
>> 6.4) Modular Surface Type Modular Belt Surface Type สายพาน Modular Belt ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานกับการลำเลียงวัสดุได้หลายหลายชนิด โดยขึ้นอยู่กับ วัสดุในการลำเลียง ลักษณะการใช้งาน มุมเอียงของการลำเลียง แนวการวิ่งของสายพาน ของการลำเลียงนั้นๆ ซึ่งจะมีการเลือกใช้ผิวหน้าของสายพาน Modular Belt ที่แตกต่างกันออกไป Conveyor Guide ขอแนะนำรูปแบบผิวหน้าของสายพาน Modular Belt เพื่อที่จะพอมี Idea ในการเลือกใช้กันครับ ผิวหน้าของสายพาน Modular นั้นมีมากมายหลายรูปแบบแล้วแต่ผู้ผลิตนั้นๆแต่รูปแบบผิวหน้าที่ใช้งานหลักๆ 6 รูปแบบดังนี้ Ø Flat Top Ø Perforated Flat Top Ø Flush Grid Ø Raised Rib Ø Grip Top Ø Roller Top 1) Flat Top ลักษณะจะเป็นพื้นผิวแบบปิด (Open Area 0%) สามารถใช้ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม Flat Top Surface 2) Perforated Flat Top ลักษณะโดยรวมก็จะเหมือนกับ Flat Top แต่จะมีรูหรือร่อง Slotเพื่อช่วยในการ Drain ของเหลว Perforate Flat Top Surface 3) Flush Grid ออกแบบมาเพื่อการระบายน้ำและอากาศสามารถไหลผ่านได้ดีโดยปกติแล้ว Flush Grid จะมีพื้นที่เปิดมากกว่า 20% ของพื้นที่ผิวหน้า โดยส่วนมากจะใช้ใน Line การล้างทำความสะอาดวัสดุลำเลียง การทำให้เย็น (Cooling) การฉีดแยกสิ่งสกปรกออกจากวัสดุเป็นต้น Flush Grid Surface 4) Raised Rip ลักษณะเป็นสันบางๆยกขึ้นตามแนวยาวของสายพานจึงทำให้มีลักษณะเป็นร่อง Slot ตามแนวยาวของสายพานในบางรุ่นจึงสามารถใส่ Finger Plate เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสายพานได้ดี Raised Ripจะทำให้วัสดุลำเลียงมีความมั่นคง (Stable) นิยมใช้ในการลำเลียง ขวดหรือกระป๋อง Raised Rip Surface 5) Grip Top (Rubber on Top) คือการนำยางนำมาติดไว้ที่ผิวของสายพานทั้งแบบ Flat Top และ Flush Grid เพื่อวัตถุประสงค์ในการลำเลียงวัสดุขึ้นในแนวชันหรือเพื่อป้องกันการลื่นไถลของวัสดุในขณะลำเลียง Grip Top บน Flat Top Surface Grip Top บน Flush Grid Surface 6) Roller Top (Roller on Top) Modular Belt ชนิดนี้จะมีลูกกลิ้ง (Roller) อยู่ด้านบนของสายพาน ส่วนมากสายพานประเภทนี้จะอยู่ใน คลังสินค้า (Warehouse) เพื่อวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพิ่ม/ลด หรือ Storage วัสดุลำเลียง 2) ช่วยจ่ายวัสดุออกด้านข้าง Roller on Top ในตอนต่อไป Conveyor Guide จะขอแนะนำลักษณะของ Surface กับวัสดุลำเลียงชนิดต่างๆในบทความต่อไป |