11. สายพาน Modular รุ่นใช้งานหนัก
สวัสดีครับวันนี้ทาง Conveyor Guide จะมานำเสนองานในรูปแบบแปลกๆใหม่ๆ ของสายพานโมดูล่า ซึ่งปกติแล้วแฟนคลับของชาวคอนเวเยอร์ไกด์ก็คงจะมีการรับรู้ได้แค่ว่าสายพานโมดูล่าเป็นสายพานที่ใช้กับงานที่เบาๆ แต่ในข้อเท็จจริงสายพานโมดูล่าสามารถใช้ ใช้งานได้ทุกสภาพของการทำงานไม่ว่าเป็นงานหนักหรืองานเบา วันนี้ Conveyor Guide จะขอนำเสนอสายพานโมดูล่าซึ่งใช้งานหนัก หนักมากจริงๆ สายพานชุดนี้ออกแบบสำหรับลำเลียงถุง BIG BAG หนักถุงละ 1 ตัน ดังนั้นสายพานที่ถูกเลือกใช้จึงต้องมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ คือสายพานรุ่น HS-502 A-HD ซึ่งเป็นรุ่นยอดนิยมของเรา เพราะเป็นสายพานที่แข็งแรงทนทาน ราคาจับต้องเข้าถึงได้ง่ายๆเลย เพราะใช้ได้ในหลากหลาย Application แน่นอนวัสดุที่ใช้ต้องเป็น ปอม (Acetal-POM) ซึ่งมีความแข็งแรงกว่าวัสดุชนิดอื่นๆส่วนแข็งแรงแค่ไหน เรามาดูใน Data Sheet ว่า จากข้อมูลเดต้าชีต จะเห็นว่าสายพานที่ใช้วัสดุด้วย Acetal สามารถรับแรงดึงได้เท่ากับ 3500 กิโลกรัม ต่อ 1 เมตร ของหน้ากว้างในแนวตรง สายพานเส้นนี้มีหน้ากว้าง เท่ากับ 1 เมตร 52 เซนติเมตร ดึงนั้นจึงสามารถรับแรงได้สูงได้ถึง 5320 กิโลเมตรพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ สายพานเส้นนี้ สามารถมีถุงบิ๊กแบ็ค อยู่บนสายพานเส้นนี้พร้อมๆกันได้ถึง 5 ถุงสบายๆ
งานนี้เป็นงานโปรเจคมาไกลมากจากสงขลาลูกค้าคือ USGBORAL โดยแบ่ง Conveyor เป็น 2 Units ประกอบด้วย Unit แรกมีหน้ากว้าง 1520 mm มีความยาว 7250 มิลลิเมตรและอีก Unit 1 มีหน้ากว้างเท่ากันแต่แต่มีความยาว 2600 มิลลิเมตร ซึ่งถือว่าเป็นคอนเวเยอร์ที่มีขนาดใหญ่และรับน้ำหนักมากพอสมควรทีเดียว อย่างไรก็ตามยังมีสายพานโมดูล่าอีกหลายรุ่นซึ่งสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่านี้อีก แต่วันนี้ถือว่าสายพานเส้นนี้เป็นสายพานโมดูล่าที่รับน้ำหนักได้ประมาณปานกลางได้สบายๆ เรามาดูขั้นตอนและกระบวนการการผลิตสายพานโมดูล่ารุ่นนี้ตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นตั้งแต่การไปดูหน้างานการสเก็ตแบบและการสร้างขึ้นมาจนใช้งานได้ ว่ามีกระบวนการอย่างไรเพื่อให้แฟนคลับของคอนเวเยอร์ไกด์ได้แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน ครั้งต่อไปอาจจะใช้เป็นแนวทางทำเองหรือจะให้ทางคอนเวเยอร์ไกด์เป็นคนให้บริการก็ได้ครับ......ตามผมมาได้เลยครับ
ขั้นตอนที่1 สเก็ตรูปจากหน้างานก่อนทำDrawing
รูป 1 การสเก็ตรูปจากหน้างานก่อนมาทำแบบสายพานจริง
เราต้องรู้ Concept ความต้องการรูปแบบการใช้งาน น้ำหนักบรรทุก ความเร็วสายพานของลูกค้าก่อนว่าลูกค้าอยากให้ชื้นงานถูกลำเลียงออกมายังไง จากทิศไหนไปทิศไหน โดยเคสนี้ จะเป็นสายพานModular ลำเลียงถุง Big bag จากสายพานเส้นสั้นแล้วส่งต่อให้สายพานเส้นยาว จากรูป 1.1 เราจะได้แสดง Drawing ทั้ง 2 แบบ คือแบบความยาว 7250mm.และแบบความยาว 2600 mm.
ขั้นตอนที่ 2 คำนวณออกแบบและทำ Drawing
รูป2 Top View/Plan and Section of Conveyor
รูป3 Detail drawing ที่ทำเสร็จแล้ว
รูป4 สายพาน Modular Belt Bw1520 HS-502A-HD L=2600mm.
รูป5 สายพาน Modular Belt Bw1520 HS-502A-HD L=7250mm.
ขั้นตอนที่ 3 ผลิตและตรวจสอบความถูกต้องของระยะต่างๆของชิ้นงานหลังจากประกอบแล้ว ทำการวัดระยะขนาดของ Conveyor หน้างานเพื่อ Check ความถูกต้องของ สายพานModular Belt ว่ามีความถูกต้องตามที่ออกแบบไว้หรือไม่
ขั้นตอนที่ 4 Test Run เพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งมอบลูกค้า
ความในใจของทีมงานคอนเวเยอร์ไกด์ เป็นความตั้งใจของทีมงานที่จะไม่นำเสนอเรื่องที่คนอื่นจัดให้มากอยู่แล้วเช่น เรื่องแคตตาล็อก(Catalog) ต่างๆ แต่เราจะนำเสนอเรื่องราวความรู้ในแง่มุมของหลักการ(Principle)และเหตุผล(Reasons) ว่าจะต้องทำยังไง(How)และทำไม(Why)จะต้องทำอย่างนั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่หาข้อมูลได้ยากพอสมควร แม้แต่ในตำราก็ไม่เคยบอกไว้ และก็ไม่มีใครเขาอยากจะบอกกัน หรือ ดังนั้นเนื้อหาบางเรื่องจึงเป็นเรื่องที่ผ่านการลงพื้นที่จริงของทีมงานแล้วนำมาวิเคราะห์บอกกล่าวผู้อ่านกันเอง ลองถามมาเลยครับถ้าเป็นเรื่องสายพานลำเลียง (Conveyor Belt) ไม่ว่าจะเป็นสายพานยางดำ (Rubber Belt), สายพานกระพ้อ (Elevator Belt) สายพานพลาสติกโมดูลาร์ (Modular Belt) สายพาน PVC BELT , PU BELT, สายพานท็อปเชน(Flat Top Chain) ทีมงานวิศวกรจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือที่มีเบื้องหลังและประสบการณ์การทำงานด้านระบบสายพานลำเลียงทั้งระบบสายพานลำเลียงทั้งขนาดใหญ่(Heavy Duty)ที่และขนาดเบา(Light Duty) ร่วมกันแบ่งปันความรู้กับท่านผู้อ่านผ่าน website นี้ ยินดีแชร์กันทุกแง่มุม ตั้งแต่ การออกแบบ การผลิต การเลือก การเก็บรักษา การบำรุงรักษา การซ่อมแซม การต่อสายพาน การใช้งาน การ Modifyมีของเท่าไหร่ปล่อยหมด ไม่มีกั๊ก ไม่มีดึง ไม่มีเม้ม เปิดๆกันไปเลย เราบริการ ดัง MOTTO “ บอกทุกเรื่อง...ที่คนอื่นไม่อยากให้คุณรู้ “เสิร์ฟข่าวสาร อาหารสมอง” อย่างจุใจจริงๆ” “ตอบโจทย์เฉพาะเรื่อง....ครบเครื่องเรื่องสายพาน”
ขอขอบคุณ Supplier ทั้งใน อเมริกา ยุโรปและเอเชีย ที่ให้โอกาสเราได้เยี่ยมชมโรงงานและขบวนการผลิตตลอดจนให้ข้อมูลด้านเทคนิคลึกๆที่เป็นประโยชน์....ขอบคุณปัญหาทุกรูปแบบที่ทุกผู้บริโภคหรือผู้อ่านเป็นผู้นำโอกาสมาให้เราได้เรียนรู้....ขอบคุณผู้ที่เขียนตำราทั้งใน Website และText book…. ขอบคุณเพื่อนๆร่วมอาชีพที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์....ขอบคุณ Maker ผู้สร้างเครื่องจักรทั้งหลาย ที่ให้ข้อคิดเห็นดีๆที่เป็นประโยชน์ และสุดท้ายขอบคุณฝ่ายMaintenance ฝ่ายจัดซื้อและบัญชีการเงินของลูกค้าทุกท่านที่จ่ายเงินตรง Due....เราหวังว่าเราจะเดินทางไกลไปพร้อมๆกับคุณ ..If you want to walk fast…work alone. If you want to walk far...walk together. จึงเป็นที่มาของแนวคิดเรื่องการแบ่งปัน ‘Together we Share’ ผลงานที่นำมาเสนอ อาจจะ ออกช้าบ้างแต่ที่แน่ๆคือมันจะมีออกมาเรื่อยๆ....นี่คือคำสัญญาจากเรา
|