ReadyPlanet.com
dot
Line ID
dot


3) รูปแบบการวางลูกกลิ้ง

Type of Roller.

ในระบบสายพานลำเลียงมีรูปแบบการวาง Roller อยู่หลายรูปแบบซึ่งแต่ละรูปแบบนั้นก็มีเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป รูปแบบการวางตัวของลูกกลิ้งของระบบสายพานลำเลียงมีดังนี้

1.Troughing 3 Rollers ใช้สำหรับลำเลียงวัสดุปริมาณมวล ( Bulk Load )ในระบบสายพานลำเลียง มีหลากหลายมุมแอ่งให้เลือกใช้ขึ้นอยู่กับประเภทของวัสดุและอัตราการขนถ่าย รูปแบบนี้เป็นที่นิยมมากในระบบสายพานลำเลียง Bulk Load โดยทั่วไป

 

 

2.Troughing 5 Rollers ใช้สำหรับลำเลียงวัสดุปริมาณมวล ( Bulk Load ) ซึ่งจะประกอบด้วยลูกกลิ้งจำนวน 5 ลูกในหนึ่งเซ็ต ส่วนมากจะใช้ในระบบสายพานลำเลียงที่เป็น High Capacity, Heavy Duty  ใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ หรือในอุตสาหกรรมหนัก

 

 

3.Single Roller Flat Carry Roller เป็นชุดลูกกลิ้งด้าน Carry แบบลูกเดียวเหมาะกับระบบลำเลียงประเภทวัสดุประเภทหน่วยรวม (Unit Load) เช่น วัสดุประเภทกล่อง ลัง กระสอบ เป็นต้น

 

4.Single Roller Flat Return เป็นชุดลูกกลิ้งด้าน Return ที่ใช้ในระบบสายพานลำเลียงโดยทั่วไปใช้ได้ ทั้งแบบ Bulk Load และ Unit Load

5.Two Roll V Return Rollers  เป็นชุดลูกกลิ้งด้าน Return Roller แบบ 2 ลูกเอียงทำมุมกันเพื่อช่วยในด้านการ Alignment ของระบบสายพานลำเลียงซึ่งจะเหมาะสมกับสายพานที่เดินสองทาง ( Bi-Direction or Reversible)  

6. Two Roll Flat Return Roller เป็นชุดลูกกลิ้งด้าน Return แบบ 2 ลูกเรียงต่อกัน ไม่ทำมุม ใช้กับสายพานที่มีหน้ากว้างมากๆ เพื่อป้องกันการแอ่นตัวของลูกกลิ้ง

 

7. Picking Roller โดยมากจะใช้กับ Feeder Belt สำหรับลำเลียงวัสดุปริมาณมวล (Bulk Load) เพื่อป้องกันวัสดุหกหล่นด้านข้างโดยที่ไม่ต้องติดตั้ง Skirt Rubber และทำให้สายพานสามารถมีCapacity มากขึ้นกว่าแบบ Flat Roller จึงเหมาะกับ Belt Feeder เป็นพิเศษ

8. Two Roll Troughing Roller ใช้กับสายพานหน้ากว้างตั้งแต่ 300 – 600 mm. ที่ไม่ต้องการอัตราการขนถ่ายสูงมากนัก การวางลูกกลิ้งในลักษณะนี้ต้องคำนึงถึงความสามารถในการทำมุมแอ่ง(อย่าเลือกสายพานที่หนาเกินไปหรือมีชั้นผ้าใบที่มากเกินไป เดี๋ยวสายพานไม่ห่อตัว) ของตัวสายพานด้วย

สำหรับรูปแบบการวางลูกกลิ้งในระบบสายพานลำเลียงก็จะมีอยู่ 8 รูปแบบตามรูปภาพด้านบนท่านผู้อ่านหรือผู้ออกแบบสามารถนำไปเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานต่างๆได้โดยการเลือกรูปแบบการวางลูกกลิ้งในลักษณะต่างๆนั้นมีข้อต้องคำนึงดังต่อไปนี้

1.อัตตราการขนถ่ายของระบบลำเลียง

2.ลักษณะของระบบลำเลียง เช่น Feeder Belt หรือ Belt Tranfer

3.หน้ากว้างของสายพานลำเลียง

4.Live Load ในขณะลำเลียงวัสดุ

5.ความสามารถในการคงรูปแอ่งของสายพานลำเลียง

6.พื้นที่หรือข้อจำกัดด้านพื้นที่ในการติดตั้ง

7.คุณสมบัติของวัสดุ

            อย่างไรก็ดีพบว่าในบางงานอาจมีข้อจำกัดในการออกแบบและเลือกใช้รูปแบบการวางลูกกลิ้งซึ่งก็คงต้องพิจารณาเป็น กรณีๆไป หากท่านติดขัดในเรื่องของรูปแบบการวางลูกกลิ้งสามารถติดต่อผมได้ที่ info@conveyorguide.co.th ได้เลยครับ

 




8. Roller Bracket

1) ขารองรับลูกกลิ้งทำไมต้องมาตรฐาน
2) Bracket Design Standard
4) คุณทำสายพานเองได้
5) Conveyor Case Information