกันดูหน่อยเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นว่า ต้นกระพ้อสูง 20 เมตร สายพานจะยาวประมาณ 42 เมตร การยืดตัวเมื่อใช้งาน 0.5 เท่ากับ 21 ซม. สมมุติว่ามีระยะ Take Up 30 ซม. (ปรับความตึงสายพานได้ยาว 2 เท่าคือ  60 ซม.)จะเห็นว่า ระยะปรับตึงมีมากมายเพียงพอ และจากการปรับตรึงครั้งแรกแล้วแทบไม่ต้องปรับ Take up เลยตลอดเวลาของการใช้งาน ขณะที่สายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) ธรรมดาแบบ (Multi Ply Belt) จะมีการยืดตัว 2-4 % ของ Rated Tension  (ประมาณ 1.72 เมตร) คำนวณเอาเองก็แล้วกันว่าต้องตัดต่อกันกี่ครั้ง และหากยืดมากขนาดนี้ก็ต้องเปลี่ยนสายพานแล้วเพื่อความปลอดภัย

   สายพานกระพ้อแบบ Solid Woven มีลักษณะการถักของผ้าใบหลายๆชั้นมัดให้แน่นเป็นก้อนเดียวกัน จึงมีความเสถียรสูง(High Stability) มีความหนาแน่นสูงดังนั้นจึงไม่ต้องตัด-ต่อ-เปลี่ยนสายพานบ่อยๆ ราคาค่าเปลี่ยนสายพานเริ่มต้นที่หลักแสนบาทหรือหลายแสนเป็นต้นไป นอกจากนี้ยังทำให้โรงงานเสียโอกาสในการผลิตอีกด้วยเรียกว่าเสียกันหลายต่อทีดียว ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของผู้ใช้งานต้องพิจารณาให้ดีว่า จะจ่ายสูงหน่อยตอนเริ่มต้นแต่สบายนาน หรือจ่ายแต่น้อย ลำบากมากขึ้นทั้งด้านงานและความเสียหายต่อเนื่อง(Associated Loss) ในเวลาต่อมา เป็นที่เข้าใจได้ไม่ยากว่าส่วนมากแล้วผู้ใช้งานซึ่งมักจะเป็นฝ่ายช่างเป็นผู้เสนองาน ตอนเริ่มต้นความคิดแบบเดิมๆคืออยากได้แต่ของราคาถูกๆ เป็นผลงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ผิด เพราะตัวเลขเหล่านี้จะบันทึกเป็นรายจ่าย ใครๆเห็นง่าย เวลาเสนอเจ้านายไม่เป็นที่ระคายสายตาจะอนุมัติให้ซื้อง่าย เมื่อซื้อมาแล้วหากเสียก็ซ่อมกันไป ไม่มีใครว่าเพราะทุกคนก็เห็นว่ามันเสียจริงๆ ส่วนค่าเสียเวลา ค่าเสียโอกาสจากการผลิต เพราะต้องหยุดงานเพื่อซ่อมสายพานตัวเลขเหล่านี้ ไม่ปรากฏให้เห็นทางด้านบัญชีก็ช่างหัวมัน ไม่มีใครสนใจหรอก เพราะคิดว่าไม่ใช่เรื่องของเราทั้งๆที่ค่าเสียหายเหล่านี้มีค่ามากกว่าค่าสายพานดีๆสักเส้นมากนัก สำหรับบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัดขอแนะนำว่าหากท่านที่เป็นช่างอยากทำงานให้เข้าตาเจ้านาย ต้อง Up Grade ความคิดหรือทัศนคติของตัวเองหน่อย ก่อนอื่นเลยต้องเป็นผู้กล้าเสียก่อน กล้าคิดในสิ่งดีๆ ใหม่ๆ ที่เรามั่นใจว่าเป็นประโยชน์ต่อองค์กรของเรา พยายามคิดถึงภาพรวมก่อนภาพย่อยเสมอ ต้องคิดแบบผู้บริหาร หาเหตุผลว่าจ่ายแพงหน่อยแต่คุ้มค่ากว่ากันมากๆๆๆมันมีได้ด้วยเหตุผลอะไร อธิบายให้เจ้านายเข้าใจ เชื่อเถอะไม่มีเจ้านายคนไหนที่โง่เง่าหรอก รับรองหากกล้าเสนอเจ้านายด้วยเหตุผลที่โดนๆ รับรองนายรักและพร้อม Promote ท่านแน่ๆ ฟันธงๆๆๆๆๆๆ

ส่วนสายพานแบบธรรมดา (Multi Ply Belt) ที่ยืดมากก็เป็นเพราะคุณสมบัติของมันเองประการหนึ่ง โดยปรกติแล้วถ้าสายพานลำเลียงยืดตัวตอนใช้งาน 2 ถือว่าต้องระวังแล้วถ้ายืดมากว่านี้ถึง 4ต้องเปลี่ยนเพราะเสี่ยงกับสายพานขาดได้ นอกจากนี้หากสายพานทำงานในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายเช่น ร้อนมาก มีสารเคมี ขัดสีสูง ใช้ไปโดยขาดการบำรุงรักษาเข้าวัสดุก็ไปติดกับ Pulley บดกับสายพาน สายพานก็เสียหาย ต้องเปลี่ยนสายพานเร็วกว่าปรกติอย่างแน่นอน

 

Plant ผสมปูนของ CPAC ประเภทนี้เฉลี่ยเปลี่ยนสายพานแบบธรรมดา (Multi Ply Belt) ทุก 2 ปี

2.2 ) สายพานกระพ้อแบบSolid Wovenเนื้อสายพานแน่นและแข็งแรงกว่ามากลูกกระพ้อติดไม่หลุดง่าย

การถักแบบSolid Woven จึงมีความเสถียรสูง (High Stability) ตัวผ้าใบมีความแน่นสูง ตัวผ้าใบของสายพานล็อกกันเป็นก้อนเดียวกัน ขอบข้างไม่แยกชั้น ไม่หลุดลุ่ย ( Fray ) ง่ายๆภายใต้การทำงานปรกติ(เพราะการถักผ้าใบเป็นก้อนเดียวกัน) ดังนั้นเนื้อสายพานจะไม่หลุดปนเปื้อนกับสินค้าที่ลำเลียง แม้จะเสียดสีบ้างก็ตามตัวสายพานแข็งแรงมากใช้ Bolt ยึดกับลูกกระพ้อขาด-หลุดยาก จากประสบการณ์ของเราสำหรับสายพานลำเลียงแบบ (Multi Ply Belt)  บางครั้งตัวสายพานยังมีสภาพที่จะใช้งานต่อได้ แต่ต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งเส้นเพราะรูสายพานฉีกขาด ลูกกระพ้อหลุดออกจากรูสายพานเพราะตัวโครงสร้างผ้าใบสายพานไม่แข็งแรงพอ

ผ้าใบของสายพานSolid Wovenล็อกกันเป็นก้อนเดียวกัน ขอบข้างไม่แยกชั้น ไม่หลุดลุ่ย ( Fray )

สายพานลำเลียงแบบ (Multi Ply Belt) ขอบข้างหลุดลุ่ย ( Fray )ได้ง่าย

รูสายพานที่ยึด Bolt ขาดง่ายเพราะชั้นผ้าใบไม่แข็งแรงเพียงพอต้องเปลี่ยนสายพานใหม่ทั้งเส้น

2.3) สายพานกระพ้อแบบSolid Wovenไม่เกิดการล้า (Fatigue) และผ้าใบไม่ แยกชั้นสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) ชนิดสายพานลำเลียง (Multi Ply Belt)  ที่นำผ้าใบหลายๆชั้นมาทำให้ติดกันโดยใช้ Skim หรือ Cushion Rubberเคลือบบนผ้าใบ EP ดังนั้นเมื่อใช้งานมานานๆ Skim ที่ยึดชั้นผ้าใบจะเกิดการล้า (Fatigue) หักงอ เนื่องจากต้องเข้าโค้งของ Pulley นับแสนๆรอบ  ผ้าใบจะเกิดการแยกชั้น นั่นหมายความว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยนสายพานอีกแล้ว ขณะที่สายพานแบบSolid Woven จะไม่เกิดการแยกชั้นเพราะสายพานแบบSolid Woven ถักมัดให้แน่นเป็นก้อนเดียวกัน ดังนั้น จึงมีความเสถียรสูง(High Stability) มีความแน่นสูง ตัวผ้าใบของสายพานล็อกกันเป็นก้อนเดียวกัน ขอบข้างไม่แยกชั้น ไม่หลุดลุ่ย( Fray )ทนทานกว่ากันหลายเท่า

 

สายพานลำเลียงแบบ (Multi Ply Belt) เป็นสายพานที่นำผ้าใบหลายๆชั้นมาทำให้ติดกันโดยใช้ Skim หรือ Cushion Rubberเคลือบบนผ้าใบ EP

 

Skim หรือ Cushion Rubberสีดำๆเคลือบบน EP

2.4) สายพานกระพ้อแบบSolid Wovenกับคุณสมบัติพิเศษอื่นๆที่มาเป็น Standard

2.4.1) เนื่องจากสายพานแบบSolid Woven ออกแบบมาเพื่องาน พิเศษมี การยืดตัวต่ำมากๆขาดยาก ทนต่อแรงกระแทก มีความแข็งแรงด้านขวางสูง ที่ต่างประเทศนิยมใช้ ในเหมืองถ่านหินใต้ดิน (Under Ground Mining) ที่ต้องการความปลอดภัยสูง ผิวสายพานเคลือบด้วย PVCดังนั้นจึงมีคุณสมบัติพิเศษติดตัวมาด้วยเสมอเช่น Flame resistance, Anti-static, rip resistance, Oil resistance, Chemical Resistance and Water Proof ซึ่งไม่มีคุณสมบัติเหล่านี้ในสายพานลำเลียงยางดำ (Multi Ply Belt)แบบธรรมดา 

 

3. Advantage ของสายพานกระพ้อแบบSolid Woven

ในแง่การผลิตที่ทำให้สายพานแบบSolid Wovenมีข้อได้เปรียบสายพานลำเลียง (Multi Ply Belt) แบบธรรมดา อ่านได้ตามนี้เลยครับ

4. สั่งซื้อ สายพานกระพ้อแบบSolid Wovenดู Specification ที่นี่

Specification ของสายพานกระพ้อแบบSolid Woven อาจจะแตกต่างกันไปบ้างนิดๆหน่อยๆ ตามแต่ผู้ผลิต แต่ไม่ได้เป็นสาระสำคัญ อยากได้ของพิเศษอย่างสายพานกระพ้อแบบSolid Woven ก็ต้องสอบถามบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัดเท่านั้น เพราะเราชอบทำงานยากๆที่คนอื่นไม่ทำ และเราก็เชื่อว่าเราทำได้ดี เพราะเป็นเรื่องที่ถนัด บอกทุกเรื่องราวเกี่ยวกับสายพานที่คุณอยากรู้ เปิดทุกสิ่งที่คนอื่นไม่อยากให้คุณรู้ต้องเราเท่านั้น

 

เตรียมส่งของแล้วครับ สายพานกระพ้อแบบSolid Woven

Specification ของสายพานกระพ้อแบบSolid Woven

ขอจบบทความ ทางเลือกใหม่ สายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) ไว้แค่นี้ก่อนนะครับ โอกาสหน้าพบกันใหม่ครับ สวัสดี




รวมบทความสายพานกระพ้อ

1) สายพานกระพ้อลำเลียง (Bucket Belt Elevator) คืออะไร?
2. TIPS และส่วนประกอบของสายพานกระพ้อลำเลียง (Bucket Belt Elevator) มีอะไรบ้าง?
3)การออกแบบกระพ้อลำเลียง เปิดตาราง (แบบที่ 1)
4)การออกแบบกระพ้อลำเลียง (Bucket Belt Elevator Design) เปิดตาราง (แบบที่ 2)
5) การต่อสายพานกระพ้อ(Elevator Belt Splicing)
6) การออกแบบกระพ้อลำเลียง (Bucket Belt Elevator Theoretical Design) โดยการคำนวณทางทฤษฎี
7) ปัญหากระพ้อสาเหตุและการแก้ปัญหา
8) สายพานเหลืองคาดแดง
9. ทำไม?...Cover ลอกออกง่าย