ReadyPlanet.com
dot
Line ID
dot


1) ขารองรับลูกกลิ้งทำไมต้องมาตรฐาน

ท่ามกลางบรรยากาศที่หลายๆคนดีใจที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพฟุตซอลโลก (ฟุตซอลนะครับไม่ใช่ฟุตบอล) แต่ผมเชื่อว่าหลายท่านก็คงยังไม่ทราบ เอาเป็นว่าอย่าลืมไปช่วยกันชมช่วยกันเชียร์ให้มันครึกครื้นกันหน่อยนะครับพี่น้องชาวไทย

    -  เอาละเดี๋ยวจะหลงประเด็นไปกันใหญ่ก่อนที่จะคิดว่า Conveyor Guide เป็นผู้สื่อข่าวกีฬาไปซะก่อน วันนี้ Conveyor Guide มีเรื่องราวเกี่ยวกับ Bracket,ขาลูกกลิ้ง, ขารองรับลูกกลิ้ง, Carry Roller Bracket, Carry Bracket หรือ “ เขาควาย” ที่ช่างในบางครั้งเรียกกันเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ เอาเป็นว่าเพื่อให้เป็นที่เข้าใจตรงกันผมขอเรียกว่า ขารองรับลูกกลิ้ง (Bracket) ก็แล้วกันนะครับโดย ขารองรับลูกกลิ้ง (Bracket) จะมีรูปร่างหน้าดังรูปต่อไปนี้ครับ

 

     

ขารองรับลูกกลิ้งด้านบน (Carry Roller Bracket)

 

ขารองรับลูกกลิ้งด้านล่าง (Return Roller Bracket)

 

    -  รูปร่างลักษณะทั่วไปของ ขารองรับลูกกลิ้ง (Bracket) ก็จะเป็นดังรูปด้านบนทั้งสองรูปแต่จะลักษณะบางประการที่แตกต่างกันไปตามแต่ละดีไซน์ของแต่ละบริษัท ในบทความนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับมาตรฐาน ( Standard ) ของชุดขารองรับลูกกลิ้งเพื่อที่จะเป็นประโยชน์ในการออกแบบอ้างอิงระยะต่างๆในระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) ครับเพราะ Standard ของชุดขาลูกกลิ้งนั้นจะส่งผลถึงระยะความกว้างของ Stringer หรือ Main Frame รวมถึงตำแหน่งการติดตั้งพุลลี ( Pulley ) ของระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System)

    -  จากประสบการของ Conveyor Guide พบว่าการออกแบบขารองรับลูกกลิ้งโดยทั่วไปในประเทศไทยนั้น โดยมากจะออกแบบตามความสะดวกเหมาะสมของแต่ละท่านหรือแต่ละบริษัทเป็นหลักดังนั้นจึงทำให้ปัจจุบันขารองรับลูกกลิ้ง (Bracket) ในประเทศไทยไม่มี Standard ที่แน่นอน มีลูกค้าสั่งทำขาลูกกลิ้งทีไร Conveyor Guide ก็ต้องออกแบบและทำ JIG ในการผลิตใหม่เป็นประจำ  ซึ่งจะทำให้งานล่าช้าโดยไม่จำเป็นครับ

 

หมายเหตุ

Ø มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานของ Roller และ Bracket ที่ใช้ในงาน ในระดับ Medium – Heavy Duty

Ø บทความของ Conveyor Guide ได้อ้างอิง Standard จาก SABS (South Africa Standard ) และ DIN (Germany Standard)

Ø ระยะตำแหน่งต่างๆอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้บ้างเพื่อให้ง่ายต่อการผลิต

มาตรฐานของทั้งชุดขารองรับลูกกลิ้งและลูกกลิ้ง (Roller) ท่านผู้อ่านสามารถติดตามอ่านได้จากบทความ Roller & Bracket Standardในบทความถัดไปครับ

 

 




8. Roller Bracket

2) Bracket Design Standard
3) รูปแบบการวางลูกกลิ้ง
4) คุณทำสายพานเองได้
5) Conveyor Case Information