ReadyPlanet.com
dot
Line ID
dot


14)ทดสอบการเพิ่มอัตราขนถ่ายวัสดุของสายพาน Side Wall Belt Conveyor

 ทดสอบการเพิ่มอัตราขนถ่ายวัสดุของสายพาน Side Wall Belt Conveyor

 

ทดสอบการเพิ่มอัตราขนถ่ายวัสดุของสายพาน Side Wall Belt Conveyor

 

  สวัสดีครับทุกท่านวันนี้เราชาว Conveyorguide มีเรื่องจะมาเล่าสู่กันฟัง หลังจากที่ทีมงาน Conveyorguide ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ลงพื้นที่
  ตรวจสอบสายพานลำเลียงขยะ เมื่อได้รับมอบหมายทีมงานก็มุ่งตรงไปยังโรงงานแห่งนี้ด้วยความมุ่งมั่น พอถึงโรงงานเราก็ได้พบการสายพาน
  ที่ใช้ลำเลียงขยะของโรงงานเพื่อนำไปสร้างแหล่งเชื่อเพลิงพลังงาน โดยอัตราขนถ่ายเดิมCAPACITY 15 TPH @2M/S และโรงงานแห่งนี้ต้อง
  การเพิ่มอัตราขนถ่ายเป็น 20 TPH และลดความเร็วของสายพานลงหากเป็นไปได้ เพื่อยืดอายุของอุปกรณ์ในระบบลำเลียง

 

โดยอัตราขนถ่ายเดิมCAPACITY 15 TPH @2M/S และโรงงานแห่งนี้ต้อง   การเพิ่มอัตราขนถ่ายเป็น 20 TPH

 

   เมื่อทีมงาน Conveyorguide รับทราบถึงความต้องการของโรงงานแห่งนี้ ทีมงานก็ได้เริ่มลงมือลุยงานกันเลยครับ อย่างไม่รีรอ โดยเริ่มจาก
   การปรับระยะห่างของบั้งสายพานจากเดิมระยะห่างอยู่ที่ 400 มม. ปรับลดลงเหลือ 200 มม.

 

ลดระยะห่างบของบั้ง

 

   วัสดุที่ใช้ลำเลียงคือขยะพลาสติกสับเป็นชิ้นขนาด 1-2 นิ้ว เพื่อให้เห็นผลได้ชัดเจน ทีมงานได้ทำการติดตั้งบั้งเพิ่มเข้าไปให้ห่างกันแค่
   200 มม. ตลอดความยาว 15 เมตร

 

 

ลำเลียงขยะพลาสติ๊กบนสายพาน

 

   หลังจากทำการวิเคราะห์และติดตั้งอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว ทีมงาน Conveyorguide ก็ให้โรงงานเดินเครื่องลำเลียงขยะอีกครั้งเพื่อดูความแตกต่าง

 

ติดบั้งเข้ากับสายพานเหลือ 200มม. 

 

   ทีมงาน Conveyorguide ได้ทำการทดสอบเพื่อให้เห็นความแตกต่างของอัตราการขนถ่าย หลังจากที่ทีมงานได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์เข้าไป

 

   เริ่มทดสอบ

            เดินเครื่องลำเลียงขยะและเมื่อวิ่งมาถึงจุดที่ทีมงานได้ทำการเพิ่มบั้ง ทีมงานจะให้เครื่องหยุดทำงาน

 

ภาพการติดบั้งเพือทดสอบอัตราการขนถ่ายขยะ

 

   จากนั้นทำการชั่งน้ำหนักเพื่อเช็คว่าสายพาน 1 เมตร น้ำหนักทั้ง 2 Case แตกต่างกันเท่าไหร่

 

เดินเครื่องลำเลียงขยะและเมื่อวิ่งมาถึงจุดที่ทีมงานได้ทำการเพิ่มบั้ง ทีมงานจะให้เครื่องหยุดทำงาน

 

   โดยที่ความเร็วของรอบสายพานอยู่ที่ 125-127 เมตร/นาที 

 

ทำการชั่งน้ำหนักเพื่อเช็คว่าสายพาน 1 เมตร น้ำหนักทั้ง 2 Case หาความแตกต่างกัน

 

 โดยที่ความเร็วของรอบสายพานอยู่ที่ 125-127 เมตร/นาที 

 

เช็คความเร็วของสายพาน

 

 ผลหลังจากที่ทีมงาน Conveyorguide ได้ทำการทดสอบอัตราการขนถ่ายมีผลดังนี้ครับ

 

 ภาพเปรียบเทียบอัตราการขนถ่ายเมื่อไม่ได้ติดบั้ง

ภาพถ่ายจาการติดตั้งบั้งเพิ่ม

ภาพมุมสูงเมื่อทำการติดตั้งบั้งแล้วเพิ่มปริมาณขนถ่ายขยะเพิ่มขึ้น

 

   ผลสรุป

            หลังจากติดตั้งบั้งห่าง 200 มม. สามารถช่วยประสิทธิภาพในการขนถ่ายได้ถึง 70% แต่ในทางทฤฎีต้องเพิ่มขึ้น 100 % แต่เนื่อง
   จากวัสดุไม่สามารถจ่ายสู่สายพานได้อย่างสม่ำเสมอ เนื่องด้วยคุณสมบัติเฉพาะของวัสดุ

 

หลังจากติดตั้งบั้งห่าง 200 มม. สามารถช่วยประสิทธิภาพในการขนถ่ายได้ถึง 70% แต่ในทางทฤฎีต้องเพิ่มขึ้น 100 % แต่เนื่อง    จากวัสดุไม่สามารถจ่ายสู่สายพานได้อย่างสม่ำเสมอ เนื่องด้วยคุณสมบัติเฉพาะของวัสดุ

 

   สุดท้ายนี้ทีมงาน Conveyorguide ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทดสอบครั้งนี้ไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

 

                                                  หากท่านใดมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามสามารติดต่อทีมงานได้เลยนะครับ

 

 

 




Rubber Belt สายพานยางดำ

1) จำหน่ายสายพานยางดำรายย่อยแล้วครับ
2) คำถามโดนๆเกี่ยวกับสายพานลำเลียง
3) ภาพรวมการแบ่งประเภทของสายพานลำเลียง
4) สายพานลำเลียงแบบชั้นผ้าใบ
5) Cover Type
6) ถอดรหัสสายพานทนสึก
7) ระบบป้องกันวัสดุเล็ดลอดออกจากสายพาน Sealing System
8) ส่วนประกอบของ Sealing system
9) ยางSkirtตัวร้ายหรือผู้ดี
10) การเลือกชนิด Skirt Rubber และการบำรุงรักษา
11)จำหน่ายสายพานยางดำ
12)ถอดรหัสสายพานทนร้อน
13)สายพานบั้ง