ReadyPlanet.com
dot
Line ID
dot


8) ส่วนประกอบของ Sealing system

 

 

 

 ส่วนประกอบของ Sealing system

 

 

 

 

Sealing system

 

 

 

 

          จากรูปข้างบนแสดงส่วนประกอบของ Sealing system ออกเป็น 2 ด้าน เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างและผลกระทบที่เกิดขึ้นของการออกแบบทั้ง 2 วิธี ด้านซ้ายไม่มี wear liner ใช้ยาง Skirt แบบธรรมดาเป็นตัวกันวัสดุ เนื่องจากยาง Skirt ซึ่งไม่สามารถต้านทางแรงผลักของวัสดุที่ดันออกมาทางด้านข้างได้ขณะ Load ได้ วัสดุจะทะลักออกมาภายนอก ส่วนด้านขวามี wear liner กันแรงดันของวัสดุไว้ก่อนที่จะถึงยาง Skirt ทำให้ยางSkirt ไม่ปลิ้นวัสดุจึงหลุดออกมาจาก Transfer point ได้ยากขึ้น คงมีฝุ่นที่สามารถเล็ดรอดออกมาได้แต่ Double Skirt หรือลิ้นอีก 1 ชั้น ก็สามารถวันฝุ่นได้อีกชั้นหนึ่ง ฝุ่นจึงออกมาภายนอก Loading zone น้อยลง

 

Skirt Board

 

รูปตัดแสดงตำแหน่งของ Skirt Board

 

                  Skirt Board คือ วัสดุที่ทำด้วยแผ่นไม้หรือ แผ่นเหล็ก ติดตั้งต่อจากผนัง Chute ยื่นลงมาด้านล่างมีหน้าที่ป้องกันวัสดุไม่ให้วัสดุเบียดยาง skirt จนวัสดุหลบหนีออก (ร่วง หก ตก หล่น รั่ว ไหล) จากสายพานขณะที่ Loadวัสดุ

 

Wear Liner

           Wear Liner คือ วัสดุที่ทำด้วยแผ่นไม้ พลาสติกแผ่นเหล็กหรือวัสดุอย่างอื่นที่มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะต้านแรงด้านข้างจากการกระทำของวัสดุที่ลำเลียง ติดตั้งต่อจากผนัง Chute ยื่นลงมาด้านล่าง มีหน้าที่ป้องกันวัสดุไม่ให้วัสดุเบียดยางสเกิร์ต (Skirt Rubber) จนวัสดุหลบหนีออก (ร่วง หก ตก หล่น รั่ว ไหล) จากสายพานขณะที่ Load วัสดุ

 

 

Wear Liner

 

 

การติดตั้ง Wear Liner สูงจากสายพานมากเกินไปทำให้วัสดุ

 

 

ดันยาง Skirt ปลิ้นและร่วงออกจากสายพาน

 

 

การติดตั้ง Wear Liner 2 แบบ คือแบบ Straight และ Deflector 

 

 

การติดตั้ง Wear Liner 2 แบบ คือแบบ Straight

 

 การติดตั้ง Wear Liner 2 แบบ คือแบบ Deflector จะกันให้มีช่องว่างระหว่าง Wear liner กับ Skirt Rubber ทำให้ไม่มีแรงดันจากวัสดุกระทำต่อ Skirt Rubber มากเกินไป

 

 

Rubber Skirt

Skirt Rubber เรียกกันได้มากมายหลายชื่อ เช่น ยางสเกิร์ต (Skirt Rubber) “rubber skirting,” “skirtboard seal,” “side wipers,” “dust seal,” and “edge seal” ทำด้วยแผ่นยางหรือแผ่น Plastic ติดตั้งติดตั้งกับ skirtboard เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุ ร่วง หก ตก หล่น รั่ว ไหลออกจากสายพาน อย่าเข้าใจผิดว่า Skirt Rubber สามารถกันวัสดุไม่ให้หลุดออกไปได้ เพราะยางสเกิร์ต (Skirt Rubber) ไม่แข็งแรงและบอบบางเกินไปไม่เพียงพอที่จะต้านทานแรงดันด้านข้างของวัสดุได้ ซึ่งหน้าที่นี้เป็นของ Wear Liner

 

 

ยางสเกิร์ต (Skirt Rubber) แบบบ้านๆ ใช้กันอย่างแพร่

หลายในบ้านเราราคาถูก เหมาะสำหรับกั้นวัสดุน้ำหนักเบาๆและ

 การ Load วัสดุไม่รุนแรงใช้ในอุตสาหกรรมที่ไม่เน้นผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมมากนัก

การใช้งาน (Skirt Rubber) แบบบ้านๆผลที่ได้ก็จะไม่มีประสิทธิภาพมากนัก แต่ดีที่ราคาไม่แพงเหมาะสำหรับอุตสาหกรรมที่ลำเลียงวัสดุ เบาๆ การจ่ายวัสดุไม่หนักหน่วง รุนแรง ที่ไม่เน้นสิ่งแวดล้อมอย่างสูงสุด
วัสดุที่ลำเลียงเมื่อเคลื่อนที่ช้าๆ วัสดุ load เบาๆ ตัววัสดุไม่หนักเกินไป การใช้งาน ยางสเกิร์ต (Skirt Rubber) แบบบ้านๆก็ใช้งานได้ดี ราคาถูก ใช้ได้ครับ
ยางสเกิร์ต (Skirt Rubber) ใช้ปิดท้าย Chute ก็ได้
ยางสเกิร์ต (Skirt Rubber) ใช้กับ V-Plow ก็ดี เท่าที่เห็นมามักไม่มีใครใส่ใจปล่อยจนยางสเกิร์ต (Skirt Rubber) สึกหรอจนถึงเหล็ก ขูดสายพานให้เสียหาย
ยางสเกิร์ต (Skirt Rubber) ใช้กับ Belt Cleaner ด้าน Return ก็ดี
ยางสเกิร์ต (Skirt Rubber) ใช้กับ V-Plow ก็ดี
ยางสเกิร์ต (Skirt Rubber) บางครั้งก็เอามาปิดด้านข้างกันวัสดุตกก็ได้พัฒนาการของ Edge Sealing 
   

ยางสเกิร์ต (Skirt Rubber) แบบมี 2 ชั้นโดยมีข้อดีคือ

1.ลิ้นพิเศษเอาไว้ดักฝุ่น ไว้อีก 1 ชั้น

2.capacity ไม่ลด

3.เสียหายยากเนื่องจากมี wear liner ลดแรงปะทะไว้ก่อน

ยางสเกิร์ต (Skirt Rubber) แบบมี 2 ชั้นโดยมีลิ้นพิเศษเอาไว้ป้องกันฝุ่น

ยางสเกิร์ต (Skirt Rubber) แบบมี 3 ชั้นติดตั้งนอกผนัง Chute

1.จะทำงานได้ดีเมื่อช่องว่างระหว่างChute และสายพานมีมากๆ ลำเลียงวัสดุที่มีน้ำหนักเบา มีขนาดเล็ก หรือเป็นผง ไม่มีความคม (nonabrasive)

เช่น  carbon black เป็นต้น

2.ความเสียหายที่เกิดกับสายพานมีน้อยหาก Belt Slide

ข้อเสียยางสเกิร์ต (Skirt Rubber) แบบมี 3 ชั้น

1.ขาดง่ายเพราะไม่มีWear Liner ช่วยรับแรงไว้ก่อน

2.วัสดุอาจติดระหว่างยางสเกิร์ต (Skirt Rubber)และสายพานขูดสายพานมีโอกาสเสียหายได้มาก

3.ยางสเกิร์ต (Skirt Rubber) อาจกระพือ เปิดออกได้เนื่องจาก negative back press ของอากาศภายใน ทำให้ฝุ่นออกไปได้

4.ทำให้ Capacity ลดลงเนื่องจากหน้าตัดลดลง

     

 




Rubber Belt สายพานยางดำ

1) จำหน่ายสายพานยางดำรายย่อยแล้วครับ
2) คำถามโดนๆเกี่ยวกับสายพานลำเลียง
3) ภาพรวมการแบ่งประเภทของสายพานลำเลียง
4) สายพานลำเลียงแบบชั้นผ้าใบ
5) Cover Type
6) ถอดรหัสสายพานทนสึก
7) ระบบป้องกันวัสดุเล็ดลอดออกจากสายพาน Sealing System
9) ยางSkirtตัวร้ายหรือผู้ดี
10) การเลือกชนิด Skirt Rubber และการบำรุงรักษา
11)จำหน่ายสายพานยางดำ
12)ถอดรหัสสายพานทนร้อน
13)สายพานบั้ง
14)ทดสอบการเพิ่มอัตราขนถ่ายวัสดุของสายพาน Side Wall Belt Conveyor