ReadyPlanet.com
dot
Line ID
dot


ตอนที่ 1

 

สร้าง Conveyor ด้วยตัวเองต้องรู้อะไรบ้าง

ตอนที่ 1 Overview เรื่องของ Modular และ Top Chain Conveyor

 

สวัสดีปีใหม่ 1 มกราคม 2563 เป็นธรรมเนียมครับ เมื่อถึงปีใหม่เราก็ต้องมีการมอบของขวัญ  สำหรับคนที่รัก นับถือและระลึกถึง สำหรับบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด เราก็ไม่มีสิ่งของที่เป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ที่จะมอบให้ แต่เราคิดว่าเราจะให้อะไรที่จะมีคุณค่ามากไปกว่าสิ่งที่คนอื่นไม่จัดมอบให้ได้ นั่นคือ เราจะนำความรู้เรื่องการสร้างคอนเวเยอร์(Conveyor) ด้วยตัวเองมาแชร์ให้ผู้อ่านที่ติดตามผลงานของเราได้รับประโยชน์สูงสุดทั้งประเด็น การประหยัดเงิน การประหยัดเวลา และการเพิ่มพูนความรู้เพื่อไปต่อยอดในงานที่เกี่ยวข้องต่อไป นี่คือของขวัญวันปีใหม่ที่เราภูมิใจที่จะมอบให้ครับ

 

 สวัสดี ปีใหม่ 2563 จากชาว  Conveyor Guide ทุกคน

 

จุดประสงค์ ของบทความชิ้นนี้เป็นเรื่องความรู้เรื่องการสร้างคอนเวเยอร์(Conveyor) ด้วยตัวเอง ที่จะทยอยเขียนเป็นหลายตอน เพราะเนื้อหาเยอะ มีทั้งรูปภาพและ Drawing ประกอบ เมื่ออ่านจบ ทบทวนนิดหน่อย รับรองว่าท่านผู้อ่านสามารถเข้าใจและสร้างคอนเวเยอร์ (Conveyor) ได้ด้วยตัวเองแน่ ๆ ประโยชน์ที่ตามมาก็คือ ผู้อ่านที่ทำเองจะ ประหยัดเงิน ประหยัดเวลาพร้อมกับเข้าใจหลักการออกแบบและมี ไกด์ดีไซน์ (Design Guide) ในการสร้างคอนเวเยอร์ที่ถูกต้องอย่างง่ายๆ ทั้งนี้ผู้เขียนจะพยายามชี้ประเด็นที่เป็นโนว์ฮาว(Know How) และพยายามจะอธิบายประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านเทคนิคที่ต้องรู้เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ โนว์วาย (Know Why) ให้ผู้ที่ติดตาม Web Page ของเราได้เข้าใจหลักการเบื้องต้น เมื่อเข้าใจหลักการแล้วจะสามารถประยุกต์หลักการนี้ เข้ากับคอนเวเยอร์ที่มีแอพพลิเคชั่นการใช้งานหลากหลายต่าง ๆ ได้โดยง่ายและถูกต้อง หวังว่าผู้ที่ติดตามผลงานของ บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัดจะได้มีทั้งความรู้และความสุขไปพร้อมกัน

 

ถาม1.เรื่องกำลังที่จะแชร์นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับคอนเวเยอร์ (Conveyor) ประเภทอะไร

ตอบ เป็นคอนเวเยอร์ (Conveyor) ประเภทโมดูลาร์ (Modular) และ Top chain Conveyor ซึ่งมีหลักการทำงานคล้ายๆกัน

 

สายพานโมดูลาร์ (Modular Belt Conveyor) ในอุตสาหกรรมชำแหละเนื้อสัตว์

ถาม1 สายพาน Top Chain และสายพานโมดูล่าต่างกันยังไงครับ

ตอบ Top Chain คือสายพานลำเลียงชนิดหนึ่งมีการทำงานคล้ายโซ่ (Chain) ตัวสายพานมีลักษณะเป็นลิงค์ (Link) เชื่อมต่อกันเป็นเส้นยาวได้ตามความต้องการ มีหน้ากว้างจำกัด (เทาที่ทราบหน้ากว้างสูงสุดประมาณ 600 มม.) หากต้องการหน้ากว้างมากขึ้นต้องใช้สายพาน Top Chain หลายๆเส้นมาต่อกัน 

 

Top Chain มีหน้ากว้างจำกัด หากหน้ากว้างมากขึ้นต้องใช้สายพาน

Top Chain หลายๆเส้นมาต่อกันกรณีนี้ใช้ 2 เส้นต่อกัน

 

Top Chain มีหน้ากว้างจำกัด หากหน้ากว้างของ Conveyor มากขึ้น 

ต้องใช้สายพาน Top Chain หลายๆเส้นมาต่อกัน

 ตัวสายพานทำจากพลาสติกหรือโลหะก็ได้ ขับเคลื่อนสายพานด้วยเฟือง (Sprocket ลักษณะการทำงานเช่นเดียวกับโซ่รถจักรยานหรือรถจักรยานยนต์) ที่ใช้มอเตอร์เป็นต้นกำลัง วิ่งได้ทั้งตรงและโค้ง

Top Chain พลาสติก ขับเคลื่อนสายพานด้วยเฟือง (Sprocket)

 

ทั่วไปด้านบนของสายพานมีลักษณะเป็นแผ่นหน้าเรียบ Flat Top (ในปัจจุบันมีการปรับปรุงผิวหน้าเพื่อให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งาน เช่น ติดยาง ติดบั้ง ติดครีบ)

  

ตัวอย่างด้านบนของสายพาน Top Chain ที่มีลักษณะเป็นแผ่นหน้าเรียบ

 

 ตัวอย่างด้านบนของสายพาน Top Chain มีแผ่นหน้าเรียบ ติดยาง ติด Roller

 

 

สายพาน Top Chain Conveyor แบบวิ่งโค้ง

 

สายพาน Top Chain Conveyor แบบวิ่งเป็นวงกลมได้

 

ส่วนสายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) ตัวสายพานทำมาจากการฉีดพลาสติกออกมาเป็นชิ้น(Module) คล้ายกับตัวเลโก้ Lego) จากนั้นพลาสติกแต่ละชิ้น (Module)เอามาต่อกัน (ด้วย PIN) ทั้งด้านกว้างและด้านยาวให้เป็นผืนสายพานให้ได้ตามหน้ากว้างและความยาวที่ต้องการ

ทีมงาน ของ คอนเวเยอร์ไกด์ กำลังนำชิ้นสายพาน Modularพลาสติก

แต่ละชิ้นเอามาต่อกัน (ด้วย PIN/ROD)ให้ได้หน้ากว้าง-ความยาว ตามที่ลูกค้าต้องการ

 

สายพานโมดูล่าร์(Modular Belt) สามารถต่อขยายหน้ากว้าง-ความยาวได้ตามที่ลูกค้าต้องการ

 

 

สายพานโมดูล่าร์(Modular Belt) แบบมีบั้งประกอบเสร็จเป็นผืนสายพานเรียบร้อย

 

 

ผิวหน้าของสายพานโมดูล่าร์ มีทั้งเป็นแบบเรียบ(Flat)แบบ มีรู(Flush Grid) แบบยกสันของสายพานขึ้นและติดบั้ง(Cleat) ติดครีบ ติดยาง(Rubber) และอื่น ๆอีกมากมาย

 

 

สายพานโมดูล่าร์(Modular Belt) ผิวหน้าเป็นปุ่มเพื่อให้น้ำ หรือ

น้ำมันหยดลงได้ Product จะแห้งขณะลำเลียง

 

 

สายพานโมดูล่าร์(Modular Belt) ผิวหน้ามีรูให้อากาสน้ำไหลผ่านได้

 ใช้ในไลน์ล้างผัก อาหาร อบ หรือ Product อื่น ๆ ก็ได้

 

 

สายพานโมดูล่าร์(Modular Belt) แบบติดบั้ง(Cleat) และผนังด้านข้าง(Side Wall)

 

  

โดยสรุปสายพานโมดูล่าร์สามารถต่อกันให้เป็นผืนเดียว โดยมีหน้ากว้าง-ความยาวได้หลายเมตร ทำให้มีความสะดวกกว่าสายพาน Top chain กรณีที่ลำเลียงของชิ้นใหญ่และมีน้ำหนักมาก ๆ ดังนั้นสายพาน Modular จึงใช้งานได้หลากหลาย Application ทั้งงานหนัก งานเบา ไลน์ล้าง ไลน์ cooling ไลน์ Storageและอื่น ๆได้มากกว่าสายพาน Top chain

ถาม2. เมื่อก่อนผมเคยทำสายพานประเภท  PVC/PU  Conveyor มันต่างกันกับ Conveyor ประเภทโมดูลาร์ (Modular) และ Top Chain  หรือเปล่า เอาความรู้หลักการทำงานเดิมมาใช้งานด้วยกันได้ไหม

ตอบ คอนเวเยอร์ประเภท PVC/PU  และ Conveyor ประเภทโมดูลาร์ (Modular) และ Top chain มีหลักการทำงานต่างกันอย่างตรงกันข้าม กล่าวคือ คอนเวเยอร์ ประเภท PVC /PU  ทำงานด้วยระบบ High tension ความหมายคือ ถ้าสายพานไม่ตึง Conveyor จะไม่สามารถทำงานได้ ดังนั้นจะสังเกตว่าสายพาน PVC / PU  จะมี Take up เพื่อปรับสายพานให้ตึงด้วยอยู่เสมอ ซึ่งเมื่อทำงานไปได้ระยะหนึ่ง สายพานจะยืด (Elongate) สายพานจะยาวขึ้น จะไม่ตึง ทำให้ต้องปรับTake Up อีกเพื่อให้สายพานตึงมากขึ้นเพื่อให้สายพานทำงานได้อีกครั้งหนึ่ง และต้องปรับความตึงไปเรื่อยๆทุกครั้งเมื่อสายพานยืด ดังนั้นสายพาน PVC /PU  จะขาดตัวTake Up ไปไม่ได้ จะเห็นว่าสายพาน PU/ PVC จะมีปัญหาเป็นธรรมชาติของมันคือการ สลิป(Slip) สไลด์(Slide)ผลก็คือต้องเสียเวลาในการปรับตั้ง บางครั้งการสลิป(Slip) สไลด์(Slide) ทำให้สายพานเสียหายเมื่อเบียดกับโครงสร้าง และการยืดของสายพาน PVC/PU  ถือเป็นเรื่องปกติที่ต้องเกิดขึ้น

 

สายพาน PVC /PU  จะขาดตัวปรับตึง Take Up ไปไม่ได้ 

เพราะต้องคอยปรับสายพานให้ตึงอยู่เสมอ

 

 

 ส่วนโมดูลาร์ (Modular) และ Top chain Conveyor เป็นระบบการทำงานแบบใช้แรงดึงต่ำ(Low Tension) การขับเคลื่อนสายพานด้วย Sprocket เปรียบให้เข้าใจได้ง่ายๆคล้ายกับโซ่จักยานไม่ต้องตึง หย่อนๆหน่อยถึงจะทำงานได้ดี ปรกติถ้าสายพาน (Conveyor Length) หากไม่ยาวมาก(ไม่เกิน 2เมตร-ถ้ายาวมากหรือมีน้ำหนักบรรทุกมากอาจจะจำเป็นต้องมี Take Up ในบางกรณี) จะไม่ต้องใช้ชุดปรับความตึง(Take Up)  สายพานประเภทนี้เกิดขึ้นมาเพื่อที่จะต้องการแก้ปัญหาการ สลิป(Slip) สไลด์(Slide) ของสายพานประเภท PU/ PVC ได้อย่างได้ผล สรุป คำตอบก็คือคอนเวเยอร์ทั้ง 2 ประเภท PVC/PU  Conveyor และ Conveyor ประเภทโมดูลาร์ (Modular) และ Top chain มีหลักการทำงานที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังนั้นผู้ออกแบบที่คุ้นเคยกับการออกแบบสายพาน PVC/PU จะต้องเริ่มศึกษาสายพานแบบนี้ใหม่ให้ลืมอันเก่าไว้ก่อนนะครับ

สายพานโมดูล่าร์(Modular Belt)ไม่ต้องมี Take Up แถมต้องมีระยะหย่อนของสายพานด้วย

 

ถาม3. ถ้าผมเริ่มต้นอยากทำสายพานโมดูล่าร์(Modular Belt Conveyor) และสายพาน Top Chain Conveyor ผมจะเริ่มต้นอย่างไร และต้องรู้อะไรบ้าง

ตอบ จะต้องรู้ใน 3 หลักการ ดังต่อไปนี้คือ

ข้อที่ 1 Conveyor layout

ข้อที่ 2 Conveyor Basic requirements (มีหลายข้อจะทยอยเขียนในตอนต่อๆไป)

ข้อที่ 3 Drive Concept

ถาม4. Conveyor Layout คืออะไรและเป็นยังไงครับ

ตอบ Conveyor layout คือ ระยะและลักษะณะรูปร่างของคอนเวเยอร์ที่เราจะสร้างขึ้น มีรูปร่างและทิศทางการเคลื่อนที่อย่างไรเช่น เป็นคอนเวเยอร์ แบบเคลื่อนที่ในแนวตรง ในแนวโค้ง หรือในแนวเอียงเป็น 3 แนวหลักๆที่ผู้ออกแบบต้องรู้เสียก่อน ดูบางตัวอย่างด้านล่างนี้

 

สายพานโมดูล่าร์(Modular Belt Conveyor) Lay Out Sketch แบบวิ่งตรง(Straight)

 

 

 สายพานโมดูล่าร์(Modular Belt Conveyor) แบบวิ่งตรง(Straight)

 

 

สายพานโมดูล่าร์(Modular Belt Conveyor) Lay Out  แบบวิ่งโค้ง(Side Flexing)

 

 

 สายพานโมดูล่าร์(Modular Belt Conveyor) Lay Out  แบบวิ่งเอียง (Incline )

 

 

สายพานโมดูล่าร์(Modular Belt Conveyor) Lay Out แบบทางตรง(Straight)

ถาม5. เมื่อรู้รูปแบบของ Conveyor Lay Out แต่ละตัวแล้วต้องทำยังไงต่อไป

 

ตอบ เมื่อรู้แล้วก็ต้องนำคอนเวเยอร์ที่มีรูปแบบต่าง ๆกัน ตรง บ้าง โค้งบ้าง เอียงบ้าง สั้นบ้าง ยาวบ้าง เอามาต่อกันให้วิ่งเป็นระบบ (Conveyor System Lay Out) ที่เราต้องการ คำว่าต่อกันหมายความว่าจะโปรดักส์ ให้เคลื่อนที่จากจุดใดไปถึงจุดใด วิ่งตรง เลี้ยวโค้ง แล้วเอียง ขึ้น-ลงอย่างไร หรือจะกลับวิ่งตรงอีกครั้งหนึ่ง หรือเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ออกแบบจะต้องเป็นผู้กำหนดการใช้งานเอง คอนเวเยอร์ที่นำมาต่อกันหลายๆตัวเป็นระบบคอนเวเยอร์ (Conveyor System Lay Out)

 

 

ตัวอย่างระบบ(Conveyor System) สายพานโมดูล่าร์(Modular Belt)มีทั้ง วิ่งตรง เลี้ยวโค้ง

 แล้วเอียง ขึ้น-ลง และแบบบันไดเวียน(Spiral)

 

เข้ามาชมและเรียนรู้ได้ที่สำนักงานของเรา ยินดีต้อนรับทุกท่าน

 

ถาม6. เอาล่ะเรื่องระบบคอนเวเยอร์ Conveyor System ผมเข้าใจแล้ว ถ้าหากผมจะสร้างคอนเวเยอร์แบบตัวเดียว ผมจะต้องรู้รายละเอียดอะไรบ้างครับ

ตอบ รายละเอียดมีมากครับไม่สามารถเขียนจบในตอนเดียวได้ จะต้องเขียนเพิ่มอีก 4-5-6….7 ตอน คือคอนเวเยอร์แบบตรง คอนเวเยอร์แบบโค้ง(2 ตอน) และคอนเวเยอร์แบบเอียง จากนั้นเป็นเรื่องของ Top Chain และอื่น ๆ ติดตามในตอนที่ 2- 3 -4 -5….7 ต่อไปครับ

 

จบ.........ตอนที่ 1 Overview เรื่องของ Conveyor

สุดท้าย..ปัจจุบันปริมาณข้อมูลมีมากมายมหาศาลล้นเกินแต่ไร้สาระเป็นส่วนมาก...ความยากไม่ได้อยู่ที่การแสวงหาข้อมูล แต่อยู่ที่การวิเคราะห์ความถูกต้องและแก่นสารของข้อมูล การสรุปเนื้อหาให้ง่ายๆ ถูกต้องเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคต้องการอย่างแท้จริง ทว่าข้อมูลที่อยู่ในอินเตอร์เน็ตปัจจุบันเป็นข้อมูลขยะเสียส่วนมาก ข้อมูลส่วนใหญ่พยายามบอกเรื่องที่ตนเองอยากจะพูด ไม่ได้บอกเรื่องที่ผู้บริโภคอยากจะฟัง เช่นผู้บริโภคต้องการข้อมูลที่ดูแล้ว เข้าใจง่าย มีสาระ ถูกต้อง ครบถ้วน แต่ข้อมูลที่มีอยู่คือรูปของตารางและ Specification ไร้คำอธิบายถึงที่ไปที่มา ผู้บริโภคจึงขาดข้อมูลเชิงภาพรวม (Big Picture) ซึ่งเป็นภาพสุดท้ายที่ผู้บริโภคต้องมองเห็นก่อนตัดสินใจ ส่วนรายละเอียดสเปคสินค้ามาสนับสนุนทีหลังได้ หลังจากภาพรวมมองผ่านไปแล้ว และเราบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด(Conveyor Guide Co.,Ltd. ) จะพยายามทำหน้าที่ฉายภาพรวมและภาพรายละเอียดแต่ละชิ้นของส่วนประกอบย่อย ๆของภาพนั้น โดยเราจะแสวงหาข้อมูลอย่างครบถ้วนรอบด้านที่ผู้บริโภคอยากรู้...แต่คนอื่น (ผู้ขายมากราย)ไม่บอกโดยหวังว่าจะเก็บสิ่งที่ผู้บริโภคไม่รู้นี้ไว้ต่อรอง...แต่สำหรับConveyor Guide เรื่องการแบ่งปันความรู้แล้เราจะสร้างประสบการณ์ร่วมใหม่ๆร่วมกับผู้บริโภค...โดยเราจะทำตัวเป็นโทรโข่งตรงข้ามกับคนอื่น...เขาปิด-เราจะเปิด...เขาเงียบ-เราจะตะโกน...เหมือน Motto ที่เราเอ่ยถึงอยู่เสมอๆว่า“Together We Share บอกทุกเรื่องที่คนอื่นไม่อยากให้คุณรู้ เพราะเราถือว่ายิ่งผู้บริโภคมีความรู้มากขึ้นเท่าไหร่ ทุกคนยิ่งจะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นเท่านั้น เนื่องจากเราถือว่าความสำเร็จของผู้บริโภคคือแหล่งที่มารายได้ของเรา ดังนั้นเราจึงมีหน้าที่สร้างความรู้และช่วยเหลือผู้บริโภคอย่างเต็มที่เท่าที่แรงงานและสติปัญญาของเราพึงมี