ReadyPlanet.com
dot
Line ID
dot


5.3 Engineering Steel Chain (โซ่จัดทำเพื่องานพิเศษเฉพาะ)

 5.3 Engineering Steel Chain(โซ่จัดทำเพื่องานพิเศษเฉพาะ)

          ในบทความต่างๆของ Conveyor Guide ได้นำรูปภาพและตารางจากหลายแหล่งข้อมูลโดยไม่ได้อ้างอิงไว้แหล่งที่มาผู้เรียบเรียง จึงต้องขออภัยท่านเจ้าของข้อมูลนั้นๆด้วยความจริงใจทั้งนี้ผู้เรียบเรียงมีจุดประสงค์ให้ผู้อ่านได้มีความรู้ ความเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ข้อมูลที่ใช้จึงเป็นข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นเพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจในหลักการเป็นสำคัญ ส่วนรายละเอียดของสินค้าผู้อ่านสามารถค้นหาได้จากผู้ผลิตสินค้ายี่ห้อนั้นๆได้โดยตรง อีกทั้งมีอิสสระในการจัดหาสินค้าจากผู้จำหน่ายรายไหนก็เป็นสิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ซื้อจะกระทำได้ 

          ในปี ค.ศ.1880 Engineering Steel Chain เป็นโซ่พิเศษที่พัฒนาขึ้นจาก Cast Pintle Chain มีจุดประสงค์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของโซ่ในการรับแรงดึงให้สูงขึ้น รับน้ำหนักบรรทุกให้มากขึ้น สามารถวิ่งด้วยความเร็วที่สูงขึ้น รองรับการกระแทกได้ดี ดังนั้น Engineering Steel Chain จึงต้องมีการผลิตที่ใช้ความพิถีพิถันในการควบคุมควบคุมระยะต่างๆของโซ่ให้มีความแม่นยำและแน่นอนยิ่งขึ้นมากกว่าชอบ Cast Pintle Chain เพื่อให้เหมาะสมกับใช้งานเฉพาะในอุตสาหกรรมต่างๆ

          ดังนั้น Engineering Steel Chain มีขนาดPitch ที่มากขึ้ความแข็งแรงที่สูงขึ้น ทนทานต่อการสึกหรอและการกัดกร่อนมากยิ่งขึ้น อายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น รับน้ำหนักบรรทุกได้มากขึ้นเพื่อตอบสนองงานหนักประเภทต่างๆในอุตสาหกรรมใหม่ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยเรื่อย Engineering chains ตามปกติแล้วโซ่ส่วนมากจะถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในจุดประสงค์ที่จะส่งกำลัง (Transmitt)  จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง แต่ความต้องการลำเลียงที่แปลกๆในอุตสาหกรรมต่างๆมีมากกว่าขึ้น ดังนั้นจึงต้องการโซ่ลำเลียงที่มีความสามารถทำหน้าที่พิเศษเพิ่มจาก หน้าที่ปกติเช่นนอกจากเป็นโซ่ลำเลียงแล้ว ยังใช้เป็นโซ่ยก(Hoist) หรือใช้เป็นโซ่สำหรับหมุนใบพัด(propelling)  ซึ่งจะทำหน้าที่มากกว่าส่งกำลังแค่จากจุดหนึ่งไปถึงจุดหนึ่งเท่านั้น Engineering Steel Chain หลายประเภทจัดอยู่ในมาตรฐาน ASME B29 รูปแบบที่ นิยมกันอยู่ในรูปที่ 1-12 ไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ได้มีการจัดมาตรฐานของ Engineering Steel Chain มาตรฐานอันแรกที ANSI  ครอบคุมคือ Heavy Duty Offset sidebar Power Transmission Chains (ASME B293.10) และตามมาด้วย Steel Bushed Rollerless Chains(ASME B29.12) และคงมีการพัฒนามาตรฐานตามออกมาอีกเรื่อยๆ

           Engineering Steel Chain จัดว่าเป็นม้างานที่สำคัญในระบบโซ่ลำเลียงประเภทต่างๆและในBucket Elevator มีเพียงจำนวนน้อยเท่านั้นที่ใช้สำหรับ เป็นโซ่ส่งกำลัง engineering change ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆดังต่อไปนี้อุตสาหกรรมซีเมนต์ เหมือง ก่อสร้าง สวนสนุก น้ำตาล โรงเหล็ก อาหาร โรงงานกระดาษ โรงไฟฟ้า และอื่นๆ

 

Applications include:

  • Cement
  • Mining/Minerals/Heavy Conveying
  • Construction
  • Asphalt
  • Theme Park
  • Wastewater
  • Sugar 
  • Steel Mills/Drawbench
  • Food
  • Hydro-electric
  • Paper Mills
  • General Conveying/Elevating

Conveyor Types Selection

เมื่อจะเลือกโซ่มาใช้งาน ต้องพิจารณาถึง คุณสมบัติของวัสดุที่จะลำเลียง วิธีการลำเลียง จากนั้นค่อยพิจารณาว่ารูปแบบของการลำเลียงแบบไหนถึงจะเหมาะสม รูปแบบของการลำเลียงทั่วๆไปมี 3 แบบ(ดูรายละเอียดจากตารางข้างล่าง)

 

 ตารางเลือกชนิดของโซ่ให้เหมาะสมกับประเภทของการลำเลียง

 

 

โซ่ในอุสาหกรรมชนิดต่างๆ

 

1.อุตสาหกรรมซีเมนต์

    

2.อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม

 

3.อุตสาหกรรมท่อเหล็ก

 

4.อุตสาหกรรมบำบัดน้ำเสีย

 

5.อุตสาหกรรมน้ำตาล(Sugar Industry)

  

Slat Conveyor

 

        โซ่ลาเลียงแผ่นระนาด (slate conveyor)ํสามารถลําเลียงได้ 40o

 

pusher conveyor

 

วัสดุลาเลียงต้องทนแรงผลักดันได้ํนิยมใช้ในแนวราบและลาดเอียง40oC

 

Apron Conveyor

    

โซ่ลาเลียงแบบกระบัง หรือแบบแผ่นวางเกย (apron conveyor)ํ

 

 โซ่ลาเลียงแบบลากในราง (trough scrapers)

       

     

  

   

   

   

    

 




Conveyor Chain (โซ่ลำเลียง)

1) Why are we? ทำไมต้องซื้อโซ่กับเรา
2) Products type (โซ่ที่เราจำหน่าย)
3) Engineering Chain (โซ่พิเศษ/โซ่ส่งผลิต)
4) Chain Technology(ความรู้เรื่องโซ่)
4.1 Chain Development (ประวัติและพัฒนาการของโซ่)
4.2 Type of conveyor chain (ชนิดของโซ่ลำเลียง)
4.3 Chain Installation/AdJustment/Maintenanse (การติดตั้ง/การปรับ/และการบำรุงรักษาโซ่)
4.4 Trouble Shooting (สาเหตุ/ปัญหาและการแก้ไข)
5) Chain Selection (การเลือก/การคำนวณเรื่องโซ่)