ReadyPlanet.com
dot
Line ID
dot


2) Bracket Design Standard

Roller Distance Standard

Roller & Bracket Standard Distance ในที่นี้จะกล่าวถึงความสัมพันธ์กันระหว่าง Roller และ Bracket และระยะต่างๆที่สำคัญในการออกแบบ

      Ø Roller Distance & Dimension

 

 

จากรูปด้านบนจะแสดงให้เห็นถึงส่วนประกอบและระยะต่างๆที่สำคัญในลูกกลิ้งของระบบสายพานลำเลียง

     Ø Spindle Type (รูปแบบของปลายเพลาลูกกลิ้ง)

Spindle Type (รูปแบบของปลายเพลาลูกกลิ้ง) หรือร่อง Key Wey ในระบบสายพานลำเลียงที่ใช้กันจะมีอยู่สองรูปแบบด้วยกันคือ

 

1. Close End Type สามารถแบ่งได้อีกสองรูปแบบคือ

      Close End

     Extended Close End

 

 

Close End Type มีลักษณะของร่อง Key ตามรูปด้านบน รูปแบบ Close End Type เมื่อประกอบเข้ากับBracket จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับชุด Bracket และมีความมั่งคงสูง การผลิตต้องมีความแม่นยำกว่าแบบOpen End Type

 

2) Open End Type

 

Open End Type เป็นลักษณะร่องของ Spindle แบบปลายเปิด (ซึ่งจะเป็นแบบที่นิยมมากกว่าแบบ Close End Type เพราะสามารถประกอบเข้ากับชุดขารองรับลูกกลิ้ง (Bracket) ได้ง่ายมีระยะเผื่อเหลือเผื่อขาดสูงกว่าแบบ Close End Type และเพลาก็จะมีความยาวน้อยกว่าแบบ Close End Type ด้วย

     Ø อย่างไรก็ดี รูปแบบของปลายเพลาลูกกลิ้ง  (Spindle) อาจมีลักษณะที่แตกต่างจากทั้ง 2 Types ข้างต้นแต่มักจะใช้กับ Applicationอื่นที่ไม่ใช้ Belt Conveyor เช่น

      Threaded with Nut ลักษณะปลายเพลาเป็นเกลียวพร้อม Nut

      Projection Threaded ลักษณะปลายเพลาเป็นเกลียว

      Internal Threaded ลักษณะปลายเพลาเจาะรูต๊าปเกลียว

      Pain ปลายเพลาโผล่แบบปกติโดยทั่วไปมักใช้กับ Roller Conveyor

Ø Roll Shaft End Dimensions (ระยะของปลายเพลาลูกกลิ้ง)

หลังจากที่ทราบลักษณะของ Spindle ของทั้งสองรูปแบบแล้วผู้ออกแบบสามารถกำหนดระยะของ Spindle(ระยะของปลายเพลาลูกกลิ้ง) ได้ดังนี้

 

 

 จากตารางระยะ (Dimension) ของ Spindle จะขึ้นอยู่กับขนาด (Diameter) ของเพลา (Idle Series) เป็นหลักขนาดของเพลาสามารถดูได้จาก Column ที่1 (Idle Series) ซึ่งจะมี Range ให้เลือกในช่วง 20 – 40 mm.ในส่วนของ Column ที่2-7 นั้นจะเป็นระยะที่เหมาะสมของร่อง Key ที่ใช้กับเพลาขนาดต่างๆโดยจะมีค่า Max และ Min กำหนดไว้เป็นระยะเผื่อเหลือเผื่อขาดเพื่อให้ง่ายต่อการผลิตและการประกอบ

Ø Gauge Lengths

Gauge Lengths หมายถึงระยะ ร่อง Key ถึง ร่อง Key ดังรูปและตารางด้านล่าง

 

 

ระยะความยาวของ Gauge Length ของ Roller นั้นจะขึ้นอยู่กับ หน้ากว้างสายพาน (Belt Width) ใน Column 1และรูปแบบการวางตัวของลูกกลิ้ง (Type of Idle) ใน Column ที่ 2-8 (รูปแบบการวางลูกกลิ้งสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความ รูปแบบการวางลูกกลิ้ง)

Remark: Gauge Length สำหรับ ลูกกลิ้งด้านข้างของ Picking Roller นั้นมีความยาวเท่ากับ 180 mm.

Ø Face Length of Roller(ความยาวของ Roller)

 

มาตรฐาน Face Length (ความยาวของ Roller) จะเป็นดังนี้

  สำหรับลูกกลิ้งด้านลำเลียงวัสดุ (Carry Roller)

o  Face Length = Gauge Length – 10 mm.

 

                                    

             สำหรับลูกกลิ้งด้านสายพานกลับ (Return Roller)

o  Face Length = Gauge Length – 32 mm.

                           

 -   Bracket Distance Standard

Ø Gap Between In – Line Rolls

 

 

            ในการออกแบบ Bracket แบบวางมุมแอ่งนั้นจุดที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ช่องว่าง (Gap) ระหว่าง ลูกกลิ้งแนวราบกับลูกกลิ้งปีก (Wing Roller) สาเหตุที่ต้องออกแบบช่องว่างดังกล่าวให้เหมาะสมก็เพราะหากมีช่องว่างมากเกินไปถ้าเลือกSpecification ของสายพานไม่เหมาะสม ความแข็งแรงไม่เพียงพอ เมื่อสายพารรับน้ำหนักสูงๆ จะทำให้สายพานเกิดรอยย่นแตกตามยาวตามรอย Gap นั้นได้

 

 

 

            แต่หากเราออกแบบให้ Gap นั้นมีค่าน้อยมากจนเกินไปก็จะส่งผลต่อกระบวนการผลิตที่ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้น เพื่อให้การออกแบบขารองรับลูกกลิ้ง (Bracket) มี Gap ที่เหมาะสมผู้ออกแบบสามารถใช้ค่าตามตารางด้านล่างไปออกแบบ Bracket ได้เลย

 

   

              

Remark:     1) สำหรับลูกกลิ้งโตกว่า 102 มม.ให้ใช้ Spindle แบบ Open-End เท่านั้น

                  2) สำหรับลูกกลิ้งโตกว่า 102 มม. เพลาโตกว่า 25 มม.ปลาย Shaft ต้องมีการ Chamfer เป็นพิเศษ

จากตารางด้านบนผู้ออกแบบสามารถเลือกระยะห่างของ Gap ได้โดยเลือกจาก มุมแอ่งของลูกกลิ้ง และ Typeของ Spindle แต่ค่า Gap ที่แสดงในตารางนั้น Face Length ของ Roller จะต้องมีค่าน้อยกว่าหรือตาม Standard ด้วย SEEFace Length of Roller

เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นตัวอย่างเช่น  ระบบสายพานหน้า กว้าง 900 mm.ใช้ลูกกลิ้งมุมแอ่ง 35 องศา เพลาลูกกลิ้งเป็นแบบ Open End Type จะต้องแบบ Gap ให้มีขนาดไม่เกิน 15 mm.เท่านั้น

แต่หากเป็นกรณี Overlap of Offset Roller ค่า Overlap จะมีค่าอยู่ระหว่าง 6-18 มม.แต่ค่า Gauge Length ของRoller ก็ต้องมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับมาตรฐาน

 

 

                                                 Spacing of Offset Rolls

 

            เป็นค่า Center Offset ของ Roller โดยมากการวาง ลูกกลิ้งในรูปแบบนี้จะใช้ในช่วง Transition Length เพื่อลดTension ของขอบสายพานก่อนเข้าและหลังออกจาก Pulley ซึ่งค่า Off Set ดังกล่าวมีค่าดังต่อไปนี้

  150 mm.สำหรับลูกกลิ้งที่มีขนาด Diameter เล็กกว่าหรือเท่ากับ 150 mm.

  180 mm.สำหรับลูกกลิ้งที่มีขนาด Diameter มากกว่า 150 mm.

 

     Ø Roll Height Above Roller Base (ความสูงของ Roller จากฐาน)

 

        

   

                ค่า Roll Height above Roller Base (X) จะเป็นตัวกำหนดความสูงของตัว Bracket ในทางอ้อมโดยท่านผู้อ่านสามารถออกแบบได้ตาม Table ด้านล่าง ซึ่งจะประกอบด้วย 3 Table คือ

 

     Ø For Light & Medium Duty Shaft Dia.20 & 25 mm. (Table A)

 

                      

    Ø For Heavy Duty Shaft Dia.30,35,40 mm.(Table B)

 

    Ø For  Flat Carry & Flat Return(Table C)

                               

                ในการเลือก Roll Height above Roller Base (X) จะต้องพิจารณาขนาดของเพลาเป็นอันดับแรกหากเพลา 20, 25 mm.ก็ถือว่าระบบเป็นงานเบาถึงหนักปานกลางก็ให้พิจารณาเลือกใช้ตารางที่หนึ่ง (Table A) จากนั้นให้พิจารณารูปแบบการวางตัวของ Roller ขนาดความโตของลูกกลิ้ง (Nominal Roll Diameter) และการวางตัวของลูกกลิ้ง ก็จะได้ค่าความสูงของ Roller (X) ที่เหมาะสมโดยจะมีค่า Min/Max. เป็นระยะเผื่อเหลือเผื่อขาดเพื่อให้ง่ายต่อการผลิตและการประกอบ

            ตัวอย่าง ต้องการออกแบบขาลูกกลิ้ง เพลาลูกกลิ้งขนาด 25 mm. ลักษณะการวางตัวของลูกกลิ้งเป็นแบบแอ่งรูปตัว V ลูกกลิ้งมีขนาด 104 mm. ลักษณะลูกกลิ้งเป็น Impact Roller จากตารางก็จะได้ค่า Roll Height above Roller Base(X) เท่ากับ 201 – 211 mm.

แต่หากเพลามีขนาด 30, 35, 40 mm.ถือว่าเป็นระบบลำเลียงที่เป็นงานหนัก (Heavy Duty) ให้พิจารณาเลือกใช้ตารางที่สอง (Table B) พิจารณาจากหน้ากว้างสายพาน (Belt Width) ขนาดความโตของลูกกลิ้ง (Nominal Roll Diameter) และชนิดของลูกกลิ้ง

ตัวอย่างเช่น Feeder Belt ซึ่งเป็นแบบ Picking Type มีหน้ากว้างสายพาน 1200 mm.ลูกกลิ้งโต 150 mm.เพลาลูกกลิ้งมีขนาด 35 mm. จากข้อมูลเบื้องต้นจะได้ค่า Roll Height above Roller Base เท่ากับ 267-263 mm.

ในตาราง Table C นั้นจะเป็นค่า Roll Height above Roller Base สำหรับ Flat Belt และด้าน Return Rollerเท่านั้นซึ่งสามารถเลือกค่าที่เหมาะสมได้จาก ขนาดเพลาและขนาดความโตของลูกกลิ้งได้เลย

     Ø Roll Support Slot Dimension

เป็นค่าที่ใช้ในการออกแบบร่อง Slot ของขารองรับลูกกลิ้งด้านบน (Carry Roller) โดยขนาด Dimension ของSlot คือ ความกว้าง ความลึกและความหนาของ Flat Bar ที่ใช้ทำ Bracket ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดความโตของเพลา(Diameter) ใน Column ที่ 1 เป็นหลัก

ค่าที่ได้ตามตารางนั้นจะมีค่า Max.และMin. เพื่อเป็นระยะเผื่อเหลือเผื่อขาดเพื่อให้ง่ายต่อการผลิตและการประกอบ

 

 

 

      Remark: 1) เพลาขนาด 25 mm. ใช้ Spindle แบบ Close End Type

 

     Ø Distance Between Center of  Fixings & Type of Fixing Slots

                เป็นระยะ Center ของร่อง Slot ที่ใช้ยึดชุดขาลูกกลิ้งเข้ากับ Flame ของระบบลำเลียงและรูปแบบของร่อง Slot ที่ใช้ยึดกับเฟรมซึ่งจะมีค่าตามตารางด้านล่าง

 

 

            Center ของร่อง Slot ที่ใช้ยึดกับ Flame นั้นมีความสำคัญมากเพราะจะเป็นตัวกำหนดความกว้างเฟรมสายพานลำเลียง (Stringer) ค่า Aที่เหมาะสม ผู้ออกแบบสามารถดูได้จาก Column ที่ 2 ซึ่งจะขึ้นอยู่กับหน้ากว้างสายพาน(Nominal Belt width) เพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่หากต้องการดูรูปแบบของร่อง Slot จะต้องทราบลักษณะการวางตัวของลูกกลิ้ง (Type of Idle) และขนาดความโตของเพลา (Idle Series) จึงจะสามารถเลือกลักษณะของร่อง Slot ได้ ซึ่งจะมีอยู่5 รูปแบบด้วยกันคือ a, b, c, d และ e

            Slot รูปแบบ A เป็นร่อง Slot ยึด Bracket แบบข้างละรูเดียวโดยมากจะใช้กับ Carry Bracket ในระบบสายพานที่ความกว้างสายพานไม่กว้างนักและเป็นงานลำเลียงขนาดเบา

 

 

            Slot รูปแบบ b, c, d และ e นั้นเป็น Slot แบบข้างละ 2 รูซึ่งเป็นแบบที่ใช้กันมากในระบบสายพานลำเลียง โดยจะมีขนาด Dimension ต่างๆที่แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ความหนัก-เบาของงาน

 

Fixing Slots Dimension

            หลักจากที่สามารถเลือกรูปแบบร่อง Slot ในการยึดขารองรับลูกกลิ้ง ความกว้างของ ร่องSlot (A) ในหัวข้อนี้ก็จะมาเจาะลึกถึงขนาดโดยละเอียดของ Slot

 

            

หลังจากที่ทราบ Type ของ Slot แล้วใน Column ที่ 1 ก็จะทำให้ทราบขนาดต่างๆของร่อง Slot ทั้งหมดได้ทันที

     Ø จากบทความข้างต้นนั้นจะเห็นว่าหากเรา Design ชุดรองรับลูกกลิ้งตาม Standard ก็จะทำให้เกิดความมั่นใจทั้งในด้าน ความแข็งแรง (ไม่ใหญ่มากจน Bracketนั้นหนักมากเกินไป หรือบางมากจนโยกเยกได้) และในด้าน Spare Part ที่จะสามารถใช้ร่วมกันได้ในอนาคต หากผู้อ่านได้นำ Standard ข้างต้นไปใช้ประกอบการ Design จะพบว่าอาจมีบางส่วนที่ต้องกำหนดและออกแบบเพิ่มเติมเพราะใน Standard จะบอกเพียงแค่จุดที่สำคัญๆเท่าแต่อย่างไรก็ดีข้อมูลที่ให้ไว้ข้างต้นก็เพียงพอสำหรับการออกแบบแล้วครับ




8. Roller Bracket

1) ขารองรับลูกกลิ้งทำไมต้องมาตรฐาน
3) รูปแบบการวางลูกกลิ้ง
4) คุณทำสายพานเองได้
5) Conveyor Case Information