ReadyPlanet.com
dot
Line ID
dot


ตอนที่ 2

 

สร้าง Conveyor ด้วยตัวเองต้องรู้อะไรบ้าง

ตอนที่ 2 Straight Running Modular Belt Conveyor Manual

(คู่มือการออกแบบสายพานโมดูลาร์แบบวิ่งตรงทั้งงานเบา-งานหนัก)

 

ข้อแนะนำ สายพานวิ่งตรงเป็นสายพานยอดฮิต 80-90% เป็นแบบวิ่งตรงทั้งนั้น ขอให้ท่านผู้อ่านดูรูปข้างล่างที่เป็น รูปถ่ายจริงหรือ Drawing ที่บอกรายละเอียดการออกแบบสายพานแบบวิ่งตรง (Straight Running Conveyor) หลังจากดูแล้ว ให้อ่าน ถาม-ตอบ ถัดลงไปที่ขยายความให้ละเอียดยิ่งขึ้น จะได้เข้าใจหลักการและการทำงานและรู้เหตุผลว่าทำไมต้องทำอย่างโน้น อย่างนี้ คอนเวเยอร์ไกด์ หวังอย่างยิ่งว่าเมื่อท่านผู้อ่านได้อ่านเรื่องราวเหล่านี้จบแล้วก็จะเข้าใจเรื่องของคอนเวเยอร์ดีขึ้น 80-90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยต้องคุยกันเป็น Case ไป เป้าหมายของผู้เขียนคือ เมื่อท่านอ่านจบจะสามารถเข้าใจและทำคอนเวเยอร์ออกมาถูกต้องตามหลักการได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจะส่งผลถึง การประหยัดเงินในกระเป๋า ได้ Conveyor ทำงานดีมีประสิทธิภาพ ตลอดจนอายุการใช้งานที่ยืนยาวของ Conveyor ด้วยครับ

สายพานวิ่งตรง Modular Belt Conveyor แบบใช้งานทั่วไป(Light Duty) 

สายพานวิ่งตรง Modular Belt Conveyor แบบใช้งานหนัก (Heavy Duty)

รุ่น HS 502A-HD รับน้ำหนักบรรทุกได้ 1 ตัน ต่อตารางเมตร

 

ถาม สายพานแบบวิ่งตรง (Straight Running Conveyor) ควรมีความยาว (conveyor Length ) มากที่สุดประมาณกี่เมตร

ตอบ พูดยาก ความยาวสูงสุดของคอนเวเยอร์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น แรงเสียดทานในระบบซึ่งขึ้นอยู่กับ ความลื่น-ฝืด ระหว่างสายพานกับที่รองรับ(วัสดุที่สัมผัสกันทำด้วยอะไร มีการหล่อลื่นระบบหรือไม่ฯ) ความเร็ว (Speed) น้ำหนักบรรทุก (Load) รูปร่างของ Product ที่ลำเลียง ชนิดหรือประเภทของสายพาน การบำรุงรักษา และสภาพการขัดสี (Abrasiveness) ของสายพาน (เช่น ถ้า product เป็นกระป๋องโลหะวิ่งบนสายพานพลาสติกย่อมมีการขัดสีสูง และหากสายพานมีการสะสมของ product (Accumulation)  ยิ่งใช้ความเร็วสูงๆจะทำให้ผิวหน้าสายพานสึกหรอเร็วมาก อายุการใช้งานก็จะสั้นเป็นต้น ดังนั้นการออกแบบจึงไม่ควรใช้ความเร็วสูง แต่ต้องมองการใช้งานร่วมด้วย)

ถาม งั้นเอาแบบว่างานทั่วไป สิ่งแวดล้อมปรกติก็แล้วกัน พอจะบอกเป็นตัวเลขกลมๆได้ไหมว่าความยาวของคอนเวเยอร์ (conveyor Length ) ควรมีระยะประมาณเท่าไหร่

 

ตอบ คำแนะนำทั่วไปจากประสบการณ์จริงของกูรู ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสายพานจากหลายค่าย หลายสังกัด สำหรับสายพานแบบวิ่งตรงควรมีความยาวของคอนเวเยอร์ (conveyor Length )อยู่ระหว่าง 12 ถึง 20 เมตร ซึ่งค่านี้ได้มาจากการทำงานจริง และ เป็นค่ากลางๆที่กำหนดขึ้นมาที่ค่อนข้างทำแล้วปลอดภัย ถามว่าความยาวมากกว่า 20 เมตรได้ไหม คำตอบคือได้ แต่ควรต้องมีปัจจัยอื่น ๆอื้อและสนับสนุนด้วยเช่น สายพานต้องเป็นรุ่นที่สามารถรับแรงดึงได้สูงกว่าปรกติก็จะดี มีสิ่งแวดล้อมดี เช่น งานเบา มีแรงเสียดทานน้อยเพราะหล่อลื่นดี มีน้ำหนักบรรทุกน้อย ๆ การขัดสีมีน้อย มีความเร็วไม่สูง การบำรุงรักษาที่ดีเป็นต้น หากเงื่อนไขต่าง ๆไม่เอื้ออำนวย ต้องลดความยาวของสายพานให้น้อยกว่า 20 เมตร เป็นต้น

แนะนำ 12 เมตร เป็นความยาวสูงสุดของสายพาน Modular แบบวิ่งตรง

 

หมายเหตุ ความยาวของคอนเวเยอร์ (conveyor Length )หมายถึงระยะ Center ถึง Center ระหว่าง Drive Shaft และ Tail Shaft

ถาม นอกจากเรื่องความยาวที่กล่าวข้างบนแล้ว การออกแบบความยาวของคอนเวเยอร์ (conveyor Length )ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดอื่นใดบ้างหรือเปล่า แชร์ให้ฟังหน่อย

ตอบ การออกแบบความยาวของสายพาน (conveyor Length )ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถของสายพานในการรับแรงดึงสูงสุด (Maximum Tensile Strength) ของโซ่หรือสายพานอย่างเดียว แม้ว่าการออกแบบให้ระบบสายพานมีแรงดึงต่ำกว่าค่าแรงที่สายพานสามารถรับได้ แต่ในสายพานที่ยาวๆ สายพานอาจจะเกิดปรากฏการณ์ Elastic Surging  กล่าวคือ สายพานบางจังหวะมีการเดินไม่เรียบ สะดุด กระตุก เกิดขึ้นได้ (สาเหตุเนื่องจาก เมื่อ Start เดินเครื่องสายพาน สายพานทั้งเส้นจะไม่เคลื่อนที่ทันที ส่วนใกล้มอเตอร์จะเคลื่อนที่ก่อน ส่วนไกลจะเคลื่อนที่ก็ต่อเมื่อ แรงดึง(Tension) จากมอเตอร์ชนะแรงเสียดทาน (Static Friction)เสียก่อน ขณะที่มอเตอร์ดึงสายพาน  สายพานแต่ละข้อ (Pitch)จะยืดตัวแรงสปริงสะสมในตัวสายพานจะถูกปลดปล่อยออกมา ทำให้สายพานกระตุก ส่งผลให้ Product ที่ลำเลียงไม่เสถียรหรือเสียการทรงตัว) เป็นปัญหาสำหรับระบบที่ต้องการมี stability สูง ปรากฎการณ์นี้มักเกิดขึ้นกับสายพานตรง(Straight Running) ที่มีความยาวตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป หรือสายพานโค้งที่มีความยาวประมาณ 12 เมตร และมักเกิดขึ้นกับสายพานที่มีความเร็วต่ำมากกว่าความเร็วสูง สรุปการออกแบบความยาวของสายพาน (conveyor Length ) ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน

ถาม งั้นจะออกแบบสายพาน Modular ให้มีความเร็วเท่าไหร่ดี เมื่อไหร่เราจะเรียกว่าสายพานมีความเร็วสูง (High Speed Conveyor)

ตอบ ถามให้ตอบยากอีกแล้ว การอกแบบความเร็ว ขึ้นอยู่กับ Capacity ที่ต้องการสอดคล้องกับการทำงานที่หน้างานจริง ไม่มีใครตอบได้ถูกต้อง 100 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ประสบการณ์ของแต่ละคนมากกว่า ถ้าให้ตอบตามที่ผู้เขียนเข้าใจ ถ้าเอาการทำงานของสายพานร่วมกับคนเป็นตัวกำหนดกำหนดความเร็วของสายพาน สายพานที่มีความเร็วประมาณ 20-30 เมตรต่อนาที เป็นความเร็วที่คนสามารถ หยิบ-วาง ของบนสายพานทันเวลาขณะสายพานวิ่ง สายพานที่มีความเร็วมากกว่า 30 เมตรต่อนาทีควรติดตั้ง Soft Start  สายพานที่มีความเร็วมากกว่า 40 เมตรต่อนาที ต้องคิดว่าเป็นสายพานเริ่มมีความเร็วสูงแล้ว ดังนั้นเมื่อออกแบบสายพานที่มีความเร็วสูงต้องพิจารณาให้มีระบบหล่อลื่นให้ดี เช่น ไม่ให้ Wear Strip และสายพานถูกันจนละลายติดกัน  ค่าที่แนะนำสำหรับความเร็วที่สูงสุดสำหรับสายพานโมดูล่าคือ 60 เมตรต่อนาที

ถาม ช่วยแนะนำ layout ของสายพานแบบวิ่งตรงให้ด้วยครับ หารูปมาให้ด้วยยิ่งดี เอาหลายๆแบบจะได้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมหรือความสะดวกของผม

ตอบ ก่อนออกแบบให้ดู แล้วเลือก Lay Out รูปสายพานแบบวิ่งตรง ที่แบ่งประเภท ตามความยาวของสายพาน (Conveyor Length) ที่แสดงข้างล่างนี้

เสนอ Drive Concept  Lay Out อีกรูปแบบที่1

 

1 สายพานขนาดสั้นคือความยาวของคอนเวเยอร์ (Conveyor Length ) น้อยกว่า 2 เมตร 

 

 

Lay out มี Take Up ปรับความยาวของสายพาน

 

Lay out ไม่มี Take Up ปรับความยาวของสายพานแต่ต้องมีระยะ CA ที่ถูกต้อง

 

 

2 สายพานมีขนาดยาวปานกลางคือความยาวของคอนเวเยอร์ (Conveyor Length ) 2 เมตรถึง 4 เมตร

Lay out Conveyor Length ยาว 2 เมตรถึง 4 เมตร

 

3 สายพานยาวมากคือความยาวของคอนเวเยอร์ (conveyor Length ) ยาวมากกว่า 4 เมตร

Lay out Conveyor Length ยาว 2 มากกว่า 4 เมตร

 

 

4. สายพานที่ต้องใช้ Gravity Take up เมื่อความยาวของคอนเวเยอร์ (conveyor Length ) มากกว่า 20 เมตร/ความเร็วสูง (High Speed) หรือมีน้ำหนักบรรทุกมาก(Heavy Load)

 

Lay out Conveyor ยาวมากกว่า 20 เมตร สำหรับสายพานมีพื้นที่จำกัด

ที่ไม่สามารถมีระยะ Catenary Sag เพียงพอต้องใช้ Gravity Take Up ช่วยปรับความยาว

ถาม น้ำหนักบรรทุกมาก(Heavy Load)หรือมีน้ำหนักบรรทุกน้อย(Light Load) ใข้เกณฑ์อะไรบอก

 

ตอบ ลองพิจารณาตามคำแนะนำนี้ครับ

น้ำหนักบรรทุก มาก - น้อย ใช้เกณฑ์ Shaft Load พิจารณา

ถาม การวางตำแหน่งของมอเตอร์ที่เหมาะสม ควรเป็นอย่างไร

 

ตอบ Drive Concept คือการวางตำแหน่งของมอเตอร์ เพื่อให้เกิด Tension ที่น้อยที่สุด ดูตามรูปได้เลย นำหลายๆแบบมาให้ดู เลือกใช้ตามความพอใจ

 

1.สายพานหมุนทางเดียว-วางมอเตอร์ที่ขับหัว(Head Drive)

 

2.สายพานหมุน 2 ทาง-วางมอเตอร์ที่ด้านล่างขับกลาง(Center Drive)

 

3.สายพาน หมุน 2 ทาง-ขับหัว(Head Drive)

 

4.Small Nose Bar ต้องการระยะห่างระหว่าง Conveyor น้อย ๆ- มอเตอร์ขับล่าง

 

 

เสนอ Drive Concept  Lay Out อีกรูปแบบที่2

5.สายพานหมุนทางเดียว-วางมอเตอร์ที่ขับหัว(Head Drive)

(B=500-750 mm.ขึ้นอยู่กับรุ่นของสายพาน) มุมโอบ (Wrap Angle)

ของสายพานประมาณ 140+/-10 องศาหากมุมโอบน้อยไปเฟืองจะไม่มีแรง

ขับสายพานเพียงพอ หากมากไปสายพานจะติดกับเฟืองแม้ว่าจะสายพานจะอยู่ด้าน Return แล้ว 

 

6.สายพานหมุนทางเดียว-มีSnub Pulley - วางมอเตอร์ที่ขับหัว(Head Drive)

(B=500-750 mm.ขึ้นอยู่กับรุ่นของสายพาน)

 

7.สายพานหมุนทางเดียวกรณีพื้นที่จำกัด-วางมอเตอร์ที่ Return

(B=500-750 mm.ขึ้นอยู่กับรุ่นของสายพาน)

 

8.สายพานหมุน 2 ทำงานเบาๆ-วางมอเตอร์ที่ขับหัว(Head Drive)

(B=500-750 mm.ขึ้นอยู่กับรุ่นของสายพาน)

 

9.สายพานหมุน 2 ทางงานหนัก(Heavy Duty)-วางมอเตอร์ที่ด้านล่างขับกลาง(Center Drive)

(B=500-750 mm.ขึ้นอยู่กับรุ่นของสายพาน)

 

ถาม ระยะหย่อนท้องช้างหรือ Catenary Sag(CA/C) มีไว้ทำไม

 

 

ตอบ Catenary Sag คือส่วนของสายพานที่ไม่มีอะไรรองรับด้านล่าง มีหน้าที่ปรับความยาวของสายพาน(ที่ ยืด-หด ตามอุณหภูมิและน้ำหนักบรรทุก(Load) ที่เปลี่ยนไป) ให้มีระยะพอเหมาะที่จะทำให้สายพานและเฟือง ขบ-ปล่อย กันได้อย่างพอดี หากสายพานตึงเกินไปสายพานจะติด ไม่หลุดจากเฟืองแม้พ้นระยะที่ต้องหลุดเฟืองมาแล้วและเป็นการเพิ่ม Load แก่สายพาน อายุการใช้งานของสายพาน เฟืองและ Bearing สั้น หากหย่อนเกินไป สายพานจะกระโดด (Jump) เดินไม่เรียบ   ระยะ Catenary Sag ตาม Lay Out แบบต่าง ๆ รวบรวมข้อมูล มาจากหลายแหล่ง ระยะอาจจะแตกต่างกันบ้างแต่ไม่เป็นนัยยะสำคัญ

 

เสนอ Drive Concept  Lay Out อีกรูปแบบที่ 3

 

 

1.Lay Out มี Wear Strip รองรับสายพานด้าน Return

2.Lay Out สายพานด้าน Return ปล่อยอิสระ ไม่มีอะไรรองรับด้าน Return

 

3.Lay Out สายพานยาวมี Roller รองรับด้าน Return ให้กำหนดตำแหน่งตกท้องช้าง

ที่ E หรือ Fx ส่วนไหนยาวกว่าให้เป็นตำแหน่ง ตกท้องช้าง(Catenary Sag)

 

 

4.Lay Out สายพานแบบ Center Drive- Two Directions มี Roller รองรับด้าน Return

 

5.Lay Out สายพานแบบ Two Directions มี Wear Strip รองรับด้าน Return

ถาม ระยะหย่อนท้องช้างหรือ Catenary Sag(CA/C) ที่ไม่ถูกต้องเป็นอย่างไร

 

ตอบ ต้องไม่ตึงเกินไป หรือหย่อนเกินไป ดูตามรูปข้างล่างได้เลย

ระยะหย่อนท้องช้างหรือ Catenary Sag (CA) ที่ไม่ถูกต้อง ตึงและหย่อนเกินไป

ถาม เทคอัพ (Take Up)ของสายพานแบบตรง ควรมีดีหรือไม่

 

ตอบ สำหรับสายพานสั้นๆ(<2 เมตร) มีก็ได้ ไม่มีก็ได้ เพราะ Screw Take up ที่ใส่ไว้ด้าน Tail (ถ้ามี) ไม่ได้เอาไว้ปรับความตึง แต่เอาไว้ปรับเก็บความยาวของสายพาน ให้เกิดระยะหย่อนท้องช้างให้พอเหมาะกับการทำงานของสายพานที่ดีเท่านั้นเอง ถ้าไม่มี Take Up ก็สามารถตัดบางข้อของสายพานออกได้ กรณีที่สายพานยาวเกินความจำเป็น 

 

 

Lay out แบบมี Screw Take Up สายพานยืดมากเกินไปให้ปรับ Take Up

 

Lay out แบบไม่มี Take Up หากสายพานยืดมากเกินไปให้ตัดข้อสายพานออก

าม Take up มีความจำเป็นจะต้องใช้ในสายพานกรณีไหนบ้าง

 

ตอบ Take up มีความจำเป็นที่จะใช้ในกรณีที่พื้นที่จำกัดไม่สามารถมีพื้นที่สำหรับระยะหย่อนท้องช้างได้เพียงพอ  หรือสายพานมีความยาว (conveyor Length ) มาก (ตั้งแต่ 20 เมตร ขึ้นไปควรจะมี Take Up เพื่อลดปรากฏการณ์ Elastic Surging ) หรือมีน้ำหนักบรรทุก (Load) เมื่อทำงานสายพานจะยืดมาก ระยะเผื่อตกท้องช้างโดยวิธีปรกติ(ไม่มี Take Up)ไม่สามารถเก็บความยาวของสายพานได้เหมาะสม ดังนั้นต้องมี Take up ช่วยปรับความยาวของสายพานให้เหมาะสม แรงดึงหรือน้ำหนักของ Tensioner Weight สัมพันธ์กับระยะของ Pitch สายพาน จากตารางข้างล่างนี้ 

น้ำหนักถ่วงที่แนะนำสำหรับระยะ Pitch ของสายพานต่างๆกัน 

 

พื้นที่จำกัดขับที่หัว (Head Drive) ต้องทำ Take Upใกล้ Head Drive

 

พื้นที่จำกัดขับกลาง (Center Drive) ต้องทำ Take Up ใกล้ Drive

ถาม การขึ้นระยะของโครงสร้าง(Frame Dimensions) ของสายพานโมดูล่าต้องเริ่มต้นยังไงครับ

 

ตอบ ต้องเริ่มต้นที่ต้องรู้ข้อมูลที่จำเป็นเสียก่อน เมื่อซื้อสายพาน ต้องขอเดต้าชีท(Data Sheet) เกี่ยวกับระยะความสัมพันธ์ระหว่างเฟือง(Sprocket)-Wear Strip และสายพาน(Belt)จากผู้ขายครับ Data sheet จะบอกระยะสำคัญๆให้เราทราบ สามารถให้เราขึ้นโครงได้โดยง่ายและถูกต้อง สายพานแต่ละรุ่นมี Data sheet ต่างกัน ดูตัวอย่างข้างล่างนี้เป็นตัวอย่าง Data Sheet ของสายพานรุ่น HS 200 A ของ Hongs’Belt....ครับ

 

 

ถาม ระยะโครงส่วนไหนซึ่งควรให้ความสำคัญหรือเน้นเป็นพิเศษครับ

ตอบ ที่จริงก็สำคัญทั้งนั้นแต่ที่ชอบทำผิดกันบ่อยอยากจะเน้น คือ ระยะ A เป็นระยะจาก Center ของเพลาถึงระดับผิวบน (Top) ของ Wear strip หากขึ้นระยะ Aถูกต้องจะทำให้เฟืองกับสายพาน ขบ-ปล่อยกันได้ดี

ประเด็นสำคัญคือ อย่าให้ระดับฟันของเฟืองสูงกว่าระดับของ Wear Strip ก็แล้วกัน

Chordal Effect ที่มีผลเกี่ยวกับการเลือกวางระดับของ Wear Strip

 

ถาม ระยะความกว้างของโครงสร้าง(Frame) ควรเผื่อสำหรับสายพานขยายตัวเนื่องจากอุณหภูมิเท่าไหร่ดี

 

ตอบ โดยรวมสิ่งแวดล้อมทั่วไปเผื่อสัก 5 มม. (แต่ถ้าอุณหภูมิแตกต่างกันมากต้องคำนวณก่อน) เผื่อว่าเราทำโครงสร้างไม่ตรงและการประกอบสายพานหน้ากว้างมันคลาดเคลื่อนนิดๆหน่อยๆ อาจจะเพิ่มเป็น 7-8 มม.มากกว่าหน้ากว้างของสายพาน ก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร

 

ระยะเผื่อหน้ากว้างของโครงสร้าง(Frame)เทียบกับหน้ากว้างสายพาน

ถาม มีรูปแบบตัวอย่าง การวาง ส่วนรองรับสายพาน (Wear strip Support) ให้ดูบ้างไหมครับ

 

ตอบ รูปแบบการวาง Wear Strip สำหรับสายพานโมดูล่ามีอยู่ 2 แบบคือ แบบขนานใช้สำหรับ สายพานที่มีน้ำหนักบรรทุก(Load) น้อยและ แบบก้างปลาสำหรับ สายพานที่มีน้ำหนักบรรทุก(Load) มาก ๆดูรายละเอียดข้างล่างนี้เลยครับ 

 

ส่วนรองรับสายพาน (Wear strip ) สายพานแบบขนานรับน้ำหนักบรรทุก(Load) น้อย

ทำได้ง่าย สะดวกและรวดเร็วถ้าสายพานยาวมากต้องเว้นระยะของ Wear Strip ทุกๆ 3 เมตร

 

 

ส่วนรองรับสายพาน (Wear strip ) สายพานแบบก้างปลารับน้ำหนักบรรทุก(Load)มาก

 

 

การติดตั้งส่วนรองรับสายพาน (Wear strip ) ที่ดีต้องยื่นปลาย Wear Strip ให้ใกล้

Shaft Center มากที่สุดเพื่อรองรับไม่ให้สายพานแอ่นงอ(Buck)

 

เมื่อลำเลียงของหนักปลาย Wear strip ต้องยื่นให้ใกล้  Shaft Center

มากที่สุดเพื่อไม่ให้สายพานแอ่นงอ(Buck)

 

 

ถาม งานทั่วไปควรใช้ ส่วนรองรับสายพาน (Wear strip ) กี่แถว

 

 

ตอบ ตอบในแง่ภาคปฏิบัติ เอาง่ายๆไม่ได้ผ่านการคำนวณนะครับปกติถ้าเป็นงานทั่วไป

จำนวนแถว Wear Strip = จำนวนของเฟือง + 1

จำนวนเฟือง = Belt Width (มม.) หารด้วย 100 ถึง 150  (แล้วแต่งานหนักหรืองานเบา)

งานเบาหารด้วย 150 งานหนักหารด้วย 100 แต่ถ้าเป็นงานที่รับน้ำหนักบรรทุกมาก ๆ ที่รองรับอาจจะเป็นกระจก แผ่นกระดาน แผ่น Stainless หรือ Roller ก็ได้

ถาม วัสดุที่ใช้ทำ Wear Strip มีอะไรบ้างครับ และเรามีหลักการเลือกใช้วัสดุอย่างนั้นได้อย่างไร

ตอบ วัสดุที่ใช้ทำ Wear Strip มีหลายชนิด การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม แต่ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ HDPE และ UHMWPE เพราะลื่นกว่าวัสดุอย่างอื่น Friction น้อย ราคาไม่แพง ถ้าอุณหภูมิสูงใช้ไนลอน(Polyamide)หรือใช้สแตนเลส ความเหมาะสมของการเลือกใช้ ดูได้จากตารางข้างล่างนี้ครับ

ถาม ช่วยบอกหลักการในการวางเพลาขับ(Drive Shaft) แล้วเพลาตาม(Tail Shaft) และการติดตั้งเฟือง(Sprocket ) ด้วยครับ

ตอบ การติดตั้งเฟือง ให้ล็อคเฟือง(Sprocket ) ตัวกลางทั้งของ Drive Shaft และ Tail Shaft ให้ตรงกัน ส่วนเฟือง(Sprocket )ที่เหลือให้ปล่อยเคลื่อนที่อิสระ (ตามการขยายตัวและหดตัวของสายพานเนื่องจากอุณหภูมิและน้ำหนักบรรทุกที่เปลี่ยนไป ) การติดตั้ง เพลาขับ(Drive Shaft) และเพลาตาม(Tail Shaft) ต้องขนานกัน วิธีการเช็คว่าเพลาขนานกันหรือไม่ให้ดูตามรูปข้างล่างนี้ครับ

สายพานสั้นๆวิธีการเช็คว่าเพลาขนานกันหรือไม่

 

I = I และ d = d

 

หากสายพานยาววิธีการเช็คว่าเพลาขนานกันหรือไม่ กำหนด ค่า a และ b

ตามความเหมาะสม และสำคัญคือ c = c

 

 

เฟืองขับและเฟืองตาม ต้องตรงตำแหน่งและขนานกัน(Inline)

ถาม การออกแบบเพลาที่มีความยาวมาก (กรณีที่สายพานมีหน้ากว้างมาก หรือมีน้ำหนักบรรทุกมาก (Heavy Load))  ต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้างครับ

 

ตอบ ถ้าเพลามีความยาวมาก แรงดึง(Tension) ของสายพานจะทำให้เพลายาว (Long Shaft) โก่ง (Deflection) ตัวสูงมากกว่าเพลาสั้น ถ้าขนาด(Size) ของเพลาไม่ใหญ่พอ หากการโก่งตัวมีสูงกว่าค่าที่กำหนดให้ (ประมาณ 2 มิลลิเมตร) สายพานและเฟืองจะขบ-ปล่อย ไม่ดี สายพาน จะกระโดด เดินไม่เรียบ วิธีแก้ไขคือ ต้องลดการโก่งตัวของเพลาคือเพิ่มจุด Support ด้วยการใส่แบริ่ง (Split Bearing)เข้าไประหว่างเพลานั้น

 

เพลายาวแอ่น(โก่ง)ตัวได้มากเนื่องจากแรงดึงของสายพาน

ใส่ Bearing Support ตรงกลาง เพลาจะแบ่งเป็น 2 ส่วน Moment ดัด

ที่เพลาแต่ละส่วนจะน้อยลงมาก ช่วยลดระยะเพลาแอ่น(โก่ง)ตัว

 

 

ตัวอย่าง การติดตั้ง Bearing  ลดการโก่งตัวของเพลาแบบหนึ่ง

ถาม เราควรมีจำนวนเฟือง (Drive Sprocket) ขับกี่ตัวใน 1 เพลา(Shaft)

 

ตอบ จำนวนเฟืองขับ (Drive Sprocket)ขึ้นอยู่กับหน้ากว้างและน้ำหนักบรรทุกของสายพาน 

          จำนวนแถว Wear Strip = จำนวนของเฟือง + 1

จำนวนเฟือง = Belt Width (มม.) หารด้วย 50 ถึง 80  (งานหนักมาก)

จำนวนเฟือง = Belt Width (มม.) หารด้วย 80 ถึง 100  (งานหนักปานกลาง)

จำนวนเฟือง = Belt Width (มม.) หารด้วย 100 ถึง 120  (งานทั่วไป)

จำนวนเฟือง = Belt Width (มม.) หารด้วย 120 ถึง 150  (งานเบา)

ตัวอย่าง ถ้าพูดตามประสบการณ์สำหรับ Conveyor ทั่วไปรับน้ำหนักบรรทุกน้อย(งานเบา)

              หาร ด้วย 150 งานหนักขึ้นมาหารด้วย 100

                จำนวนเฟือง(Sprocket) ที่น้อยที่สุด = หน้ากว้างของสายพาน(มม.)หารด้วย 100 ถึง 150

 ตัวอย่าง เช่น สมมุติสายพานมีน้ำหนักบรรทุกน้อยมาก ลองหารด้วย 150

·       กรณี 1. หน้ากว้างของสายพานมีค่าเท่ากับ 800 mm หารด้วย 150 จะได้เท่ากับ 5.33 ปัดเป็นจำนวนเต็มเท่ากับ 6 ให้ใช้จำนวนเฟือง 7 ตัว (ถ้าเป็นเลขคู่ให้เพิ่มเป็นเลขคี่ เพื่อจัดให้ยึด(Fix) เฟื่องตรงกลาง 1 ตัวและกระจายออก 2 ด้านเท่าๆกันให้สมดุลข้างละ 3 ตัว)

·       กรณี 2. ถ้าหน้ากว้างของสายพานมีค่าเท่ากับ 900 mm หารด้วย 150 จะได้เท่ากับ 6 ใช้เฟือง 7 ตัวเช่นกัน

·        กรณี 3. หน้ากว้างของสายพานมีค่าเท่ากับ 1000 mm หารด้วย 150 จะได้จำนวเท่ากับ 6.67 ปัดเป็นเลขจำนวนเต็ม 7 ใช้เฟือง 7 ตัวเช่นกัน

·       จะสังเกตว่า

Ø กรณี 1.ดูเหมือนว่ามีเฟืองขับมากเกินไป(Over Drive Sprocket)

Ø *กรณี 2 ดูว่าพอดีๆ

Ø *กรณี 3.เหมือนว่ามีเฟืองขับน้อยเกินไป(Under Drive Sprocket) อาจจะเพิ่มเป็นเฟืองเป็น 9 ตัวทั้งนี้แล้วแต่ผู้ออกแบบจะพิจารณาเห็นสมควร

·       ถ้าโหลดน้ำหนักบรรทุกของสายพานมาก ๆต้องเพิ่มจำนวนเฟืองขับ(Sprocket)ขึ้นไปอีก

·       จำนวนเฟืองในเพลาตาม (Idle Sprocket) สามารถลดจำนวนลงได้ตามขนาดของแรงดึง(Tension) ที่Tail ถ้าไม่อยากจะเสียเวลาคำนวนก็ใช้เท่ากันกับเฟืองขับก็ได้

ถาม วิธีล็อค(Fix)เฟืองขับ(Drive Sprocket) มีกี่แบบอะไรบ้าง

 

ตอบ มีหลายแบบ ขอแนะนำล็อคด้วยอุปกรณ์สำเร็จรูป (Retainer)  เรียกว่า Square Fix(ล็อกเพลาสี่เหลี่ยม) / Round Fix(ล็อคเพลากลม) เพราะติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว ส่วนวิธีล็อคอื่น ๆก็มีอีกหลายแบบทำได้ตามรูปที่แสดงข้างล่างนี้

 

                        

                    Square Fix (ล็อกเพลาสี่เหลี่ยม)                                       Round Fix (ล็อคเพลากลม)

 

                                                                                                                           

 

Square Fix (ล็อกเพลาสี่เหลี่ยม)

 

          

 

                                                                                                                                                                               Bolt Fix                                       Clip Lock Fix

 

 

ถาม การจัดเรียงเฟือง(Sprocket) ในเพลาเดียวกันมีประเด็นอะไรที่ควรต้องรู้บ้างครับ

 

ตอบ การจัดเรียง เฟือง(Sprocket) ให้สังเกตดูว่าต้องเรียงให้ตำแหน่งมาร์ค(Mark)บนตัวจะเฟือง(Sprocket)  ให้เรียงไปในแนวเดียวกันตามรูปดังนี้

 

   

ตำแหน่งมาร์คบนเฟือง(Sprocket)  ให้เรียงไปในแนวเดียวกันลูกศรชี้

ตำแหน่งมาร์คบนเฟือง(Sprocket) ลักษณะอาจจะแตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อ

 

ถาม ความเร็ว(Conveyor Speed) ของสายพานโมดูล่าควรมีมากที่สุดเท่าใด

 

ตอบ แนะนำความเร็วที่สูงสุดสำหรับสายพานโมดูล่าคือ 60 เมตรต่อนาที ถามว่ามากกว่านี้ได้ไหม ตอบว่าทำได้ ส่วนผลที่ตามมาคือ เสียงจะดังขึ้น การสึกหรอเพิ่มขึ้น อายุการใช้งานน้อยลง ทั้งนี้การออกแบบ ความเร็ว(Conveyor Speed) ของสายพาน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเช่น ชนิดวัสดุของสายพานโมดูล่าเป็นยังไง รูปแบบการทำงานเป็นแบบวิ่งตรง แบบวิ่งโค้ง มีการหล่อลื่นไหม สภาพสิ่งแวดล้อมมีการขัดสีสูงหรือเปล่าเป็นต้น ความเร็ว(Conveyor Speed) ของสายพานสัมพันธ์กับความยาวของสายพาน (Conveyor Length)  ตามตารางข้างล่างนี้ครับ

 

 

 

·      จบ...ตอนที่ 2 Straight Running Modular Belt Conveyor Manual

 

สุดท้าย..ปัจจุบันปริมาณข้อมูลมีมากมายมหาศาลล้นเกินแต่ไร้สาระเป็นส่วนมาก...ความยากไม่ได้อยู่ที่การแสวงหาข้อมูล แต่อยู่ที่การวิเคราะห์ความถูกต้องและแก่นสารของข้อมูล การสรุปเนื้อหาให้ง่ายๆ ถูกต้องเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคต้องการอย่างแท้จริง ทว่าข้อมูลที่อยู่ในอินเตอร์เน็ตปัจจุบันเป็นข้อมูลขยะเสียส่วนมาก ข้อมูลส่วนใหญ่พยายามบอกเรื่องที่ตนเองอยากจะพูด ไม่ได้บอกเรื่องที่ผู้บริโภคอยากจะฟัง เช่นผู้บริโภคต้องการข้อมูลที่ดูแล้ว เข้าใจง่าย มีสาระ ถูกต้อง ครบถ้วน แต่ข้อมูลที่มีอยู่คือรูปของตารางและ Specification ไร้คำอธิบายถึงที่ไปที่มา ผู้บริโภคจึงขาดข้อมูลเชิงภาพรวม (Big Picture) ซึ่งเป็นภาพสุดท้ายที่ผู้บริโภคต้องมองเห็นก่อนตัดสินใจ ส่วนรายละเอียดสเปคสินค้ามาสนับสนุนทีหลังได้ หลังจากภาพรวมมองผ่านไปแล้ว และเราบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด(Conveyor Guide Co.,Ltd. ) จะพยายามทำหน้าที่ฉายภาพรวมและภาพรายละเอียดแต่ละชิ้นของส่วนประกอบย่อย ๆของภาพนั้น โดยเราจะแสวงหาข้อมูลอย่างครบถ้วนรอบด้านที่ผู้บริโภคอยากรู้...แต่คนอื่น (ผู้ขายมากราย)ไม่บอกโดยหวังว่าจะเก็บสิ่งที่ผู้บริโภคไม่รู้นี้ไว้ต่อรอง...แต่สำหรับConveyor Guide เรื่องการแบ่งปันความรู้แล้เราจะสร้างประสบการณ์ร่วมใหม่ๆร่วมกับผู้บริโภค...โดยเราจะทำตัวเป็นโทรโข่งตรงข้ามกับคนอื่น...เขาปิด-เราจะเปิด...เขาเงียบ-เราจะตะโกน...เหมือน Motto ที่เราเอ่ยถึงอยู่เสมอๆว่า“Together We Share บอกทุกเรื่องที่คนอื่นไม่อยากให้คุณรู้ เพราะเราถือว่ายิ่งผู้บริโภคมีความรู้มากขึ้นเท่าไหร่ ทุกคนยิ่งจะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นเท่านั้น เนื่องจากเราถือว่าความสำเร็จของผู้บริโภคคือแหล่งที่มารายได้ของเรา ดังนั้นเราจึงมีหน้าที่สร้างความรู้และช่วยเหลือผู้บริโภคอย่างเต็มที่เท่าที่แรงงานและสติปัญญาของเราพึงมี