ReadyPlanet.com
dot
Line ID
dot


ตอน 4 การซ่อมหรือต่อสายพานโมดูล่ากับสายพาน

 

สายพานโมดูล่าร์เสียหาย (Damage) ซ่อม (Repair)-ต่อ(Extend)

หรือเปลี่ยนใหม่(Replace)ทั้งเส้นได้ง่ายๆ

อยู่บ้าน...หยุดเชื้อ...เพื่อชาติ

 1.บทนำ ซ่อมสายพานโมดูล่าร์(Modular Belt) VS สายพาน PVC

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่าสายพานโมดูล่าร์(Modular Belt)ถูกออกแบบและสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานการสลิป (Slip) สไลด์(Slide) ของสายพาน PVC  ที่ต้องคอยแก้ไขอยู่ตลอดเวลา สายพานโมดูล่าร์(Modular Belt) นอกจากจะตอบโจทย์เหล่านี้ได้อย่างสมบูรณ์แล้วยังมีความอึดและทนทานกว่าสายพาน PVC เป็นอย่างมาก ผู้เขียนว่าประเมินว่าน่าจะทนกว่า 5-6 เท่า ยกตัวอย่างเช่นถ้าสายพาน PVC ใช้งานได้ 1 ปีสายพานโมดูล่าร์(Modular Belt)ต้องใช้งานได้ 5 ปีขึ้นไป นอกจากนี้แล้วยังมีความสะดวกสบายที่ไม่ต้องการบำรุงรักษาอะไรมากนักนอกจากเช็ด-ปัดฝุ่น ทำความสะอาดธรรมดา

กรณีที่สายพาน ขาด-แตกหัก-เสียหาย ประเด็นของความยาก-ง่าย และการใช้เวลาในซ่อมแซม (Repair)-การต่อให้สายพานยาวขึ้น (Extended length)-การทดแทน (Replace) สายพานเส้นเดิม

·         ถ้าเป็นสายพาน PVC ต้องใช้เครื่องมือและช่างเทคนิคที่มีความรู้เฉพาะด้านทำงาน ถ้าต้องเรียกใช้บริการของ Service Provider จากข้างนอกต้องรอว่าคิวงานว่างหรือเปล่า ก็ยิ่งจะทำให้การเสียเวลารอ การยืนยันการเดินทาง และต้องใช้เครื่องมือและมี Process ที่ต้องใช้ช่างเฉพาะด้านในการทำงาน ดังนั้นต้องใช้เวลาหยุดเครื่องจักรนานมากขึ้น

·         ถ้าเป็นสายพานโมดูล่าร์(Modular Belt) การต่อ-การซ่อม เป็นเรื่องง่ายๆใคร ๆก็ทำได้เหมือนการต่อเลโก้ (Lego) แค่เอาชิ้นส่วนที่เสียหายออก เอาModule ชิ้นใหม่มาเรียงกัน สอดใส่พิน (Pin) เข้าไปในชิ้นโมดูล(Module) ใช้เวลา 5 ถึง 10 นาทีก็เรียบร้อยแล้ว

ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า การต่อ-การซ่อมที่ง่ายๆของสายพานโมดูล่าร์(Modular Belt) ใคร ๆก็ทำได้จึง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ สายพานโมดูล่าร์(Modular Belt) เป็นที่นิยมมากขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆเพื่อทดแทนสายพาน PVC 

2.สาเหตุของปัญหาที่ต้องซ่อมแซม(Repair)-ต่อ(Extend)-การเปลี่ยน(Replace)เส้นใหม่

ถึงแม้ว่าสายพานโมดูล่าร์(Modular Belt)จะสามารถใช้งานได้อย่างทนทานแค่ไหนก็ตาม เมื่อใช้งานมาสักระยะหนึ่งย่อมมีเรื่องที่จะต้องซ่อมแซม(Repair) ส่วนที่สึกหรอ-เปลี่ยน(Replace)ส่วนที่เสียหายหรือต่อ(Extend) สายพานเดิมให้ยาวขึ้น ความเสียหายแตกหักของสายพานโมดูล่าร์(Modular Belt)ที่ คอนเวเยอร์ไกด์ ได้รับข้อมูลจากลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม พบว่าความเสียหายมักเกิดจากสาเหตุประมาณนี้

 

·        60 % เกิดจากของแข็งที่มีน้ำหนักมากตกกระทบ (Impact) กับสายพานโมดูล่าร์(Modular Belt)ร์ทำให้สายพานแตกสายพานจะเสียหายเป็นจุด ๆ (Spot Damage) ความเสียหายจำกัดอยู่ในวงแคบ

       

ตัวอย่างสายพานเดิมที่ใช้งานแล้วที่แตกหักเสียหายจากของแข็งตกกระทบ

 

 

 

 

20% เกิดจากมีสิ่งของบางสิ่งบางอย่างไปขัดสายพานในขณะที่สายพานหมุนสายพานจะสังเกตุเห็นมีร่องรอยการขูดขีดและเสียหายเป็นแนวยาว หากมีเศษวัสดุไปอุดร่องสายพาน

จนทำให้เฟืองและสายพานขบ(Engage) กันไม่ดีอาจจะทำให้เฟืองและสายพานเสียหายได้

 

 

  

ตัวอย่างสายพานที่แตกหักเสียหายจากมีเศษวัสดุไปขวางการทำงานConveyor

 

 

·       10 % มาจากการใช้งานมายาวนาน ผิวสายพานสึกหรอ (Wear) ถึงเวลาเปลี่ยนเส้นใหม่

 

  

ไลน์สายพานลำเลียงขวดแก้วในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มน้ำอัดลมใช้งานมาแล้ว > 10 ปี

 

สภาพผิวสายพานลำเลียงขวดแก้วในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มน้ำอัดลมใช้งานมาแล้ว > 10 ปียังอยู่ในสภาพใช้งานได้

 

 

สภาพผิวสายพานลำเลียงขวดแก้วในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มน้ำอัดลมใน Accumulation Process สึกหรอ (Wear) ใช้งานมาแล้ว >10 ปีจำเป็นต้องยกเส้นเปลี่ยนใหม่

 

 

 

สายพานเทียบสเปคเหมือนกันเป๊ะทดแทนกันได้ 100 %

  

ตัวอย่างสายพานที่แตกหักเสียหายจากการใช้งานที่ยาวนาน

 

 

·       10 % เป็นสาเหตุอื่น ๆ เช่น การออกแบบหรือการประกอบ Conveyor ที่ไม่ถูกต้องเช่นการวางตำแหน่ง wear strip/Sprocket ไม่ถูกต้องทำให้ไปขัดกับสายพานหรือการออกแบบสายพานโค้งโดยไม่คำนึงถึงแรงดึงในส่วนโค้งนอกทำให้สายพานขาดได้การละเลยหรือขาดการบำรุงรักษา สายพานเสียหายได้เช่นกัน

 

   

ตัวอย่างขอบสายพานโค้งที่แตกหักเสียหายจากการออกแบบแรงดึงที่ไม่ถูกต้อง

 

3.ใครคือผู้เล่นขาใหญ่ในวงการนี้

สายพานโมดูล่าร์(Modular Belt)ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาและใช้งานครั้งแรกเมื่อประมาณปี ค.ศ 1973 หรือประมาณ 40 กว่าปีที่ผ่านมาผู้เขียนขอเดาเอาว่าประเทศไทยเราใช้งานสายพานโมดูล่าร์(Modular Belt)ไม่เกิน 20 ปีที่ผ่านมาหรือประมาณปี ค.ศ 2000 สายพานรุ่นแรกๆอาจจะพังไปแล้ว ส่วนสายพานรุ่นถัดมาอาจจะอายุ 10 กว่าปีลงมา ก็ยังสามารถใช้งานได้ แต่ต้องมีบางส่วนที่จะต้อง เปลี่ยน (Replace) หรือซ่อมแซม (Repair) ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่ต้องจัดการเรื่องเหล่านี้ ถามที่ตามมาก็คือ ใครจะเป็นคนทำ จะหาของได้ที่ไหน ราคาเท่าไหร่และคุณภาพเป็นอย่างไร และผู้ใช้งานมีทางเลือกอะไรบ้าง

ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่าธรรมชาติของการค้าขายในวงการนี้ ผู้ผลิตระบบต่าง ๆในโรงงานและผลิตเครื่องจักรรุ่นแรกๆ จะมาจากสหรัฐอเมริกา ยุโรปหรือญี่ปุ่น บริษัทเหล่านี้จะมีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยที่ประเทศไทยยังไม่มี จะได้สัญญา Turn Key การจัดหาและติดตั้งระบบเครื่องจักรในโรงงานทั้งหมดแบบเหมารวม ผู้เขียนขอเรียกผู้จัดหาเครื่องจักรและระบบเหล่านี้รวมๆให้เข้าใจง่ายๆว่า..ขาใหญ่และพวก (ซึ่งประกอบด้วยผู้ผลิตเครื่องจักรและผู้ซัพพลายชิ้นส่วนต่าง ๆของเครื่องจักร ) นอกจากจะขายระบบแล้ว ขาใหญ่และพวก ” ย่อมต้องการที่จะขายอะไหล่เพียงผู้เดียว (ได้กำไรในราคาที่ผู้ซื้อไม่มีทางเลือก) จากการซ่อมแซมและการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วย โดยผู้ผลิตพาร์ทจะขายพาร์ทให้เฉพาะผู้ผลิตเครื่องจักรเท่านั้น ดังนั้นผู้ผลิตเครื่องจักรจะสามารถผูกขาดทั้งการล็อคสเปคของพาร์ทและการตั้งขายราคาขายได้

 หนึ่งในผู้ Supply Part คือ ผู้ผลิตสายพาน (Belt Manufacturer) ดังนั้นเมื่อถึงเวลาต้องเปลี่ยนอะไหล่ ..ขาใหญ่และพวก จะต้องสามารถผูกขาดการ Supply สายพานให้ผู้ใช้งานให้ได้ เรื่องอย่างนี้ ขาใหญ่และพวก ” ต้องมีลูกเล่นแกมบังคับผู้ใช้งานต้องใช้อะไหล่และบริการของเขาเท่านั้น เช่นจะระบุ การรับประกันเครื่องจักรแบบเหมารวมทั้งระบบซึ่งรวมถึงการผูก (Bind) รวมส่วนของสายพานโมดูล่าร์(Modular Belt)และพาร์ทต่าง ๆที่อยู่ในระบบเครื่องจักรนั้นเข้าด้วยกัน เรียกว่าการทำประกันประเภท All in One แปลง่ายๆว่า ซื้อเครื่องจักรฉันก็ต้องใช้สินค้ายี่ห้อของพรรคพวกฉันขายด้วย ถ้าใช้ของยี่ห้ออื่น ฉันจะไม่รับประกันเครื่องจักรให้เธอนะ หรือถ้าเปรียบเทียบให้เข้าใจกันง่ายๆที่เราคุ้นเคยกันมาก่อนก็คือการบังคับซื้อ เหล้าพ่วงเบียร์หรือฝรั่งเรียกว่า “ Love Me Love My Dog” นั่นเอง

4.การซ่อมแซมสายพานโมดูล่าร์(Modular Belt) ผู้ซื้อมีทางเลือกอะไรบ้าง

  เดี๋ยวนี้ ใคร ๆก็สามารถหาซื้อสายพานโมดูล่าร์(Modular Belt) ที่มีคุณภาพเหมาะสมกับการใช้งาน ในราคาที่จับต้องได้คุ้มค่าน่ารัก เป็นคำกล่าวที่ไม่เกินจริงเพราะเมื่อขาใหญ่และพวก ” ขายเหล้าพ่วงเบียร์ในราคาแพง ก็จะเกิดช่องว่างทางกำไรและเกิดความไม่สมดุลในตลาดขึ้น ตลาดก็จะเกิดการปรับตัวโดยจะมีผู้เล่นใหม่ๆเข้ามาสอดแทรกขอส่วนแบ่งการตลาดบ้าง ในส่วนของสายพานโมดูล่าร์(Modular Belt)ก็จะมีผู้ผลิตสินค้าสายพานโมดูล่าร์(Modular Belt) หลากหลายยี่ห้อ หลากหลาย Brand ที่มีทั้งคุณภาพและราคาที่จับต้องได้น่ารักและเป็นมิตรมากกว่า ขึ้นมาให้เป็นทางเลือกของผู้ใช้งาน ส่วนมากก็จะผลิตที่ประเทศจีน ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาคุณภาพดีขึ้นมากจนสามารถจะเป็นตัวเลือกแทนสินค้าที่ผลิตใน อเมริกา ยุโรปหรือญี่ปุ่น ได้สบายๆ เมื่อมีตัวเลือกแล้ว ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของผู้ที่ต้องควักเงินจ่าย เป็นผู้พิจารณาว่า จะซื้อเหล้าพ่วงเบียร์หรือซื้อ แยกเหล้า-แยกเบียร์ อันไหนที่จะทำให้ความคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปมากกว่ากัน ถ้าหากไม่สบายใจเรื่องคุณภาพก็จะสามารถขอเวลารับประกันเพิ่มเติมเท่าที่ผู้ใช้งานจะพอใจได้ เพื่อที่จะเข้าใจและมีข้อมูลในการพิจารณาผู้จ่ายเงินต้องอ่านข้างล่างนี้ด้วยครับ

4.1 การซ่อมเฉพาะจุด (Spot Repair) สายพานเดิม หมายถึง การถอดชิ้นส่วน (Module) บางส่วนที่แตกหักเสียหายเฉพาะจุดทิ้งไปแล้วเอาชิ้นส่วน(Module)ใหม่ที่ดีเข้าไปทดแทน มีทางเลือกอยู่ 2 ทาง

·       ใช้สายพานยี่ห้อเดิม ให้ติดต่อกับผู้สร้างเครื่องจักรหรือผู้ผลิตคอนเวเยอร์หรือผู้แทนจำหน่ายสายพานยี่ห้อรายนั้น ๆ

o   ข้อดี คือได้ของที่เหมือนเดิมคุณภาพเหมือนเดิมเท่าเดิม(ดี-เลว เท่าเดิม)

o   ข้อเสีย บางครั้งหา supplier เดิมได้ยากและการส่งมอบใช้เวลานาน และราคาอาจจะไม่เป็นมิตรกับผู้จ่ายเงินโดยเฉพาะถ้าเป็นสายพานที่ผลิตจากยุโรป อเมริกาหรือญี่ปุ่น

·       ใช้สายพานเทียบรุ่นยี่ห้อใหม่ ถ้าไม่สามารถหายี่ห้อเดิมได้เพราะสายพานใช้งานมานานมากแล้วไม่ได้เก้บข้อมูล ไม่มี Specification ก็มีทางเลือก คือสามารถติดต่อผู้แทนจำหน่ายสายพานโมดูล่าร์(Modular Belt) ทั่วไปหาของเทียบมาใช้ ปัจจุบันมีผู้ผลิตสายพานเทียบหลากหลายยี่ห้อ หลากหลาย Brand ที่มีSpecification เหมือนกัน เข้ากันได้ 100% ก็มีหลายรุ่น คุณภาพและราคาจับต้องได้น่ารักและเป็นมิตรมากกว่าให้เลือก

o   ข้อดี คือได้ได้สินค้ารวดเร็วลด Down Time ถ้าใช้ทดแทนสายพานที่มาจากสหรัฐอเมริกา ยุโรปหรือญี่ปุ่น ราคาจะถูกลงมาก

o   ข้อเสีย อาจจะมีความไม่สบายใจในด้านคุณภาพ เพราะไม่เคยใช้งานมาก่อน (สามารถแก้ไขได้โดย การขอทดลองใช้หรือการขอเวลารับประกันเท่าที่ผู้ใช้งานต้องการ)

4.2.การต่อ(Extend) สายพานเดิมให้ยาวขึ้นหรือเปลี่ยน(Replace)สายพานเป็นเส้นใหม่ทั้งเส้น หมายถึงการประกอบสายพานใหม่(ที่โรงงานผู้ผลิตสายพาน)ทั้งผืนตามหน้ากว้างที่ลูกค้าแจ้งมา แล้วเอาไปต่อ(Extend(ที่หน้างาน)ให้ Conveyor มีความยาวเพิ่มขึ้น) หรือเปลี่ยน (Replace) สายพานเดิมทั้งเส้น

·       เอาไปต่อกับ (Extend)สายพานเดิมให้ยาวขึ้น โดยมีหน้ากว้างเท่ากันให้ติดต่อผู้ขายสายพานโมดูล่าร์(Modular Belt) โดยผู้ซื้อต้องแจ้งหน้ากว้างและ Pattern และระยะการต่อสายพานแต่ละ Module (ตามรูปข้างล่าง) ให้ผู้ขาย ด้วยเหตุผลที่ว่าการต่อสายพานโมดูล่าร์(Modular Belt)ที่ถูกต้องตามหลักการ จะต้องต่อให้โมดูลในแต่ละแถวเยื้องและสลับกัน ลักษณะคล้ายๆกับการก่ออิฐรั้วกำแพง ไม่ให้รอยต่อ (ซึ่งเป็นจุดอ่อนของสายพาน) อยู่ในแนวเดียวกัน เพราะฉะนั้นหากผู้ขายรายไหนจ้ำจี้จ้ำไช สอบถามรายละเอียดลงลึกขนาดนี้ แสดงว่าเขาใส่ใจและรู้จริง ผู้ซื้อก็พอจะคาดหวังได้ว่าจะได้รับสินค้าที่มีฝีมือการทำงานที่ถูกต้องด้วยครับ

 

  

ตัวอย่าง Pattern การต่อสายพานที่ลูกค้าต้องแจ้งระยะให้ผู้ขายทราบ

·       ถอดสายพานเดิมและ Sprocket ทิ้งไปเปลี่ยน(Replace)เป็น Sprocket ใหม่และสายพานเส้นใหม่ทั้งเส้น สามารถเลือกใช้สายพานที่เทียบสเปคตรงกันหรือใช้สายพานที่มีสเปคใกล้เคียงกันได้

Ø ในท้องตลาดขณะนี้หากผู้ซื้อสามารถระบุ สเปค ยี่ห้อ รุ่นสายพานเดิมได้ จะสามารถหาสายพานเทียบรุ่นได้ง่าย ถ้าเป็นสายพานและSprocketที่เทียบรุ่นแล้วตรงกันได้ 100% อย่างนี้ง่าย ยกของเก่าออกเอาของใหม่ใส่แทนทั้งดุ้นได้เลย แจ้งสเปคของสายพานเดิม หน้ากว้าง-ความยาว เดี๋ยวผู้ขายจะจัดสายพานเทียบรุ่นที่เหมาะสมให้เอง

Ø แต่ถ้าเทียบรุ่นได้ใกล้เคียงไม่ตรงรุ่นเดิม 100 % ก็อย่าเพิ่งเสียกำลังใจ ยังไงก็สามารถทดแทนได้ ใช้งานได้เหมือนกัน อาจจะต้องโมดิฟายโครงบ้างเล็กน้อยเช่น เช่น ได้สายพานรุ่นที่มีความหนาต่างกันเล็กน้อยหรือSprocket ที่ Pitch Diameter ต่างกันเล็กน้อยก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพียงแค่ขยับปรับตำแหน่ง Bearing ขึ้น-ลง ให้สายพานใหม่ได้ระดับผิวบนสุด ใกล้เคียงสายพานเดิม อย่างนี้ก็ปิดงานได้เช่นกัน

 

ตัวอย่างสายพานที่เสียหายมากต้องเปลี่ยนใหม่ (Replace)ทั้งเส้น

5.ใครคือผู้จัดหา Spare Parts

 ผู้ จัดหา Spare Parts มี 2 พวกคือ

·       ฝ่ายจัดซื้อของ End-User รายใหญ่ เรียกว่าเป็นผู้ใช้งานรุ่น Heavy Weight ประเภท ช้างสาร กระทิงเปลี่ยว สิงโตคำราม หรือบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ขายน้ำดำ น้ำแดง บริษัทเหล่านี้ เป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เงินล้นเก๊ เผาทิ้งบางส่วนก็ยังเหลืออีกหลายส่วน มีอำนาจการต่อรองที่แข็งแกร่ง สูงเทียมฟ้า เสียงดัง ไม่มีใครเอาเปรียบเขาได้

·       ผู้ใช้งานรายกลาง-เล็กเป็นผู้ใช้งาน รุ่น Straw Weight เป็น SME (Machine Maker  /Maintenance Provider/Trader etc.) ส่วนมากต้องการเอาไปปขายต่อ-ซ่อมให้ End Userอีกทอดหนึ่ง คุณสมบัติประจำตัวของรายเล็กเหล่านี้คือ ผอมแห้ง แรงน้อย กระเป๋าแฟบ มองลูกค้าเป็นพระเจ้าไม่อยากสบตาไม่กล้าขึ้นเสียง กำลังต่อรองน้อยนิด ต้องการของถูก เครดิตยาว ขยันหาข้อมูล ยกตัวอย่างนักสู้เหล่านี้ได้แก่ ช่างฝีมือที่มีอาชีพซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรที่หากินอยู่กับโรงงาน หรือ ผู้ผลิตเครื่องจักร(รายกลางถึงรายเล็ก)ที่ผลิตเครื่องจักรป้อนโรงงาน End-User รายใหญ่ หรือ Trader ทั่วไป SME หรือ Street Fighter เหล่านี้เป็นแหล่งจ้างงานขนาดใหญ่นอกจากจะได้กำไรจากค่าแรงและค่าบริการแล้ว เขาควรจะได้กำไร On Top บนค่าสายพานหรือบนค่าอะไหล่ที่เขานำไปเปลี่ยนด้วยเพื่อให้เขามีชีวิตอยู่ได้ SME เหล่านี้เป็นพวกสายป่านสั้นที่ต้องส่งเสริมและให้ความสำคัญ หากได้อ่านบทความของเรานี้แล้วก็อาจจะนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้มาก

5.ต้องแจ้งอะไรบ้างเมื่อต้องการซ่อมหรือเปลี่ยนสายพานโมดูล่าร์(Modular Belt)

1. ยี่ห้อแบรนด์ (Brand) ของสายพานเดิม หรือส่ง Data Sheet ของสายพานรุ่นเดิมมาเพื่อที่จะเทียบรุ่นสายพานใหม่ให้เข้ากันได้หรือใกล้เคียงมากที่สุด

ตัวอย่างให้สังเกตุ Brand (ยี่ห้อ) สายพานที่ขอบหรือที่ท้องสายพาน

·        2 .Specification ของสายพาน ประกอบด้วย หน้ากว้าง-ความยาวและปริมาณที่ต้องการ

·       3. ขนาด Pitch Diameter และจำนวนฟันของ Sprocket (กรณีเปลี่ยนสายพานพร้อม Sprocket)

 

6.สรุปคำแนะนำง่ายๆสำหรับการต่อหรือการซ่อมสายพานโมดูล่าร์(Modular Belt)

  

ตัวอย่างสายพานเดิมที่แตกหักเสียหายต้องซ่อมเป็นจุด ๆ (Spot Repair)

1.การซ่อม (Repair)สายพานเดิม หมายถึง การถอดชิ้นส่วน (Module) บางส่วนที่แตกหักเสียหายทิ้งไปแล้วเอาชิ้นส่วน(Module)ใหม่ที่ดีเข้าไปทดแทน

·       คำแนะนำ

 

ถ้าปริมาณชิ้นส่วน(Module) ที่ซ่อมมีจำนวนไม่มาก จะเป็นการสะดวกหากลูกค้ารับสินค้าเป็นชิ้นส่วน(Module) แล้วนำไปซ่อม เองจะทำได้ง่ายและระยะไม่ผิดพลาด การต่อสายพานเป็นผืนเต็มหน้ากว้าง(ที่โรงงาน)แล้วเอาไปซ่อมที่หน้างาน มีโอกาสผิดพลาดจากความคลาดเคลื่อนของระยะหน้ากว้างสายพานได้ง่าย

 

 

ตัวอย่างชิ้นส่วน(Module)รุ่นต่าง ๆ

 

ตัวอย่างชิ้นส่วน(Module)ใคร ๆก็สามารถนำไปซ่อมสายพานเดิมได้ง่าย

 

 

2. การต่อสายพานเดิม หมายถึงการประกอบสายพานใหม่(ที่โรงงาน)ทั้งผืนตามหน้ากว้างลูกค้าแจ้งมา แล้วเอาไปต่อกับสายพานเดิม(ที่หน้างาน)

สายพานเส้นใหม่ต้องต่อให้มีหน้ากว้างและระยะ Pattern เหมือนเดิมที่แตกหักเสียหาย

·       คำแนะนำ

 

เพื่อให้แน่ใจว่าสายพานใหม่(ต่อที่โรงงาน)และสายพานเดิม(ที่หน้างาน)จะสามารถต่อกันโดยไม่เกิดปัญหาตามมา หน้ากว้างของสายพานทั้งสองต้องมีรูปแบบแพทเทิร์น(Pattern Style )การต่อที่เหมือนกัน ดังนั้นลูกค้าต้องแจ้งระยะการต่อสายพาน (ที่หน้างาน)ของแต่ละชิ้นส่วน(Module)และหน้ากว้างของสายพานมาให้ผู้ขายอย่างน้อย 2 แถวตามรูปดังนี้

 

Pattern การต่อสายพานที่ลูกค้าต้องแจ้งระยะมา

 

7.Infographic สรุปคำแนะนำง่ายๆสำหรับการต่อหรือการซ่อมสายพานโมดูล่าร์(Modular Belt)

 

 

จบสายพานโมดูล่าร์(Modular Belt) เสียหาย (Damage) ซ่อม (Repair) ได้

 

 

สุดท้าย..ปัจจุบันปริมาณข้อมูลมีมากมายมหาศาลล้นเกินแต่ไร้สาระเป็นส่วนมาก...ความยากไม่ได้อยู่ที่การแสวงหาข้อมูล แต่อยู่ที่การวิเคราะห์ความถูกต้องและแก่นสารของข้อมูล การสรุปเนื้อหาให้ง่ายๆ ถูกต้องเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคต้องการอย่างแท้จริง ทว่าข้อมูลที่อยู่ในอินเตอร์เน็ตปัจจุบันเป็นข้อมูลขยะเสียส่วนมาก ข้อมูลส่วนใหญ่พยายามบอกเรื่องที่ตนเองอยากจะพูด ไม่ได้บอกเรื่องที่ผู้บริโภคอยากจะฟัง เช่นผู้บริโภคต้องการข้อมูลที่ดูแล้ว เข้าใจง่าย มีสาระ ถูกต้อง ครบถ้วน แต่ข้อมูลที่มีอยู่คือรูปของตารางและ Specification ไร้คำอธิบายถึงที่ไปที่มา ผู้บริโภคจึงขาดข้อมูลเชิงภาพรวม (Big Picture) ซึ่งเป็นภาพสุดท้ายที่ผู้บริโภคต้องมองเห็นก่อนตัดสินใจ ส่วนรายละเอียดสเปคสินค้ามาสนับสนุนทีหลังได้ หลังจากภาพรวมมองผ่านไปแล้ว และเราบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด(Conveyor Guide Co.,Ltd. ) จะพยายามทำหน้าที่ฉายภาพรวมและภาพรายละเอียดแต่ละชิ้นของส่วนประกอบย่อย ๆของภาพนั้น โดยเราจะแสวงหาข้อมูลอย่างครบถ้วนรอบด้านที่ผู้บริโภคอยากรู้...แต่คนอื่น (ผู้ขายมากราย)ไม่บอกโดยหวังว่าจะเก็บสิ่งที่ผู้บริโภคไม่รู้นี้ไว้ต่อรอง...แต่สำหรับConveyor Guide เรื่องการแบ่งปันความรู้แล้เราจะสร้างประสบการณ์ร่วมใหม่ๆร่วมกับผู้บริโภค...โดยเราจะทำตัวเป็นโทรโข่งตรงข้ามกับคนอื่น...เขาปิด-เราจะเปิด...เขาเงียบ-เราจะตะโกน...เหมือน Motto ที่เราเอ่ยถึงอยู่เสมอๆว่า“Together We Share บอกทุกเรื่องที่คนอื่นไม่อยากให้คุณรู้ เพราะเราถือว่ายิ่งผู้บริโภคมีความรู้มากขึ้นเท่าไหร่ ทุกคนยิ่งจะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นเท่านั้น เนื่องจากเราถือว่าความสำเร็จของผู้บริโภคคือแหล่งที่มารายได้ของเรา ดังนั้นเราจึงมีหน้าที่สร้างความรู้และช่วยเหลือผู้บริโภคอย่างเต็มที่เท่าที่แรงงานและสติปัญญาของเราพึงมี