ReadyPlanet.com
dot
Line ID
dot


5) Cover Type

 

 

  ตอน 4 Cover Types (ผิวหน้าของสายพาน)

 

 

 

 

   ตอนนี้เป็นเรื่องของผิวสายพานล้วนๆในบทนี้ เราจะพูดถึงเนื้อหาในหัวข้อที่ 1 เท่านั้นนะครับ

 

 

 

FUNCTIONS OF COVER RUBBER (หน้าที่ของผิวสายพาน)

   ป้องกันชั้นผ้าใบไม่ให้เสียหาย ( Protect  belt carcass) จากการตกกระแทกจากวัสดุ จากการเสียดสีของวัสดุ จากสารเคมี จากแสงแดด ดินฟ้า-อากาศสิ่งแวดล้อมที่เลวร้ายอีกมากมาย พูดง่ายๆคือจากอะไรก็ได้ที่จะทำให้ชั้นผ้าใบเสียหาย

  ยืดอายุการใช้งานของสายพาน (Extend belt’s  service life)

·       ถ้าเราจะแบ่งผิวสายพานชนิดใช้งานหนัก ( Heavy Conveyor Belt) ให้เข้าใจได้ง่ายสามารถแบ่ง       ประเภทของ ผิว (Cover Rubber) ของสายพานลำเลียง (Rubber Conveyor Belt) แบ่งได้ 2 ประเภทคือ ประเภทใช้งานทั่วไป(General Use Conveyor Belt) หรือเรียกกันว่า สายพานทนสึก (Wear Resistance Conveyor Belt) และประเภทใช้งานแบบพิเศษ (Special Conveyor Belt)

    ผิวสายพานมี 2 ด้าน คือ

  ผิวด้านบน(Top Cover หรือ Carry Cover)มักจะมีความหนามากกว่าผิวด้านล่างเนื่องจากเป็นด้านที่ต้องสัมผัสกับวัสดุลำเลียง ดังนั้นการสึกหรอจะมีมากกว่าจึงมีความหนาที่มากกว่า

  ผิวด้านล่าง(Bottom Cover หรือ Pulley Cover) มักจะมีความหนาน้อยกว่าผิวด้านบนเนื่องจากเป็นด้านที่สัมผัสกับ Pulley เท่านั้น ไม่ได้ขัดสีกับวัสดุ ดังนั้นการสึกหรอจะมีน้อยกว่าความหนาก็จะน้อยกว่า

             บางครั้งก็มีเหมือนกันที่ผู้ใช้งานต้องการให้    ผิวด้านบน(Top Cover หรือ Carry Cover) และผิวด้านล่าง(Bottom Cover หรือ Pulley Cover) มีความหนาเท่าๆกัน เพื่อว่าเมื่อใช้งานด้านหนึ่งจนผิวบางแล้วก็จะกลับด้านมาใช้งานอีกด้านหนึ่งได้ กรณีนี้ก็สามารถทำได้แต่มีข้อที่ต้องพิจารณาคือ สายพานที่ใช้แล้วผิวหน้าจะสึกไม่เท่ากัน เมื่อกลับด้านที่ไม่เรียบสัมผัสกับผิว Pulley จะทำให้การแผ่กระจายของแรงดึง(Tension Distribution) บริเวณหน้าสัมผัสกับผิว Pulleyจะไม่เท่ากันปัญหาอื่นๆอาจจะตามมาได้ ก่อนใช้ขอให้ชั่งน้ำหนัก ได้-เสีย ก่อนให้ดีก็แล้วกันครับ

             มีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นตัวกำหนด ความหนาของผิวสายพานซึ่งผลทางอ้อมคือความหนาก็เป็นตัวกำหนดอายุการใช้งานของสายพานด้วยเช่นกัน การเลือกชนิด คุณภาพ ความหนาของผิวสายพานต้องพิจารณาถึงอายุการใช้งาน(Service Life) ของสายพานเป็นหลัก ผิวสายพานที่ผลิตต้องเหมาะสมกับวัสดุที่จะลำเลียง เช่น ขนาด เล็ก/ใหญ่ คม/มน น้ำหนักมาก/น้อย ผิวหยาบ/ละเอียด ผง/ก้อน และสิ่งแวดล้อมเช่น ร้อน น้ำมัน สารเคมี ณ.สถานที่ที่ผิวสายพานนั้นทำงานหรือลักษณะการLoad วัสดุ เช่น ตกสูง/ต่ำ ตกกระแทกหนัก/เบา ตกตามทิศทางที่สายพานวิ่งหรือตั้งฉาก ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องนำมาตัดสินใจในการเลือกความหนาของสายพานทั้งสิ้น

 

ผิวของสายพาน (Rubber Cover) แบบเรียบลอกออกมาให้ดู

                 

             1. ประเภทใช้งานทั่วไป(General Use Conveyor Belt) หรือเรียกกันว่า สายพานทนสึก (Wear  Resistance Conveyor Belt)รูปร่างภายนอกสีดำๆอย่างที่เห็นเป็นสายพานที่ใช้กันมากที่สุดในประเทศไทยน่าจะ มากกว่า 80%ขึ้นไป หากเราแยกจะคุณภาพของสายพานโดยใช้ตาดู หูฟังคงแยกไม่ออกและทำไม่ได้อย่างแน่นอน เอาเครื่องวัดความแข็งมาวัดก็ไม่ใช่วาระของเรื่อง ถ้าอยากรู้แยกความแตกต่างแบบบ้านๆต้องใช้เครื่องขัดผ้าทรายลองขัดดู ก็จะได้ความว่าถ้าเป็นเกรด จะขัดผิวออกยากกว่าเกรด อย่างไรก็ตามเพื่อให้มีอะไรเป็นมาตรฐานอ้างอิงกันไว้บ้าง จึงมีผู้ทำมาตรฐานผิวยางของสายพานทนสึก (Wear  Resistance Conveyor Belt)โดยมีการจัดเกรดจากทั้งค่าย ยุโรป อเมริกา(RMA) ญี่ปุ่น (JIS) ออสเตรเลีย (AS), ISO, South Africa แต่ที่อ้างอิงกันบ่อยๆคือ เป็นของ DIN จาก ประเทศเยอรมนี ปัจจัยที่นำมากำหนดมีแค่ 3 ปัจจัยคือ

Min.elongation at break (%)

Min.tensile strength  (N/mm2)

Max.wear loss (mm3)

แต่ละตัวมันมีค่ากำหนดยังไงกันบ้างดูรายละเอียดตามตารางข้างล่างได้เลยครับ

 

คุณสมบัติผิวสายพาน ประเภททนสึกหรอ(  Wear Resistance )

Rubber   Cover  Property

USE IN THAILAND

    ISO 10247

   DIN 22102 ,1991

 

 

 (คุณสมบัติของผิวยาง)

M

N

P

H

D

L

W

X

Y

Z

Min.elongation at break (%)

450

400

300

450

400

350

400

450

400

350

Min.tensile strength  (N/mm2)

18

14

8

24

18

15

18

25

20

15

Max.wear loss (mm3)

200

250

400

120

100

200

90

120

150

250

 

ต้องหมายเหตุให้ทราบกันนิดหน่อยว่าที่ พูดกันทั่วเมืองไทยว่าผิวสายพานมี Grade M-N-P นั้น แต่เดิมเกรด และเกรด เป็นมาตรฐาน DIN ของเยรมันนี แต่ปัจจุบันเขาเลิกใช้ไปนานแล้ว (ใช้เกรด W-X-Y-Z แทน) แต่พวกเรายังอนุรักษ์ไว้อยู่ ดังนั้น Grade M-N-P ก็ยังฮิตในบ้านเราอยู่ ส่วนเกรด ผู้เขียนยังหาที่มาที่ไปไม่ได้ ว่ามันเกิดอย่างไร รู้แต่ว่ามันมีชีวิตอยู่ดีในปัจจุบันหากหาที่เกิดได้เมื่อไหร่จะรีบมาบอกต่อนะครับ

 

Standards

Cover Rubber

Adhesion

Tensile Strength

Elongation at break

Abrasion

Cover to Ply

Cover to Ply

Ply to Ply

DIN 22102

Mpa

%

mm3

N/mm       (≤1.5mm)

N/mm  (>1.5mm)

N/mm

DIN 22102-Z

15

350

250

3.5

4.5

5

DIN 22102-W

18

400

90

3.5

4.5

5

DIN 22102-Y

20

400

150

3.5

4.5

5

DIN 22102-X

25

450

120

3.5

4.5

5

 

Standards

Cover Rubber

Adhesion

Tensile Strength

Elongation at break

Abrasion

Cover to Ply

Cover to Ply

Ply to Ply

AS 1332

Mpa

%

mm3

N/mm       (≤1.9mm)

N/mm  (>1.9mm)

N/mm

AS 1332-N17

17

400

200

4

4.8

6

AS 1332-M24

24

450

125

4

4.8

6

 

 

 

Cover Rubber

Adhesion

Tensile Strength

Elongation at break

Abrasion

Cover to Ply

Cover to Ply

Ply to Ply

RMA

Mpa

%

mm3

N/mm   (≤1.6mm)

N/mm  (>1.6mm)

N/mm

RMA-I

17

400

 200

3

4.4

4

RMA-II

14

400

 250

3

4.4

4

 

      จากตารางหลากหลายที่เห็นอยู่ข้างบน ไม่ว่าจะมาจากมาตรฐานไหนก็ตามจะเห็นว่ามีดัชนีสำคัญ 3 ตัว ที่นำมากำหนดมาตรฐานของ ผิวยางของสายพานทนสึก (Wear  Resistance Conveyor Belt) คือ

Min.elongation at break (%)

Min.tensile strength  (N/mm2)

Max.wear loss (mm3)

 

 แต่ละตัวเมื่อนำมาถอดรหัสและแปลความหมายแล้วมันเป็นอย่างไร โปรดติดตามในตอนต่อๆไป อย่ากระพริบตา

 

1.2 ประเภทใช้งานแบบพิเศษ(Special Conveyor Belt) ซึ่งความที่ว่าพิเศษนี้ก็มีกันมากมายหลายแบบเช่น

 

                         Ø Heat Resistant Conveyor Belt (สายพานทนร้อน)

Ø Oil /Fat/Grease Resistant Conveyor Belt (สายพานทนน้ำมัน/ไขมัน/จาระบี)

Ø Flame Resistant Belt (สายพานทนเปลวไฟ)

Ø Cold Resistant Belt๖สายพานทนความเย็น) Chemical Resistant Conveyor Belt. (สายพานทนสารเคมี)

Ø Antistatic (สายพานมีคุณสมบัติแอนตี้สะแตติก)

Ø Food Grade (สายพานสำหรับอาหาร)

 

                      ผิวสายพานประเภทใช้งานแบบพิเศษ(Special Conveyor Belt)นี้ต้องการ ผิวสายพานแบบพิเศษให้เหมะสมกับการใช้งานนั้นๆ แม้ว่านักเคมีจะมีความเก่งกาจในการเลือกสารเคมีผสมกับยางให้เหมาะสมกับการใช้งานแบบจำเพาะเจาะจงแค่ไหน แต่อย่าเก่งก็คงทำให้มีคุณสมบัติดีๆเด่นๆได้เพียงอย่างเดียว ถ้าอย่างเก่งก็ไม่เกิน 2 อย่าง(แต่ก็ไม่ดีเยี่ยมทั้ง 2อย่าง) เช่น อยากได้ทนสึกหรอมากๆ พร้อมๆกับทนน้ำมันด้วย อย่างนี้ก็เป็นเรื่องที่ยากอยู่เหมือนกันยิ่งบอกว่าอยากได้ทนร้อนด้วย เรื่องก็จะไปกันใหญ่เลย เพราะคุณสมบัติของสารเคมีหลายๆอย่างที่ใส่เข้าไปก็ไม่ได้ส่งเสริมคุณสมบัติเด่นๆที่ต้องการทั้ง  2-3 คุณสมบัติพร้อมๆกันได้ แต่มันต้องมาพบกันที่จุดๆหนึ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดที่เราเองนั้นต้องเป็นผู้เลือกว่าต้องการคุณสมบัติตัวไหนให้เด่นตัวไหนให้เป็นตัวรอง อยากเอาดีๆหมดทุกๆตัวน่ะ อยากได้ แต่คนทำ ทำไม่ได้ครับ

 

Code ที่ใช้กำหนดคุณสมบัติของผิวสายพานแบบพิเศษตามมาตรฐาน DIN

 

     

ผิว Cover ชนิดพิเศษมีหลายแบบ

     ชนิดของขอบสายพาน (Edge Type)

Molded Edge: คือสายพานหุ้มขอบ จะมียางหุ้มทั้งหมดรอบๆสายพาน เรื่องราวของการทำหุ้มขอบสายพานก็สืบเนื่องมาจากสมัยดั้งเดิมที่ใช้ผ้าฝ้าย (Cotton) เป็นชั้นรับแรงนั้น การลำเลียงต้องเผชิญกับ ความชื้น และสารเคมีมากมาย และคุณสมบัติของผ้าฝ้าย (Cotton) ก็ไม่สามารถทนกับสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ได้ ดังนั้นจึงทำหุ้มขอบสายพานเพื่อป้องกันไว้เสียเลยเพื่อยืดอายุการใช้งานของสายพาน

 

Cut Edge: คือสายพานไม่มีขอบ ทำโดยการตัดขอบของสายพานออกไปหลังจากผ่านการอบ (vulcanization) แล้วจะมองเห็นชั้นของผ้าใบในด้านข้าง

 


เรื่องราวของการทำสายพานแบบตัดขอบ ก็สืบเนื่องมาจากการพัฒนาการของ Fabric สมัยใหม่ที่ใช้วัสดุสังเคราะห์ เช่น Nylon, Polyesterเป็นชั้นรับแรงนั้น วัสดุสังเคราะห์ เช่น Nylon, Polyesterดูดซึมความชื้น และสารเคมีน้อยมาก จึงทำอันตรายสายพานได้น้อยมาก ดังนั้นการหุ้มขอบสายพานจึงมีความจำเป็นน้อยลงมากๆ เมื่อเทียบกับความได้เปรียบอื่นๆที่ได้เพิ่มขึ้นมาจากการผลิตแบบตัดขอบเช่น ความรวดเร็วของการผลิต ในส่วนของประเทศที่มีค่าแรงสูงเช่น ยุโรป หรือ อเมริกาจึงนิยมทำสายพานแบบ Cut Edge เพราะผลิตได้เร็วและ

 

 

 

 

ประหยัดแรงงาน ส่วนในเอเชียและในประเทศไทยเรายังนิยมแบบหุ้มขอบกันอยู่ครับ

            การเลือกชนิดของผิวสายพานและเลือกความหนาของสายพานถูกต้องให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานและอายุการใช้งานต้องดูปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน เช่นถ้าใช้สายพานที่ Fabric เป็น Cotton ในสิ่งแวดล้อมที่มีความชื้น คงไม่เหมาะสมแน่ เพราะ Cotton อมน้ำได้ เสียหายได้ง่าย หรือหากจำเป็นต้องใช้ก็ต้องสั่งแบบ หุ้มขอบ (Molded Edge) เอาไว้กันความชื้นเป็นต้น

 

Ø          การเลือกความหนาของสายพานจะยกยอดไปเป็นเรื่องหนึ่งอีกต่างหากเพราะต้องมีความรู้ด้านเทคนิคมาเกี่ยวข้องพอสมควร

ขอจบตอนนี้ไว้แค่นี้ก่อน เรื่องสายพานพิเศษนี้จะเจาะลึก เป็นเรื่องๆไป เช่น ทนร้อน ทนน้ำมัน ทนเปลวไฟ ให้เห็นกันชัดเจนเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ โปรดติดตาม โลกเราเวลา 1 วันมีแค่ 24 ชั่วโมงแค่นั้นเอง แต่ภารกิจที่ต้องทำมีมากมายหลายอย่าง ทำไม่เสร็จไม่สิ้นสักที ใครที่อ่านเรื่องเหล่านี้แล้วสนใจ เราอยากขออาสาสมัครมาช่วยพิมพ์หน่อยเรื่องที่ท่านอยากจะรู้ให้เราหน่อย สิ่งตอบแทนคือ ท่านถามได้ เราตอบตรง ความรู้อย่างงี้ หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว ใครสนใจเชิญมาสมัครได้นะครับ สวัสดีครับ




Rubber Belt สายพานยางดำ

1) จำหน่ายสายพานยางดำรายย่อยแล้วครับ
2) คำถามโดนๆเกี่ยวกับสายพานลำเลียง
3) ภาพรวมการแบ่งประเภทของสายพานลำเลียง
4) สายพานลำเลียงแบบชั้นผ้าใบ
6) ถอดรหัสสายพานทนสึก
7) ระบบป้องกันวัสดุเล็ดลอดออกจากสายพาน Sealing System
8) ส่วนประกอบของ Sealing system
9) ยางSkirtตัวร้ายหรือผู้ดี
10) การเลือกชนิด Skirt Rubber และการบำรุงรักษา
11)จำหน่ายสายพานยางดำ
12)ถอดรหัสสายพานทนร้อน
13)สายพานบั้ง
14)ทดสอบการเพิ่มอัตราขนถ่ายวัสดุของสายพาน Side Wall Belt Conveyor