ReadyPlanet.com
dot
Line ID
dot


2)ทำไมต้องสายพานยืดหด

 

 

 

ตอนที่1. ทำไมต้องเป็น Telescopic Conveyor

 

     1.ความเป็นมาของปัญหา

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงการปรับโครงสร้างด้านแรงงานครั้งสำคัญของประเทศไทยจาก             นโยบายเพื่อประชาชนคนรากหญ้าที่กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศใน                             วันที่ 1 มกราคม 2556 นี้นับว่าเป็นข่าวดีของพี่น้องผู้ใช้แรงงานทั่วหน้า แต่อีกด้านหนึ่งก็มี                 ผลกระทบที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องรับภาระต้นทุนสูงขึ้นอย่างชัดเจนเช่นกันเพราะ                           การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่พ่วงกับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้น เช่น ค่าล่วงเวลา          เงินสมทบกองทุนประกันสังคม และสวัสดิการอื่นๆ ที่คำนวณจากฐานค่าจ้าง ส่งผลให้                      ผู้ประกอบการต้องรับภาระต้นทุนสูงขึ้น จำเป็นต้องปรับตัว โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่              ใช้แรงงานที่เข้มข้น ต้องพยายามลดต้นทุนโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนหรือ              หาเครื่องจักรมาทดแทนแรงงานเพื่อลดต้นทุน

 

Logistic in China04

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอย่างนี้ได้มั๊ย??????

 

 

เก่งอย่างนี้ ไม่ต้องซื้อเครื่องจักรก็ได้

 

 

    สำหรับอุตสาหกรรมประเภท Logistic อยู่ในกรุงเทพและปริมณฑลคงหลีกเลี่ยง                ไม่พ้นกับปัญหาคล้ายๆกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้นหรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำไป หากเกิด            กรณีแรงงานขาดแคลน หากแรงงานเคลื่อนย้ายถิ่นไปทำงานที่ใกล้กับภูมลำเนาเดิมที่มี                  ค่าครองชีพถูกกว่าแต่ได้ค่าแรงเท่ากัน

 

 

ต่อไปแรงงานขาดแคลนแน่ๆเตรียมตัวได้เลย

 

 

กลับบ้านเรา..รักรออยู่

 

 

คน 1 คนต้องทำงานได้เก่งขึ้นๆๆๆๆ ถึงจะรอด..แล้วคุณล่ะ

 

 

2.วัตถุประสงค์ (Objectives) “Telescopic-Belt-Conveyor”

 

 

 

 

 

 

 

 

เพื่อบรรเทาปัญหาที่คุกคามภาคธุรกิจของไทย โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์                        ภาคประมง บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด ซึ่งอยู่ในวงการอุตสาหกรรมระบบลำเลียงวัสดุ                  ใคร่ขอนำเสนอระบบลำเลียงวัสดุจำพวก Unit Load ที่มีลักษณะเป็นกล่อง กระสอบ ชิ้น                    และอื่นๆ โดยใช้ระบบที่มีประสิทธิภาพการทำงานอย่างยอดเยี่ยม ทดแทนแรงงานคนจำนวน              มาก (แต่ประสิทธิภาพการทำงานต่ำเหลือเกิน ระบบลำเลียงชนิดนี้เรียกว่า สายพานลำเลียง                 แบบยืด-หดได้หรือ Telescopic Belt Conveyor สามารถทดแทนแรงงานคน ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานและเพิ่มผลผลิตโดยรวม

 

3.Telescopic Belt Conveyor (สายพาน) คืออะไร

 

  

 

 

สายพานลำเลียงแบบยืด-หดได้หรือ Telescopic Belt Conveyor

 

 

การออกแบบสายพานลำเลียงแบบยืด-หด (Telescopic Belt Conveyor) นี้มีจุดประสงค์              หลักที่จะทำให้การขนถ่ายสินค้าสามารถลำเลียงได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดเวลาการทำงานของ            การขนสินค้า เข้า (Loading) หรือออก (Unloading) จากรถบรรทุกหรือตู้คอนเทนเนอร์                    (Container) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน ในยุโรปมีการใช้ระบบสายพานลำเลียง           แบบยืด-หด Telescopic Belt Conveyor  ชนิดนี้กันมานานแล้วเนื่องจากค่าแรงแพงและ               แรงงานหายากรวมถึงประสิทธิภาพที่สูงกว่าการทำงานโดยแรงงานคนหลายเท่า ในวันนี้                    ประเทศไทยก็ต้องเดินตามรอยของยุโรปโดยใช้เครื่องมือเครื่องจักรเพื่อใช้ทนแทนแรงงานคน            แล้วลองไปดูรูปแบบการทำงานของสายพานลำเลียงแบบยืด หด เพื่อให้ท่านได้นำไปประกอบ           การพิจารณารายละเอียดตามด้านล่างเลยครับ

 

4.FEATURE การใช้งาน Telescopic Belt Conveyor

 

2 Ways Movement ทำงานได้ 2 ทิศทางพื่อความสะดวกทั้งด้าน LoadingและUnloading

แขน(Conveyor Arm)สามารถยืด(Extend)-หด(Retract)และหยุด(Stop)ได้ในทุก                    ระยะ(Stop At Any Distance)เพื่อความสะดวกในทุกระยะการทำงาน

Lifting Angle 3 degree (Option) สามารถยกถึงเพดานของตู้ Container เพื่ออำนวย                    ความสะดวกในการยกของในที่สูงไม่ต้องออกแรงยกสูงมากและไม่ปวดหลัง 

Operator’s Control Panel แผงควบคุมที่ปลายของ Conveyor สามารถใช้งาน                             (Operate) ได้ง่ายๆด้วยคนเพียงคนเดียว ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานต่อไปนี้

- Belt Start-Stop (กรณีต้องการเริ่มหรือหยุดการทำงานของสายพาน เช่นกดหยุด เมื่อคนยก              ของกล่องแรกออกไม่ทันขณะที่กล่องที่ 2 กำลังเคลื่อนที่ตามมา)

- Emergency Switch OFF(กรณีต้องการหยุดการทำงานของเครื่องจักรทันที)

- Push Bar Anti-Collision Switch(เมื่อส่วนปลายของ Conveyor ยืดไปกระทบกับสิ่งกีดขวางจะหยุดทำงานเพื่อป้องกันอันตรายของคน หรือ สิ่งของ)

- Telescopic Movement Forward-Backward(ควบคุมการยืด(Extend)และหด(Retract)ที่ปลายของ Conveyor)

- Telescopic Height Adjustment (ควบคุมปลาย Conveyor ขึ้น-ลง)

- Lighting ON-OFF(ควบคุมแสงสว่างช่วยให้เห็นชัดเจนในขณะยกของภายในตู้ Container)

- Load Capacity Max. = 50kg/M.

- Belt Speed Fix at 0.2 or 0.3 M. /Sec.(หรือทำเป็น Variable Speed ก็ได้-Option)

 

 

 

 

 

 

5.ข้อได้เปรียบ (Advantage) และความแตกต่างของการใช้สายพาน Telescopic Conveyor กับวิธีขนถ่ายโดยใช้คนแบบดั้งเดิม (Conventional Method)

 

 

 

การใช้ Telescopic Conveyor ขนถ่ายมีข้อได้เปรียบ(Advantage)ดังนี้

1

Reduces Loading/Unloading Time: ประหยัดเวลาในการขนถ่าย Loading/Unloading เนื่องจากปลายสายพานของระบบสายพานลำเลียงแบบยืด-หดสามารถยืด(Extend)และหด(Retract)ถึงหัวและท้ายของตู้ Container  และสามารถยกปลายของสายพานขึ้น-ลงได้ดังนั้นจึงลดเวลาการเดินกลับ ไป-มา (Back and Forth)ของคนงาน และลดเวลาและพลังงานในการใช้แรงยกของขึ้น-ลง

2

Reduces Risk of Workplace Injury to Operation: การทำงานแบบใช้แรงงานยกของLoad/Unload จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรอย่างอื่นมาช่วยในการทำงานในหลายขั้นตอน เช่น ต้องใช้รถ Forklift วิ่งไปมาในโรงงานเพื่อรับและส่งสินค้า หรือบรรทุก-ส่ง pallet ตลอดจนวิ่งเข้า-ออกในตู้ Container จึงเสียเวลาในการวิ่ง ไป-มาหลายรอบ พื้นระดับที่ต่างกันระหว่างพื้น Dock และพื้นรถบรรทุกเป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าโรงงานมีการเตรียมการไว้ก่อนสร้างโรงงาน  อาจต้องเผื่อทำ Hydraulic Ramp เพื่อยกระดับให้ Forklift ยก Palletวิ่งขึ้นไปใน Containerได้ (แต่ก็ยังไม่สะดวกอยู่ดี) ถ้าเป็นโรงงานเก่าไม่อาจมี Hydraulic Ramp ก็ใช้แรงคนหลายๆคนโยกและผลักPalletติดล้อให้ขึ้นหรือลงพื้นต่างระดับนั้น เห็นแล้วมีอันตรายมาก มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้สูงทั้งกับคนหรือกับสินค้าในระหว่างปฏิบัติงาน ดังนั้นการใช้คนงานเพียง 2 คนปฏิบัติงาน ที่หัวและท้ายของ Conveyor จึงช่วยทั้งขั้นตอนการทำงานและลดเวลาการทำงานของรถ Forklift ตลอดจนลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุได้มาก

อุบัติเหตุจากการทำงานระหว่างคนและForklift เกิดขึ้นได้

 

3

Reduces The Use of  Manpower การปฏิบัติงานLoad/Unload ในตู้ 40’Containerใช้คนงานที่เพียง 2 คน ที่หัว1คนและท้ายของ Conveyorอีก1คน ก็เพียงพอที่ทำงานได้ สามารถทดแทนการทำงานแบบเดิมที่อาจต้องใช้คนทำงานถึง 4-6คน และคนขับ Forklift อีก 1 คน นอกจากนี้ไม่จำเป็นต้องใช้คนงานที่มีทักษะสูงก็ทำงานได้เป็นการตอบโจทย์เรื่องการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะที่ค่าจ้างสูงขึ้นทุกปีได้เป็นอย่างดี

ลดคนจาก 6 คนเหลือ 2 คน

 

4

Reduces Risk of Damage to Product:การใช้คนยกของเป็นระยะทางไกลๆนานๆ ย่อมเกิดความเมื่อยล้า (Fatigue) ดังนั้นการยกและวางสินค้าอาจจะเปลี่ยนเป็นการทุ่มและโยนสินค้าทำให้สินค้าเสียหายได้ เพราะไม่ใช่คนงานทุกคนจะมีจิตสำนึกที่ดีในการทำงาน ถ้าใช้ Telescopic  Belt Conveyor ช่วยอำนวยความสะดวกส่งสินค้าถึงที่จัดวางสินค้าได้เลย คนงานก็สามารถยกและวางสินค้าเข้าที่เข้าตำแหน่งโดยใช้แรงแค่เพียง  เล็กน้อย ก็วางสินค้าได้ในตำแหน่งที่ต้องการสินค้าก็จะไม่เสียหายเสียหาย


สินค้าเสียหายหากวางไม่ระมัดระวัง

5

Reduces Down Time:บางครั้งการปฏิบัติงานLoad/Unloadสินค้า ในตู้ 40’Containerต้องใช้คนงานปฏิบัติงานร่วมกับรถ Forklift ขั้นตอนการปฏิบัติงานต้องเสียเวลาในการรอคอยให้รถ Forklift ยกของมาให้ (หรือต้องรอ Forklift ไปทำงานอื่นเสร็จก่อน) ระหว่างนี้คนก็จะว่างงาน (ช่วงนี้จะเสียเวลาคอยนานมากน้อยแค่ไหนก็แล้วแต่ว่า Forklift จะเสร็จงานเมื่อไหร่ ดังนั้นโรงงานต้องจัดลำดับการทำงานช่วงนี้ให้ดี อย่าให้คนงานเสียเวลารอนานเพราะจะเสียผลผลิต ) หรือหนักกว่านั้นหากรถ Forklift เสียทำงานไม่ได้หรือคนขับป่วย คนงานทั้งหมดเป็นอันต้องหยุดงานทันทีทำให้โอกาสเกิด Down Time ได้สูงขณะที่ Telescopic Conveyor เป็นเครื่องจักรที่ทำงานด้วยความน่าเชื่อถือสูง (High Reliability)คนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานมีน้อยดังนั้นจึงสามารถลด Down Time ไปได้ ค่าการเสียเวลาและเสียผลผลิตเนื่องจากการรองาน (Idle Time) เหล่านี้มีค่ามหาศาลกว่าการซื้อ Telescopic Conveyor 1 ตัวมากมาย แต่ไม่ได้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในทางบัญชี ผู้บริหารระดับสูงก็เลยมองไม่เห็น บริหารระดับกลางบางท่านอาจจะมองเห็น ถ้ามีจิตสำนึกที่ดีอาจจะเสนอแนวทางแก้ไข แต่ขาดข้อมูลในการนำเสนอต่อผู้รับผิดชอบที่สูงขึ้นไป เรื่องก็ไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข ถ้าหัวหน้างานบางคนทำงานขอเพียงให้จบไปเป็นวันๆระบบการทำงานก็ยังคง เป็นแบบ เดิม-เดิม ที่เคยเป็นเมื่อ 40 ปีก่อนที่ค่าแรงอยู่ที่ 12 บาท ต่อวัน คำถามขณะนี้มีอยู่ว่าปีนี้  พ.ศ. 2556 ค่าแรง 300 บาทต่อวันและยังหาได้ลำบากอีกด้วย ถ้าท่านรู้ปัญหาแล้ว ท่านจะตัดสินใจอย่างไรระหว่าง รอก่อน-ยอมรับแบบเดิม-หรือจะปรับปรุงมัน....?

ขณะที่ Forklift ต้องทำงานอื่นก่อน....แต่คนงาน...

คนงาน....นั่งรอ..โทษกันไม่ได้..ต้องจัดลำดับงานใหม่

 

6

Reduce Dead Space:การจัดเรียงสินค้าโดยใช้ Telescopic ConveyorอำนวยความสะดวกในการLoad/Unloadสินค้านั้นสามารถยกเลิกการใช้ Pallet ได้ส่งผลให้เกิดการประหยัดไม่ต้องใช้งานรถ Forklift ช่วยทำงานและมีที่ว่างสำหรับบรรทุกสินค้าได้มากขึ้น 8%-10% ซึ่งหมายถึงเงินที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง

7

Reduces Shipping Cost: การใช้ Telescopic ConveyorอำนวยความสะดวกในการLoad/Unloadสินค้านั้นสามารถลด Shipping Cost ได้ดังนี้

Ø ลดค่าลงทุนซื้อ/เช่ารถ Forklift,ไม่ต้องมีคนขับ Forklift ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง(Associated Cost) กับ Forklift เช่นค่าเชื้อเพลิง ค่าบำรุงรักษา

Ø ลดจำนวนคนทำงานจาก 4-6 คนเหลือ 2 คน ลดค่าทำงานล่วงเวลา เงินสมทบประกันสังคม และสวัสดิการอื่นๆ

Ø ใช้เวลาในการทำงานน้อยลง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ทำงานได้มากขึ้นขณะที่ใช้เวลาเท่าเดิม

Ø ยกเลิกการใช้ Pallet ได้ส่งผลให้มีที่ว่างสำหรับบรรทุกสินค้าได้มากขึ้น 8%-10% ซึ่งหมายถึงเงินที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง

 

 

 

8

Improve Ergonomic Working Condition: เป็นการปรับปรุงและส่งเสริมวิธีการทำงานที่ดีและเหมาะสมแก่คนงาน ที่เราเคยเห็นมามีสินค้าบางชนิดหนักกล่องละ 50 กก. คนงานต้องใช้เข็มขัดรัดเอวในการทำงาน การใช้Telescopic Conveyor ช่วยให้คนงานทำงานด้วยท่าทางที่ถูกต้องช่วยลดความเมื่อยล้า (Fatigue) และลดการปวดหลัง จะช่วยให้คนงานทำงานได้มากขึ้นในระยะเวลาที่เท่ากัน และคนงานก็จะมีความสุขเพิ่มขึ้นเพราะทำงานเท่าเดิมเสร็จได้เร็วขึ้น แต่ใช้แรงน้อยลง

 

การทำงานด้วยท่าทางที่ผิดเป็นอันตราย อย่างนี้...ต้องลาออก...

 

 

 

9

Increases Safety, Efficiency and Productivity: โดยรวมแล้วการใช้ Telescopic Belt Conveyor อำนวยความสะดวกในการLoad/Unloadสินค้านั้นสามารถเพิ่มความปลอดภัย เพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มผลผลิตในการทำงานขณะเดียวกันก็จะลดการรองาน (Idle Time) ที่ความสูญเสียไม่ได้บันทึกในระบบบัญชี ลดค่าใช้จ่ายโดยรวมของShipping Cost ได้ดังที่กล่าวข้างต้น

ใช้ Telescopic Belt Conveyor ไม่ต้องมี Ramp สำหรับ Forklift วิ่งเข้า-ออก ตู้ ปลอดภัยมากขึ้นเยอะเลย

 

 

 

 

 

6.กรณีศึกษาการเพิ่มผลผลิตและลดค่าใช้จ่ายระหว่างการทำงานแบบดั้งเดิมและการใช้ Telescopic Conveyorอำนวยความสะดวกในการ Load/Unloadสินค้าในตู้ 40 ฟุต คอนเทนเนอร์

Ø การทำงานแบบดั้งเดิมคือการใช้คนงานประมาณ 6 คนยืนหน้ากระดานเรียงแถวหรือตามแต่สภาพหน้างาน รับและส่งสินค้าต่อเนื่องกันเป็นทอดๆตลอดความยาวของสินค้าในตู้ 40 ฟุต คอนเทนเนอร์ และมีคนขับ Forklift อีก1คน (กรณี Load) ทำหน้าที่นำสินค้ามายังจุดรับ-ส่งซึ่งต้องทำงานร่วมกันตลอดเวลา

 

ใช้ 6 คนในการทำงาน

Ø การใช้ Telescopic Conveyor อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน ใช้คนงานเพียง 2 คน ที่หัว 1 คนและท้ายของ Conveyor อีก 1 คนและคนขับ Forklift อีก1คนทำหน้าที่นำสินค้ามายังจุดส่ง(กรณี Load สินค้าเข้าตู้)และนำสินค้าไปเก็บ (กรณี Load สินค้าออกตู้)ซึ่งทำงานร่วมกันเป็นบางเวลาเท่านั้น

                                                                

กรณีศึกษาการขนของเข้าในตู้ 40 ฟุต คอนเทนเนอร์

 

 

เป็นการยากที่จะบอกอย่างแม่นยำว่าระบบลำเลียง Telescopic Conveyor นั้นมีอัตราการขนถ่ายเท่าใดเพราะมีปัจจัยที่ต้องพิจราณาหลายข้อ เช่น ระยะทาง ขนาด น้ำหนัก และการจัดเรียงสินค้า ที่แตกต่างกัน แต่เพื่อให้พอมองเห็นภาพได้ชัดขึ้น Conveyor Guide Co.Ltd.จะขอเปรียบเทียบการขนถ่ายวัสดุ (Unit Load) ระหว่างการใช้คนแบบดั้งเดิม (Conventional Manpower Handling) กับการใช้ Telescopic Conveyor ในการลำเลียงวัสดุเพื่อเข้า หรือออกจากตู้ Container กันครับ

 

เวลาการบรรจุขึ้นอยู่กับ ขนาด น้ำหนัก และการจัดเรียงสินค้า ที่แตกต่างกัน

 

 ข้อมูลจำเพาะตู้ 40 ฟุต คอนเทนเนอร์ (Steel dry Cargo Container)

Ø  Interior Measurement of Container LxWxH (12.03x2.35x2.38) Meter

Ø Volume of Cargo inside container 67.5 Cu.M.

Ø Size of Package 85x65x35 Cm. Weight 47 Kg.(Home Pro’s product)

Ø Net Weight 26.28 Tons.

 

Ø Total of Package Inside Container = 318 Packages

Ø Speed of Telescopic Conveyor= 0.3 M. /Sec. or 30 M. /Min.

ลำเลียงสินค้าเข้า-ออกจากตู้ Container ขนาด 40 ft. โดยใช้ Telescopic Belt Conveyor

 

 

หมายเหตุ. การเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงที่หน้างานของท่านจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและตรงกับข้อเท็จจริงที่สุด โปรดใช้ข้อมูลของท่านในการพิจารณาตัดสินใจ

 

 

โจทย์  ใช้ Telescopic Belt Conveyor ลำเลียงกล่อง ขนาด 85x65x35 Cm. Weight 47 Kg.เข้า-ออกจากตู้ ระยะวางกล่องห่างกันประมาณ 3 เมตร (สมมุติใช้เวลา 10 วินาทีสามารถยกกล่องขึ้น-ลง Conveyorได้ 1 กล่อง)  Conveyor จะสามารถขนถ่ายได้ประมาณ 600 กล่อง/ชั่วโมง หากสำเลียงกล่องเข้า-ออกจากตู้ Container ขนาด 40 ft. ซึ่งจะบรรจุกล่องขนาดดังกล่าวได้ประมาณ 318 กล่องดังนั้นเท่ากับว่าการลำเลียงกล่องเข้า-ออกจากตู้นั้นใช้เวลาประมาณ 32 นาทีเท่านั้นโดยใช้คนงานเพียงแค่สอง(2)คนเท่านั้น แต่ในการปฏิบัติจริงคงต้องเผื่อเสียเวลาเล็กน้อยสำหรับการปรับแขน Conveyor เข้า-ออก เพื่อการจัดเรียงกล่องให้เข้าที่เป็นระเบียบ เผื่อคนงานเหนื่อยอู้งานอีก คิดง่ายๆ 18 นาที ดังนั้นการขนของเข้า-ออก ตู้ จะใช้เวลาประมาณ 50 นาที


 ถ้าทำงานในตู้ถัดๆไป คนงานต้องเกิดความเมื่อยล้า ทำให้ประสิทธิภาพลดลง ดังนั้นเวลาเฉลี่ยต่อการเอาสินค้า เข้า-ออกจากตู้เท่ากับ 1 ชั่วโมง

 

 

 

 

  หากต้องการหาปริมาณการขนถ่ายสามารถคำนวนได้จากสูตรต่อไปนี้

 

ลำเลียงสินค้าออกจากตู้ Container ขนาด 40 ฟุตโดยใช้แรงงานคน


หมายเหตุ.

Ø 1.การเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงที่หน้างานของท่านจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและตรงกับข้อเท็จจริงที่สุด โปรดใช้ข้อมูลของท่านในการพิจราณาตัดสินใจ

Ø 2.ตัวอย่างที่แสดงนี้เป็นแค่สมมุติฐานในการจำลองการทำงานแบบหนึ่งเท่านั้นเอง โปรดใช้ข้อมูลของท่านในการพิจราณาตัดสินใจ

สมมุติการทำงานแบบดั้งเดิมคือการใช้คนงานประมาณ 6 คนยืนหน้ากระดานเรียงแถว รับและส่งสินค้าต่อเนื่องกันตลอดความยาวของ ตู้ 0 ฟุต คอนเทนเนอร์

 ข้อมูลจำเพาะการเดินทำงานของคน

Ø มาตรฐานความเร็วการเดินเท่ากับ 4.38 Km/Hr.และ 0.7 M./ก้าว

Ø กรณีศึกษานี้ คนต้องยกของหนัก 47 กก. ปรับความเร็วลดลง 60% เหลือเท่ากับ1.752 Km./Hr. 0.30M./ก้าว

Ø ระยะทางเดินเข้าตู้เฉลี่ยใกล้-ไกลเท่ากับ 6 เมตร(ครึ่งหนึ่งของความยาวตู้ 40 ฟุต) เพื่อ ยก-วางกล่อง 1 กล่อง

Ø ลำเลียงกล่องออกเต็มตู้ 318 กล่อง ใช้เวลา 60x1908/1752=65 นาที

Ø เสียเวลาส่งกล่องระหว่างคนๆละ 2 วินาทีรวม 318x2x6วินาที= 64 นาที

Ø การจัดเรียงกล่องให้เข้าที่สูง-ต่ำให้เป็นระเบียบอีก318x3วินาที= 16 นาที

Ø คนงานเหนื่อยอู้งาน คิดง่ายๆเผื่ออีก 20 นาที

Ø รวมเวลาที่ใช้ทั้งสิ้น 165 นาทีหรือ 2ชั่วโมง 45 นาที

ถ้าทำงานในตู้ถัดๆไป คนงานต้องเกิดความเมื่อยล้า ทำให้ประสิทธิภาพช้าลง ดังนั้นเวลาเฉลี่ยต่อการเอาออกจากตู้เท่ากับ 3 ชั่วโมง

 

ลำเลียงสินค้าเข้าตู้ Container ขนาด 40 ฟุตโดยใช้แรงงานคน

Ø อาจจะใช้เวลาเฉลี่ยมากกว่าขนสินค้าออกจากตู้เพราะอาจจะต้องทำงานร่วมกับรถ Forklift และต้องเสียเวลาเกี่ยวกับการจัดเรียงสินค้าให้เป็นระเบียบมากกว่าออกตู้ ดังนั้นประมาณการเวลาเฉลี่ยต่อการเอาออกจากตู้เท่ากับ 3 ชั่วโมง 15 นาที

 

 

 

7.ตารางสรุปเปรียบเทียบการทำงานระหว่างใช้แรงคนกับใช้ Telescopic Conveyor ต่อ หนึ่งตู้ 40 ฟุต คอนเทนเนอร์

 

Summary Time and Labor Coparison Between Using Manpower and Telescopic Conveyor

 

Unload Cargo out of  40 foot Container

Load Cargo into 40 foot Container

Conveying Type

Time(Minute)

Manpower(No.)

Time(Minute)

Manpower(No.)

Use Manpower

180

6

195

7

Use Telescopic Conveyor

60

2

60

2

Different

120

4

135

5


 

 Unload Cargo out of 40 foot Container ประหยัดเวลาได้ 2 ชั่วโมง ลดแรงงานคนได้ 4 คน ประหยัดเงินได้ 70x120x4/60= 560 บาทต่อตู้(สมมุติค่าแรงเฉลี่ยเท่ากับ 70 บาท ต่อ ชั่วโมง)

 Load Cargo into 40 foot Container ประหยัดเวลาได้ 2 ชั่วโมง 15 นาที ลดแรงงานคนได้ 5 คนประหยัดเงินได้ 70x135x5/60= 787 บาทต่อตู้(สมมุติค่าแรงเฉลี่ยเท่ากับ 70 บาท ต่อ ชั่วโมง)

 

 

ขั้นตอนการทำงานหลายขั้นตอนทำให้งานช้า  มีกฎง่ายๆอยู่ว่าหากกระบวนการทำงานไหนที่ยังไม่ง่าย (Simple) กระบวนการทำงานนั้นยังไม่ใช่ขบวนการที่ดี

7.อุปกรณ์หลักที่ใช้ใน Telescopic Conveyor

ระบบสายพานลำเลียงแบบยืดหดของบริษัทคอนเวเยอร์ไกด์จำกัดใช้อุปกรณ์และชิ้นส่วนต่างๆที่มีคุณภาพดี โดยใช้เลือก Brand จากฝั่งประเทศทางยุโรปเป็นหลัก เช่น

Motor : SEW Germany Brand

Belt : Seigling Forbo Germany Brand or Equivalent

Electric Element : Schneider France Brand or Equivalent

  จึงเชื่อมั่นได้ว่าระบบจะไม่งอแง เมาค้าง หมดแรง อ่อนล้า (เหมือนคนทำงาน) อย่างแน่นอน หากท่านใดสนใจหรือมีข้อแนะนำสามารถติดต่อ คอนเวเยอร์ไกด์ ได้ตลอดเวลาครับที่  info@conveyorguide.co.th

 

 

 

 

 

 

 




Telescopic Belt Conveyor

Telescopic Belt Advantagee and Application article