11. Pulley Shaft Diameter บทความนี้ Conveyor Guide อยากทำอะไรที่ทำให้ท่านผู้อ่านที่ติดตามผลงานของเราได้ประโยชน์ มีความสะดวกในการทำงาน ประหยัดเวลา เราจึงเสาะแสวงหาสิ่งจะช่วยให้ชีวิตของผู้อ่านมีความสบายๆ แต่ยังคงไว้ซึ่งความถูกต้องตามหลักวิชาการเช่นเดิม วันนี้จะเป็นเรื่องของการการออกแบบหาขนาดของเพลา (Shaft Diameter) สำหรับมู่เล่ย์ ( Pulley )แบบง่ายๆ ในระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor )หรือกระพ้อลำเลียง (Bucket Belt Conveyor ) โดยปกติแล้วการหาขนาดของเพลา (Shaft Diameter) ก็จะคำนวณจาก ความสามารถในการรับความเค้น(Stress) การแอ่นตัว(Deflection) และแรงบิด(Torque) ที่กระทำต่อวัสดุที่ใช้ทำเพลา วิศวกรหลายท่านก็คงจะใช้สูตรทฤษฎีต่างๆคำนวณกันจนชำนาญอยู่แล้ว ทำกันมากๆ ซ้ำๆจนในบางครั้งก็สามารถคาดเดาขนาดของเพลาได้เลยแต่ความยุ่งยากระหว่างการคำนวณก็คือ ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการคำนวณขนาดของเพลา (Shaft Diameter) ของPulleysแต่ละลูก เพราะในแต่ละสูตรที่มีการใช้ในปัจจุบันนั้น ประกอบด้วย Parameter หลายตัว (หากเป็น CEMA Standard แล้วละก็เรื่องยาวเลยครับ) ต้องกดเครื่องคิดเลขแบบมึนกันไปเลยทีเดียวกว่าจะได้ขนาดของเพลา (Shaft Diameter) ในแต่ละลูก Conveyor Guide เองแรกๆก็ประสบปัญหานี้ด้วยเช่นกันจึงได้พยายามหาตัวช่วยให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น เมื่อเราหาได้แล้วก็ต้องเอามาบอกต่อให้คนในวงการเดียวกันได้รับประโยชน์ไปด้วย โดย Conveyor Guide ได้ทำตารางสำหรับเลือกขนาดของเพลา (Shaft Diameter) แบบดูง่ายๆเพื่อให้การออกแบบมีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น หรือในบางครั้งก็สามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อตรวจสอบ(Recheck ) การคำนวน อีกครั้งเพื่อความมั่นใจก็ได้ โดย Conveyor Guideได้อิงจากมาตรฐาน SABS (South Africa Standard) เป็นหลัก จากประสบการณ์แล้วตารางนี้จะช่วยให้การออกแบบ เขียนแบบ รวมถึงการประเมินราคารวดเร็วขึ้นมากครับ ผู้อ่านหรือผู้ออกแบบสามารถนำไปพิจารณาเลือกใช้ได้ตามสะดวกตามตารางด้านล่างนี้เลยครับ
จากตารางข้างต้นจะเห็นว่าขนาดของเพลา (Shaft Diameter) จะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือในส่วนของขนาดเพลาโตสุด (Shaft DIA.d) และขนาดของ Shaft บริเวณที่ยึดกับ Bearing (Bearing DIA.d1, ตำแหน่ง E ตามรูปด่านล่าง) ซึ่งก็จะทำให้สามารถเลือกขนาดเพลา (เหล็กดิบ) และเลือกขนาดของ Bearing ได้ทันที คราวนี้เห็นภาพแล้วใช่ไหมครับว่ามันสะดวกและรวดเร็วขนาดไหน
การเลือกขนาดของเพลา (Shaft Diameter)นั้นจะขึ้นอยู่กับหน้ากว้างของสายพาน(Belt Width) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของมู่เล่ย์ (Pulley Diameter ชนิดของสายพาน (Belt Type) และลักษณะการลำเลียง (งานหนักมาก/หนักปานกลาง/งานเบา) ซึ่งสามารถดูค่าต่างๆได้จากตารางด้านบน ท่านผู้อ่านหลายท่านอ่านแล้วก็คงมีคำถามว่า “แล้วจะรู้ไดอย่างไรว่าการลำเลียงนัันเป็นงานหนักมาก หนักปานกลางหรืองานเบา” ก็สามารถดูได้จาก Maximum Shaft Loadsหรือแรงที่กระทำกับเพลาพูเลย์ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ งานหนักมาก (Heavy Duty) 100% Maximum Shaft Load หนักปานกลาง (Medium Duty) 60% Maximum Shaft Load งานเบา (Light Duty) 30% Maximum Shaft Load
ตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นลองดูตัวอย่างกันครับ สายพานหน้ากว้าง 1050 mm.Pulley Dia.630 ยินดีแชร์กันทุกแง่มุม ตั้งแต่ การออกแบบ การผลิต การเลือก การเก็บรักษา การบำรุงรักษา การซ่อมแซม การต่อ การใช้งาน การ Modify ปัญหาด้านเทคนิค Application การใช้งานที่ไม่ปรกติ อะไรที่แปลกๆ ถามที่เราได้เลยครับ มีของเท่าไหร่ปล่อยหมด ไม่มีกั๊ก ไม่มีดึง ไม่มีเม้ม “ บอกทุกสิ่งที่คนอื่นไม่อยากให้คุณรู้ ”
|