ตอน 1 สายพานกระโดด
ตอนที่ 1 ทำไมสายพานรูด/กระโดด (Jump)สำหรับสายพานวิ่งตรง แม้ว่าสายพานโมดูล่าร์หรือสายพาน Top chain เป็นสายพาน Generation ใหม่ที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย ทนทาน การบำรุงรักษาน้อย มีปัญหาน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับสายพาน PVC แบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตามเรื่องที่จะไม่มีปัญหาเลยคงเป็นไปไม่ได้ ที่พบเจอกันบ่อยๆก็เป็นปัญหาการออกแบบ กลไกด้านแมคคานิค ซึ่งเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ถ้าเราเข้าใจหลักการการทำงานเบื้องต้นของ Conveyor ว่ามันมีที่มา-ที่ไป ยังไง ต่อคอนเวเยอร์ไกด์ จะนำเสนอและแชร์ ปัญหาที่พบเจออยู่บ่อยๆ สาเหตุ การแก้ไขและผลกระทบที่เกิดขึ้นให้ท่านที่สนใจได้ติดตามและนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ปัญหา ทำไมสายพานรูด/กระโดด (Jump) สาเหตุ 1ระยะตกท้องช้าง (Canary Sag)ไม่ถูกต้อง Catenary Sag คือส่วนของสายพานที่ไม่มีอะไรรองรับด้านล่าง มีหน้าที่ปรับความยาวของสายพาน(ที่ ยืด-หด ตามอุณหภูมิและน้ำหนักบรรทุก(Load) ที่เปลี่ยนไป) ระยะ Catenary Sag พอเหมาะทำให้สายพานและเฟือง ขบ-ปล่อย กันได้อย่างพอดี หากสายพานตึงเกินไปเป็นการเพิ่ม Load แก่สายพาน อายุการใช้งานของสายพาน เฟืองและ Bearing สั้น หากหย่อนเกินไป สายพานจะกระโดด (Jump) เดินไม่เรียบ ระยะ Catenary Sag ตาม Lay Out แบบต่าง ๆ คอนเวเยอร์ไกด์ รวบรวมข้อมูล มาจากหลายแหล่งระยะอาจจะแตกต่างกันบ้างแต่ไม่เป็นนัยยะสำคัญ การแก้ไข ให้ไปดูที่ layout ของสายพาน ปกติแล้วสามารถดูระยะตกท้องช้างได้จาก Deta sheet ของสายพานแต่ละรุ่นแล้วปรับให้ถูกต้อง ผู้ขายอาจส่งสายพานให้ท่านสั้นไปหรือยาวไป ตอนติดตั้งท่านจะต้องเป็นผู้สังเกตว่า ถ้าสายพานยาวไปก็ตัดบางข้อออก ถ้าสั้นไปก็ต้องต่อเพิ่มเข้าไป หรือปรับตำแหน่งของ Return Support ไม่ว่าจะเป็น Roller หรือ Wear Strip ให้ได้ระยะตกท้องช้างที่ถูกต้องพอดี ดังตัวอย่างบางส่วนแสดงตามรูปข้างล่าง
ตัวอย่าง ระยะตกท้องช้าง (Canary Sag) ที่เหมาะสม ถาม ระยะหย่อนท้องช้างหรือ Catenary Sag(CA/C) ที่ไม่ถูกต้องเป็นอย่างไร ตอบ ต้องไม่ตึงเกินไป หรือหย่อนเกินไป ดูตามรูปข้างล่างได้เลย
ระยะหย่อนท้องช้างหรือ Catenary Sag (CA) ที่ไม่ถูกต้อง ตึงและหย่อนเกินไป
· สาเหตุ2 ระยะ A0 จาก จุดกึ่งกลางเพลาถึง Top Wear Strip ไม่ถูกต้อง มักไม่ถูกต้อง ขอData Sheet ระยะ ความสัมพันธ์ ระหว่างเฟือง(Sprocket)-Wear Strip และสายพาน(Belt)จากผู้ขายครับข้อมูลใน Data sheet จะบอกระยะสำคัญๆให้เราทราบ ปรับมีระยะต่าง ๆให้ถูกต้องจะทำให้สายพานและเฟือง ขบ-ปล่อย กันได้อย่างพอดี
ตัวอย่าง ความสัมพันธ์ของระยะ ระหว่างเฟือง(Sprocket)-Wear Strip ที่เหมาะสม การติดตั้งส่วนรองรับสายพาน (Wear strip ) ที่ดีต้องยื่นปลาย Wear Strip ให้ใกล้ Shaft Center มากที่สุดเพื่อรองรับไม่ให้สายพานแอ่นงอ(Buck) · สาเหตุ3 ตำแหน่งของ Sprocket บนเพลา (Shaft) ไม่ตรงกับมาร์ค(Mark) ร่วมกันทั้งแนว
ตำแหน่งมาร์คบนเฟือง(Sprocket) ให้เรียงไปในแนวเดียวกันลูกศรชี้ ตำแหน่งมาร์คบนเฟือง(Sprocket) ลักษณะอาจจะแตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อ
แนวของฟัน Sprocket ไม่เรียงตัวอยู่ในแนวเดียวกัน (In Line)
· สาเหตุ4 มุมโอบ (Wrap Angle) เฟืองน้อยเกินไป ปรกติมุมโอบ (Wrap Angle) ของสายพานและเฟือง มีค่าประมาณ 140 บวกลบ 10 องศา ถ้ามุมโอบ (Wrap Angle) มีมากเกินไปสายพานจะตึงมาก ต้องขยับ ตำแหน่ง Return Support ไม่ว่าจะเป็น Roller หรือ Wear Strip เพื่อให้ได้ระยะตกท้องช้างและมุมโอบตามที่ต้องการพอดี
สายพานหมุนทางเดียว-วางมอเตอร์ที่ขับหัว(Head Drive) (B=500-750 mm.ขึ้นอยู่กับรุ่นของสายพาน) มุมโอบ (Wrap Angle) ของสายพานประมาณ 140+/-10 องศา หากมุมโอบน้อยไปเฟืองจะไม่มีแรงขับสายพาน เพียงพอหากมากไปสายพานจะติดกับเฟืองแม้ว่าจะสายพานจะหมุนอยู่ด้าน Return แล้ว
Lay Out มี Wear Strip รองรับสายพานด้าน Return · สาเหตุ5 เพลาขับและเพลาตามไม่เรียงอยู่ในแนวเดียวกัน การติดตั้ง เพลาขับ(Drive Shaft) และเพลาตาม(Tail Shaft) ต้องขนานกัน วิธีการเช็คว่าเพลาขนานกันหรือไม่ให้ดูตามรูปข้างล่างนี้ครับ
สายพานสั้นๆวิธีการเช็คว่าเพลาขนานกันหรือไม่
หากสายพานยาววิธีการเช็คว่าเพลาขนานกันหรือไม่ กำหนด ค่า a และ b ตามความเหมาะสม และสำคัญคือ c = c
แกนเพลาต้องติดตั้งให้อยู่ในแนวระนาบและตั้งฉากกับโครงสร้าง (Conveyor Frame) การติดตั้งเฟือง ให้ล็อคเฟือง(Sprocket ) ตัวกลางทั้งของ Drive Shaft และ Tail Shaft ให้ตรงกัน ส่วนเฟือง(Sprocket )ที่เหลือให้ปล่อยเคลื่อนที่อิสระ (ตามการขยายตัวและหดตัวของสายพานเนื่องจากอุณหภูมิและน้ำหนักบรรทุกที่เปลี่ยนไป ) · สาเหตุ6 เฟืองขับและสายพาน ขบกันไม่พอดี นอกจากระยะของ ระหว่างเฟือง(Sprocket)-Wear Strip และสายพาน(Belt)ใน Data sheet จะบอกระยะสำคัญๆให้เราทราบสายพาน เฟืองและสายพานบางรุ่น ได้ทำเครื่องหมาย (Mark) ลูกศรกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ไว้ ดังนั้นตอนติดตั้งจะต้องให้ลูกศรทิศทางการเคลื่อนที่ไปทิศอย่างถูกต้อง
สายพาน Top chain มีลูกศร Mark บ่งทิศทางการเคลื่อนที่ของสายพาน
สายพาน Modular และSprocket มีลูกศร Mark บ่งทิศทางการเคลื่อนที่ของสายพาน · สาเหตุ 7 สายพานยืดมากเกินไปหรือมีน้ำหนักบรรทุกมากเกินไป ทำให้สายพานสึกหรออย่างรวดเร็ว เนื่องจากใช้งานมานาน การแก้ไขให้เปลี่ยน Sprocket และสายพานใหม่ รวมทั้งพิจารณาให้เปลี่ยน Wear strip ที่รองรับด้วย ให้เช็คอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวเนื่องที่เป็นสาเหตุที่ทำให้สายพานมีแรงเสียดทานสูง ทำความสะอาดระบบเพื่อลดแรงเสียดทานเป็นต้น · สาเหตุ8 เฟืองขับ(Drive Sprocket) และสายพาน ขบกันไม่พอดีฟันเฟืองของสป๊อกเก็ตสึกหรอทำให้ไม่สามารถขบกับสายพานได้เต็มประสิทธิภาพ การแก้ไขคือเปลี่ยน เฟืองขับ(Drive Sprocket) ใหม่และปลี่ยนสายพานใหม่ทั้งชุด
· จบ...คู่มือการแก้ปัญหา (Troubles Shooting) สายพาน Modular และ Top chain ตอนที่ 1 ทำไมสายพานรูด/กระโดด (Jump)สำหรับสายพานวิ่งตรง
สุดท้าย..ปัจจุบันปริมาณข้อมูลมีมากมายมหาศาลล้นเกินแต่ไร้สาระเป็นส่วนมาก...ความยากไม่ได้อยู่ที่การแสวงหาข้อมูล แต่อยู่ที่การวิเคราะห์ความถูกต้องและแก่นสารของข้อมูล การสรุปเนื้อหาให้ง่ายๆ ถูกต้องเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคต้องการอย่างแท้จริง ทว่าข้อมูลที่อยู่ในอินเตอร์เน็ตปัจจุบันเป็นข้อมูลขยะเสียส่วนมาก ข้อมูลส่วนใหญ่พยายามบอกเรื่องที่ตนเองอยากจะพูด ไม่ได้บอกเรื่องที่ผู้บริโภคอยากจะฟัง เช่นผู้บริโภคต้องการข้อมูลที่ดูแล้ว เข้าใจง่าย มีสาระ ถูกต้อง ครบถ้วน แต่ข้อมูลที่มีอยู่คือรูปของตารางและ Specification ไร้คำอธิบายถึงที่ไปที่มา ผู้บริโภคจึงขาดข้อมูลเชิงภาพรวม (Big Picture) ซึ่งเป็นภาพสุดท้ายที่ผู้บริโภคต้องมองเห็นก่อนตัดสินใจ ส่วนรายละเอียดสเปคสินค้ามาสนับสนุนทีหลังได้ หลังจากภาพรวมมองผ่านไปแล้ว และเราบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด(Conveyor Guide Co.,Ltd. ) จะพยายามทำหน้าที่ฉายภาพรวมและภาพรายละเอียดแต่ละชิ้นของส่วนประกอบย่อย ๆของภาพนั้น โดยเราจะแสวงหาข้อมูลอย่างครบถ้วนรอบด้านที่ผู้บริโภคอยากรู้...แต่คนอื่น (ผู้ขายมากราย)ไม่บอกโดยหวังว่าจะเก็บสิ่งที่ผู้บริโภคไม่รู้นี้ไว้ต่อรอง...แต่สำหรับConveyor Guide เรื่องการแบ่งปันความรู้แล้เราจะสร้างประสบการณ์ร่วมใหม่ๆร่วมกับผู้บริโภค...โดยเราจะทำตัวเป็นโทรโข่งตรงข้ามกับคนอื่น...เขาปิด-เราจะเปิด...เขาเงียบ-เราจะตะโกน...เหมือน Motto ที่เราเอ่ยถึงอยู่เสมอๆว่า“Together We Share บอกทุกเรื่องที่คนอื่นไม่อยากให้คุณรู้” เพราะเราถือว่ายิ่งผู้บริโภคมีความรู้มากขึ้นเท่าไหร่ ทุกคนยิ่งจะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นเท่านั้น เนื่องจากเราถือว่าความสำเร็จของผู้บริโภคคือแหล่งที่มารายได้ของเรา ดังนั้นเราจึงมีหน้าที่สร้างความรู้และช่วยเหลือผู้บริโภคอย่างเต็มที่เท่าที่แรงงานและสติปัญญาของเราพึงมี |