ReadyPlanet.com
dot
Line ID
dot


>> 7.3 Horizontal Conveyor Designed Guide (คำแนะนำการออกแบบสายพานวิ่งตรงในแนวราบ)

Horizontal Conveyor Designed Guide

(คำแนะนำการออกแบบสายพานวิ่งตรงในแนวราบ)

A.การวาง Layout Conveyor

การวาง Layout Conveyor แบ่งความยาว (Center to Center) ของคอนเวเยอร์ออกเป็น 3 ขนาดคือ

 

1). คอนเวเยอร์ขนาดสั้น (Short Conveyor) คือสายพานที่มีระยะ center ถึง center ไม่เกิน 2 เมตร

Short Conveyor (Length < 2 m.) Layout

Ø สายพานสั้นไม่จำเป็นจะต้องมี Return Support

      Ø  Screw take up มีไว้สำหรับการปรับระยะตกท้องช้าง(Canary Sag) และปรับ Alignment ของสายพานเท่านั้นไม่ได้มีหน้าที่ปรับตั้งความตึงของสายพาน

 

 

2).คอนเวเยอร์ขนาดยาวปานกลาง (Medium Conveyor) คือคอนเวเยอร์ที่มีระยะอยู่ในช่วง 2 เมตรถึง 4 เมตร

 

Medium Conveyor (Length 2 m.) Layout

  Ø คอนเวเยอร์ขนาดยาวปานกลาง(Medium Conveyor) นี้ Return Support สามารถใช้Wear Strip และ Slider Baseก็ได้

  Ø ระยะตกท้องช้าง(Canary Sag) 900-1200 mm. ที่ติดตั้งอยู่ใกล้กับเฟืองขับ(Drive Sprocket) ก็มีระยะเพียงพอสำหรับเก็บความยาวของสายพาน       เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ

     

      3).คอนเวเยอร์ขนาดยาว (Long Conveyor) คือ Conveyor ที่มีความยาวมากกว่า 4 เมตรขึ้นไป 

Long Conveyor (Length >4.0 m.) Layout   

  Ø สายพานประเภทนี้ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิมีผลต่อความยาวของสายพานมาก ด้าน Return Support ต้องมีตัวรองรับระหว่างกลาง มากกว่า 1 ช่วงขึ้นไปเพื่อให้ Conveyor มีระยะตกท้องช้างได้ระยะพอดีในแต่ละช่วง  

  Ø สำหรับ Conveyor ที่มีน้ำหนักบรรทุกมากอาจจำเป็นจะต้องมีตุ้มถ่วง(Gravity Take Up) เพื่อเพิ่มความตึงของสายพาน ที่จะทำให้Sprocketและสายพานขบกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Take Up for Long Conveyor

 

  Ø น้ำหนักของ Gravity Take Up สำหรับคอนเวเยอร์ขนาดยาวที่แนะนำตามตารางข้างล่างดังนี้

Counter Weight for Long Conveyor

Note: Belt type 0.3”หมายถึงสายพานที่มี Pitch ขนาด 3

B.การวางตำแหน่งมอเตอร์สำหรับขับสายพาน

ไม่ว่าจะวางตำแหน่งมอเตอร์ขับสายพานจะว่างอยู่ที่ตำแหน่งใด มีหลักการว่า จะต้องทำให้มุมโอบ(Wrap Angle) ของสายพานมีค่าตั้งแต่ 180 องศาขึ้นไปการวางตำแหน่งมอเตอร์ขับสายพานทำได้หลายรูปแบบดังนี้

 1. ติดตั้งมอเตอร์ขับข้างบนที่ปลายจุดปลาย Conveyor ในตำแหน่งปล่อยวัสดุ (Discharge Point) โดยให้มีค่าระยะตกท้องช้างอยู่ในค่าที่กำหนดไว้ 900-1200 mm.

 

 

Motor Install at Discharge Point

 

2. ติดตั้งมอเตอร์ขับไว้ด้านข้างล่าง กรณีที่ต้องการให้จุดเชื่อมต่อ (Transfer Point) มีระยะห่างกันน้อย โดยใช้ลูกกลิ้งขนาดเล็ก (อุปกรณ์อย่างอื่นก็ได้) ที่จุดต่อหรือทำเป็น Nose Bar 

Motor ติดตั้งด้านล่างเพื่อให้มีระยะจุดเชื่อมต่อน้อย

3. เมื่อติดตั้งมอเตอร์ขับสองตัวที่ปลายทั้ง 2 ข้างของ Conveyor เพื่อใช้สำหรับการทำงานของ Conveyor 2 ทิศทาง เวลาใช้งานให้ใช้มอเตอร์ตัวเดียวในการขับ อีกตัวไม่ต้องทำงาน ระยะตกท้องช้างต้องเผื่อไว้ได้ 2 ตำแหน่งใกล้มอเตอร์ขับ

4. ติดตั้งมอเตอร์ขับตรงกลางของคอนเวเยอร์ด้านล่าง การวาง layout แบบนี้ใช้งานได้ดีกับสายพานวิ่ง 2ทาง ในกรณีที่สายพานมีแรงดึงมากหรือ Conveyor ที่มีน้ำหนักบรรทุกมากอาจจำเป็นจะต้องมีตุ้มถ่วง (Gravity Take Up) ที่จะทำให้Sprocketและสายพานขบกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Bi-Directional Conveyors

 C.ระยะที่สำคัญใน Conveyor Layout 

 

Conveyor ขนาดสั้นมีระยะ center to Center น้อยกว่า 2.0 เมตร

ระยะ A=900-1200 mm.


 

Conveyor ขนาดยาวปานกลางมีระยะ center to Center 2.0-4.0 เมตร


Conveyor ขนาดยาวมีระยะ center to Center > 4.0 เมตร

มี Wear Strip หรือSlider Bed  ติดตั้งในด้าน return

A คือระยะตกท้องช้างมีค่าระหว่าง 1 นิ้วถึง 4 นิ้ว (25.4 mm-102 mm)

B คือระยะห่างระหว่าง roller และ Drive Sprocket มีระยะระหว่าง 9 นิ้วถึง 18 นิ้ว (0.23 เมตรถึง 0.4 6 เมตร) เพื่อให้สายพานมีมุมโอบอยู่ในช่วง 180 องศาถึง 210 องศา

C คือระยะห่างระหว่างลูกกลิ้งรองรับด้านล่าง (Return) ควรมีระยะห่างระหว่าง 36 ถึง 48 นิ้ว

D คือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลูกกลิ้งรองรับด้านล่าง (Return)

Ø ขนาดเล็กที่สุด ใช้ลูกกลิ้งขนาด 2 นิ้วสำหรับสายพานที่มี Pitch 1 นิ้ว

Ø  ขนาดเล็กที่สุด ใช้ลูกกลิ้งขนาด 4 นิ้วสำหรับสายพานที่มี Pitch 1มากกว่า 1 นิ้ว

E คือระระจากเส้นผ่าศูนย์กลางของ Drive Sprocket ถึงจุดเริ่มต้นของ Slider Bed

Ø สำหรับConveyor ที่ยาวน้อยกว่า 3.6 เมตร Slider Bed จะต้องติดตั้งอย่างน้อย 24 นิ้วหรือ 60 เซนติเมตรห่างจากเส้นผ่าศูนย์กลางของ Drive Sprocket

Ø สำหรับคอนเวเยอร์ที่มากน้อยกว่า 3.6 เมตร Slider Bed จะต้องติดตั้งอย่างน้อย 36-48 นิ้วห่างจากเส้นผ่าศูนย์กลางของ Drive Sprocket

 ไม่รู้จัก ในไลน์ ยังกล้าทัก ตัวเป็นๆน่ารัก รีบทักเลย….สอบถามมาเลย...โดน

แกนหลักที่ให้ข้อมูลเป็นทีมงานวิศวกร ซึ่งจบมาจากหลายสถาบันเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ทีมงานมีเบื้องหลังและประสบการณ์การทำงานด้านระบบสายพานลำเลียงทั้งระบบสายพานลำเลียงทั้งขนาดใหญ่(Heavy Duty)ที่และขนาดเบา(Light Duty) ร่วมกันเป็นทีมงานที่จะแบ่งปันความรู้กับท่านผู้อ่านผ่าน website นี้




> 7. การออกแบบสายพานโมดูล่าร์(How-To Design Modular Belt)

>> 7.1 การออกแบบสายพานโมดูล่าร์(How-To Design Modular Belt)
>> 7.2 General conveyor Guide Design (คำแนะนำ: แนวทางทั่วไปการออกแบบระบบสายพานโมดูล่าร์)
>> 7.4 Inclined Conveyor Designed Guide
>> 7.5 การติดตั้งเพลาและเฟือง(Shaft and Sprocket Installation)
>> 7.6 TWO DIRECTIONAL Conveyors Designed Guide
>> 7.7Transfer Point
>> 7.8 BELT SUPPORT ARRANGEMENT การออกแบบส่วนรองรับสายพาน
>> 7.9 GRAVITY TAKE UP (คำแนะนำการออกแบบตุ้มถ่วงสายพาน)
>> 7.10 Transfer Point Design (การออกแบบจุเชื่อมต่อสายพาน)