ReadyPlanet.com
dot
Line ID
dot


2.13 เปลี่ยนลูกกระพ้อใหม่แต่ใช้สายพานเส้นเดิม

 

เปลี่ยนลูกกระพ้อใหม่แต่ใช้สายพานเส้นเดิม

 

สวัสดีครับทุกท่านกลับมาพบกันอีกครั้งกับทีมงานคอมเวเยอร์ไกด์เบื่อกันหรือยังครับ   ถ้ายังไม่เบื่อกันขอเสียงหน่อยครับ... ฮิ้ววววววววววววววววว   โอเคครับผม เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่าครับ สำหรับวันนี้เราจะพาทุกท่านไปดูงานกันครับ แต่การดูงานของเราคืองานจริงๆนะครับ ว่าแล้วก็ไปกันเลยครับงานของเราในวันนี้ก็คือการเปลี่ยนลูกกระพ้อ   ที่โรงงานแห่งหนึ่ง โดยใช้สายพานเส้นเดิม แต่เปลี่ยนลูกกระพ้อใหม่ จะมีขั้นตอนการเปลี่ยนอย่างไรบ้าง ไปชมกันเลยครับ....Let’s  Go

 

 

1.ปรับ Take Up ให้สายพานหย่อนแล้วถอด Cover ด้านล่างออกให้โล่งเพื่อเป็นช่องให้สายพานออกมาได้         

จะเห็นได้ว่า Cover & Take Up ของต้นกระพ้อต้นนี้อยู่ด้านข้าง ซึ่งจะยากต่อการซ่อมบำรุง   

เพราะการเอาสายพานออกทางด้านข้างของต้นกระพ้อจะลำบากกว่าเอาออกทางด้านหน้าของต้นกระพ้อ 

  

 

 

2.ถอดหัวต่อสายพานออกจากกัน โดยเดินเครื่องเบาๆจนเห็นรอยต่อของสายพานแล้วทำการถอดน็อต ออกจากหัวต่อ(Mechanical Fastener)   

                              เมื่อถอดน็อตออกจากหัวสายพานแล้วเอาเชือกมัดที่ปลายข้างหนึ่งของปลายสายพานยึดไว้กับโครงสร้างที่มั่นคงดึงสายพานออกจากซองกระพ้อพร้อมๆกับหย่อนเชือกตามมาเป็นจังหวะให้สอดคล้องกัน เชือกที่คล้องกับหัวสายพานมานี้มีจุดประสงค์เพื่อให้การนำสายพานเข้าซองกระพ้ออีกครั้งหนึ่งจะทำได้โดยง่าย ตอนที่เรานำสายพานกลับที่เดิมจะได้สะดวก ขั้นตอนนี้ควรระวังอย่าให้เชือกตึงเกินไปเพราะจะทำให้เชือกขาดได้

 

 

3.ถอดลูกกระพ้อออกจากสายพาน

 

 ทำการถอดลูกกระพ้อเก่าออกจากสายพาน เอาน็อตกระพ้อชุดเดิมออกไปด้วยนะครับ ขั้นตอนนี้อาจจะต้องใช้อุปกรณ์ในการตัดน็อตกระพ้อหากขันน็อตแล้วไม่ออก ระวังอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นด้วยนะครับทุกท่าน

 

              4.เจาะรูใหม่บนสายพานเพื่อจะใส่ลูกกระพ้อใหม่

 

          ขั้นตอนนี้ต้องมีความแม่นยำมาก ทุกระยะต้องเป๊ะ เจาะรูต้องห้ามพลาด เพราะถ้าระยะคลาดเคลื่อน              การติดตั้งลูกกระพ้อจะไม่ได้ระนาบเดียวกัน และอาจทำให้สายพานเสียหายได้ในอนาคต


5.ติดตั้งลูกกระพ้อใหม่เข้ากับสายพาน

 

                                   เมื่อติดตั้งลูกกระพ้อเข้าไปบนสายพานเรียบร้อยแล้วก็เตรียมนำสายพานกลับเข้าระบบ                                                น็อตที่ใช้ติดตั้งลูกกระพ้อในครั้งนี้ เป็นน็อตขนาด M8*40

 

 

 

                  6.นำสายพานกลับเข้าระบบ

    

ขั้นตอนการนำสายพานกลับเข้าระบบเราจะดึงเชือกที่มัดไว้กับปลายสายพานโดยใช้รอกไฟฟ้าค่อยๆดึงสายพานขึ้นไปจนให้ปลายทั้งสองของสายพานมาบรรจบกัน

   

เราช่วยประคองสายพานเพื่อให้สายพานเข้าระบบอย่างเป็นระเบียบ เพราะช่อง Cover ที่เรานำสายพานกลับเข้าระบบอยู่ด้านข้าง จึงทำให้การนำสายพานกลับเข้าระบบจะยากกว่าช่อง Cover ที่อยู่ด้านหน้า

 

 

                 7.ดึงปลายสายพานทั้งสองข้างมาบรรจบกัน เพื่อต่อหัวสายพานเข้าด้วยกัน

     

การต่อสายพานในครั้งนี้จะใช้หัวต่อแบบ S1 ต่อแบบเพทพนม

                         

 

 

              8.ปรับ Take Up แล้ว Test Run ให้สายพานวิ่งตรง

                                  

ขั้นตอนสุดท้าย ปรับ Take Up ให้สายพานตึง แล้วทำการเดินเครื่องเพื่อดูว่าสายพานวิ่งตรงหรือไม่                                ปรับ Alignment ให้ดีเมื่อสายพานวิ่งตรงแล้วเป็นอันเสร็จสิ้น ปิดจ๊อบอย่างสวยงาม 

 

 

สุดท้ายนี้ บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด ได้เร่งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมากจึงได้จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการติดตั้งสายพาน Modular สำหรับเป็นแนวทางให้กับทุกท่านที่สนใจที่จะทำโครงสร้างสายพาน Modular และต้องการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์สายพาน Modular Belt จากทางบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด ลูกค่าท่านใดสนใจศึกษาข้อมูลเบื้องต้น หรือมีปัญหาอะไร สามารถดูได้ที่ http://www.conveyorguide.co.th/  และยังสามารถ Add  Line มาพูดคุยกันได้ที่ @cg1356

เรื่องเงินถาม...ธนาคาร......เรื่องสายพาน....ถามเรา

ความในใจของทีมงานคอนเวเยอร์ไกด์

      เป็นความตั้งใจของทีมงานที่จะไม่นำเสนอเรื่องที่คนอื่นจัดให้มากอยู่แล้วเช่น เรื่องแคตตาล็อก (Catalog) ต่างๆ แต่เราจะนำเสนอเรื่องราวความรู้ในแง่มุมของหลักการ (Principle) และ เหตุผล (Reasons) ว่าจะต้องทำ ยังไง (How) และ  ทำไม (Why) จะต้องทำอย่างนั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่หาข้อมูลได้ยากพอสมควร แม้แต่ในตำราก็ไม่เคยบอกไว้ และก็ไม่มีใครเขาอยากจะบอกกัน หรือ ดังนั้นเนื้อหาบางเรื่องจึงเป็นเรื่องที่ผ่านการลงพื้นที่จริงของทีมงานแล้วนำมาวิเคราะห์บอกกล่าวผู้อ่านกันเอง

 

       ลองถามมาเลยครับถ้าเป็น เรื่องสายพานลำเลียง (Conveyor Belt) ไม่ว่าจะเป็นสายพานยางดำ (Rubber Belt),สายพานกระพ้อ (Elevator Belt)  สายพานพลาสติกโมดูลาร์ (Modular Belt)  สายพาน PVC BELT , PU BELT,  สายพานท็อปเชน (Flat Top Chain) ทีมงานวิศวกรจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือที่มีเบื้องหลังและประสบการณ์การทำงานด้านระบบสายพานลำเลียงทั้งระบบสายพานลำเลียงทั้งขนาดใหญ่ (Heavy Duty) ที่และขนาดเบา (Light Duty) ร่วมกันแบ่งปันความรู้กับท่านผู้อ่านผ่าน website นี้

       ยินดีแชร์กันทุกแง่มุม ตั้งแต่ การออกแบบ การผลิต การเลือก การเก็บรักษา การบำรุงรักษา การซ่อมแซม การต่อสายพาน การใช้งาน การ Modifyมีของเท่าไหร่ปล่อยหมด ไม่มีกั๊ก ไม่มีดึง ไม่มีเม้ม เปิดๆกันไปเลย เราบริการ ดังMOTTO บอกทุกเรื่อง...ที่คนอื่นไม่อยากให้คุณรู้ เสิร์ฟข่าวสาร อาหารสมอง” อย่างจุใจจริงๆ” ตอบโจทย์เฉพาะเรื่อง....ครบเครื่องเรื่องสายพาน”

     ขอขอบคุณ Supplier ทั้งใน อเมริกา ยุโรปและเอเชีย ที่ให้โอกาสเราได้เยี่ยมชมโรงงานและขบวนการผลิตตลอดจนให้ข้อมูลด้านเทคนิคลึกๆที่เป็นประโยชน์....ขอบคุณปัญหาทุกรูปแบบที่ทุกผู้บริโภคหรือผู้อ่านเป็นผู้นำโอกาสมาให้เราได้เรียนรู้....ขอบคุณผู้ที่เขียนตำราทั้งใน Website และ Text book…. ขอบคุณเพื่อนๆร่วมอาชีพที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์....ขอบคุณ Maker ผู้สร้างเครื่องจักรทั้งหลาย ที่ให้ข้อคิดเห็นดีๆที่เป็นประโยชน์ และสุดท้ายขอบคุณฝ่ายMaintenance ฝ่ายจัดซื้อและบัญชีการเงินของลูกค้าทุกท่านที่จ่ายเงินตรง Due....เราหวังว่าเราจะเดินทางไกลไปพร้อมๆกับคุณ ..If you want to walk fast…work alone. If you want to walk far...walk together. จึงเป็นที่มาของแนวคิดเรื่องการแบ่งปัน ‘Together we Share’ ผลงานที่นำมาเสนอ อาจจะ ออกช้าบ้างแต่ที่แน่ๆคือมันจะมีออกมาเรื่อยๆ....นี่คือคำสัญญาจากเรา