ReadyPlanet.com
dot
Line ID
dot


บทความ Multiflex Flat Top Chain

Multiflex Flat Top Chain

Overview

 

           Multiflex Flat Top Chain หรือ เรียกสั้นๆว่า Multiflex Chain ป็น  Flat Top Chain แบบ Generation ใหม่มีความสามารถเฉพาะตัวหลากหลายเก่งฉกาจกว่า Flat Top Chain แบบ Standard มาก อุปกรณ์ประกอบกันเป็นตัว conveyor แต่ละชิ้นส่วนผลิตมาเป็น Module เป็นชิ้นๆ แต่ละชิ้นเป็นมาตรฐานให้ประกอบเข้ากันง่ายได้ง่ายๆ ทั้งส่วนตรงและส่วนโค้ง ทั้งในแนวดิ่งและในแนวราบ มาพร้อมกับอุปกรณ์ยึดต่างๆที่ได้รับการออกแบบให้เข้ากันได้มาเรียบร้อยแล้ว เพียงแค่วัดและตัดขนาดคาน(Beam) หรือเสา(Support) ของโครงสร้างให้ได้ระยะแล้วนำชิ้นส่วนสำเร็จรูปต่างๆมาประกอบให้เข้ากันด้วย Nut and Bolt เป็นรูปร่าง Conveyor ตาม Lay Out ที่ต้องการ ที่สะดวกอย่างมากคือในขบวนการประกอบ Conveyor ทำได้โดยไม่ต้องเชื่อม ไม่ต้องกลึง ไม่ต้องไส

          ความที่เป็นจุดเด่นกว่า Conveyor ระบบอื่นๆคือ เมื่อเลิกใช้ Conveyor แล้ว สามารถรื้อและเคลื่อนย้ายไปติดตั้งที่อื่นได้ง่ายโดยไม่เสียหาย หรือสามารถเพิ่มเติม(Modify)ให้เป็นLay Out รูปใหม่ได้ ด้านการทำงานของสายพาน Multiflex Chain ก็มากด้วยความสามารถ ทั้งวิ่งตรง วิ่งโค้ง หกคะเมน ตีลังกา รวม (Merge) แจกจ่าย (Distribute) เบี่ยงเบน(Divert) ผลัก (Push)  หนีบ(wedge)ของขึ้นที่สูงได้ ส่วนข้อจำกัดก็มีเรื่องความกว้างของสายพานมีจำกัด ตั้งแต่ 80 มิลลิเมตรถึง 300 มิลลิเมตรทำให้ลำเลียงวัสดุที่มีขนาดใหญ่มากไม่ได้  สามารถรับน้ำหนักบรรทุกไม่ได้มากนัก ความยาวของสายพานของคอนเวเยอร์(Conveyor Length)  ทำได้ยาวประมาณ 8-30 เมตร แล้วแต่รุ่นที่ใช้ ถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆว่า Multiflex Chain ลำเลียงอะไรได้บ้างก็พอจะบอกได้ว่าอะไรที่ใส่กล่องเป็นลักษณะ Package ขนาดไม่เกินประมาณ 300 มม. ก็ลำเลียงได้ทั้งนั้น ยกตัวอย่างสินค้าที่พบเห็นใน 7-11 หรือที่ Lotus ประเภทสินค้าอุปโภค บริโภค สบู่ ยาสีฟัน ผ้าอนามัย กระดาษทิชชู่ กระป่องเครื่องดื่ม น้ำอัดลม หนังสือ ในอุตสาหกรรม Electronic Computer และอื่นๆอีกมากมายก็ลำเลียงได้ทั้งนั้น

           ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงให้ท่านผู้อ่านได้รู้ภาพกว้าง(Over View) ของสายพาน Multiflex Chain เท่านั้น เมื่อผู้ใช้งานเลือก รุ่นของสายพานแล้วจะต้องไปดูรายละเอียดใน specification ของสายพานรุ่นนั้นนั้นประกอบการออกแบบอีกครั้งหนึ่งว่ามีข้อจำกัดอะไรบ้าง

   

 สายพาน Multiflex Chain สามารถวาง Lay out ได้อย่างน่าสนใจ เลื้อยไปมา

ขึ้นลง ทั้งแนวราบและแนวดิ่ง คล้ายกระดูกงูที่สายพานรุ่นอื่นทำได้ยาก

 

            Multiflex Flat Top Chain ที่มีขายในท้องตลาดนิยมเรียก กันตามชื่อยี่ห้อของผู้ผลิตโซ่ ที่คุ้นๆ ชื่อในบ้านเรามีหลายยี่ห้อเช่น FlexLink บ้าง FlexMove บ้างFlexOn บ้างRexnord บ้างSystemPast บ้างแต่ยังมีอีกหลายยี่ห้อที่ไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ ที่มีความสามารถเหมือนๆกันขณะที่ราคาก็แตกต่างกันเพื่อเป็นทางเลือกของผู้ใช้งานได้เช่นกัน

บทความต่อไปนี้ จะเน้นถึงเรื่อง Multiflex Flat Top Chain โดยเฉพาะแต่ก่อนอื่นมาทบทวนภาพกว้าง (Over View) ของ Flat Top Chain โดยรวมกันก่อน

 1. ประเภทของ Flat Top Chain

 

             บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด (Conveyor Guide Co., Ltd) ขอแบ่ง Flat Top Chain ตามความเข้าใจตัวเองเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจได้ง่ายๆ โดยไม่ได้อ้างอิงกับมาตรฐานอะไร เราขอแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ

      1. Flat Top Chain ประเภท Standard หมายความว่ามีการจัดมาตรฐานโซ่ประเภทนี้ให้มี Specification เหมือนกัน เมื่ออยากจะซื้อสายพานก็สามารถซื้อยี่ห้ออะไรมาใช้ทดแทนกันได้ Flat Top Chain ประเภท Standard นี้ประกอบด้วย สายพานแบบวิ่งตรง (Straight Running) และแบบวิ่งโค้งด้านข้างได้ (Side Flexing)

           1.1 Flat Top Chain แบบวิ่งตรง (Straight Running) วิ่งได้เพียง 1 ระนาบ (Plane) จัดอยู่ใน standard ของ ASME B29.17M, Hinge Type Flat Top Conveyor Chains and Sprocket Teeth  

 

 

   

ตัวอย่าง Application Flat Top Chain แบบวิ่งตรง (Straight Running)

 

 

            1.2.แบบวิ่งโค้งด้านข้างได้ (Side Flexing) แม้ว่า Flat Top Chain แบบวิ่งตรง(Straight Running) จะตอบปัญหาการลำเลียงได้ดีระดับหนึ่งแต่มีข้อจำกัดที่เลี้ยวด้านข้างไม่ได้ เมื่อจำเป็นต้องเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ จึงต้องใช้ Flat Top Chain แบบวิ่งตรงหลายๆตัวมาวางสลับต่อเนื่องกัน การวาง Lay Out ลักษณะนี้จึงไม่มีความเหมาะสมในแง่ Process Flow การประหยัดพื้นที่และด้านการลงทุน เพราะมีจุดเชื่อมต่อหลายตำแหน่ง การเคลื่อนที่ของวัสดุจาก Conveyor หนึ่งไปยังอีก Conveyor หนึ่งทำได้ไม่ราบเรียบ หาก Product มีรูปทรงที่ไม่สามารถรักษาสมดุลได้ Product อาจล้มขณะลำเลียงและเสียหายได้ เหตุผลหลักอีกอย่างหนึ่งคือโรงงานมีพื้นที่จำกัด ต้องใช้พื้นที่น้อยที่สุดแต่เกิดประโยชน์ในการใช้พื้นที่สูงสุด เนื่องจาก Flat Top Chain แบบวิ่งตรงไม่สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางในโรงงานได้ ดังนั้นจึงมีการพัฒนา Flat Top Chain แบบวิ่งโค้งด้านข้างได้ (Side Flexing) แก้ปัญหานี้ได้ระดับหนึ่งแต่ก็ยังมีข้อจำกัดเนื่องจากยังต้องใช้รัศมีความโค้งมากไม่สามารถอำนวยความสะดวกในกรณีที่การลำเลียงมี Process การทำงานที่สลับซับซ้อน

 

 

 

ตัวอย่าง Flat Top Chain วิ่งโค้งด้านข้างได้ (Side Flexing) แบบดั้งเดิม (Standard)

 

     

      2. Multiflex แบบ Generation ใหม่

          2.1 General Fact ข้อเท็จจริง ระบบโซ่แบบมัลติเฟค (Multiflex Chain) แบบ Generation ใหม่ ประยุกต์ต่อมาจาก Flat Top Chain ประเภทวิ่งโค้งด้านข้างได้ (Side Flexing) ให้มีความสามารถหลากหลายมากขึ้นโดยสามารถเคลื่อนที่ได้หลายระนาบเลี้ยวได้ในรัศมีที่แคบมากกว่าเดิมเนื่องจากระบบโซ่แบบมัลติเฟค (Multiflex Chain) สามารถที่จะวิ่งในแนวตรง (Straight) แนวโค้ง(Curve) แนวเอียง(incline) หรือวิ่งในแนวดิ่ง(Vertical) ได้โดยใช้โซ่เส้นเดียว สามารถลำเลียงแบบสะสมวัสดุ(Accumulation) แจกจ่าย(Distribute) แยกหรือเบี่ยงเบน(Divert) จัดเรียงตำแหน่งของวัสดุใหม่ได้(Re-Orient) หรือผลัก(Push) วัสดุออกไปจาก  Conveyor  line หนึ่งไปยังอีก Conveyor หนึ่งได้ ทำให้ระบบการไหลของวัสดุเป็นแบบอัตโนมัติ(Automated Product Flow)  ที่สามารถลดเวลาของ Process Flow ได้มาก โซ่แบบนี้จึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ การไหล (Flow)  ของวัสดุได้ดีกว่า Top Chain แบบอื่นๆ การใช้ระบบโซ่แบบมัลติเฟค (Multiflex Chain) จึงเป็นการเพิ่ม productivity แ ลด Process ที่เป็นคอขวด (Bottleneck)

 

 

 

 เปรียบเทียบรัศมีการเลี้ยวโค้งของ Side Flexing แบบเดิม

กับแบบ Multiflex Chain แบบ Generation ใหม่ ที่รัศมีความโค้งที่แคบมาก  

 

 

 

Multiflex Chain แบบ Generation ใหม่  มีรูสลักรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีแกนหมุนอยู่ตรงกลางสามารถเคลื่อนที่ได้อิสระมากกว่าแบบ Side Flexing แบบStandard

 

 

              2.2 Application Lay out สามารถวางได้หลากหลายรูปแบบ Multiflex Chain แบบ Generation ใหม่ สามารถใช้ได้กับ conveyor Line หลายประเภทเช่น Packing Line Filling Line, Assemble Line, Repair Line และอื่นๆ

การวาง Layout ทำได้หลากหลายรูปแบบตามความจำเป็นของ Process

 

 

 

การวาง Layout โดยหนีบ (wedge) วัสดุลำเลียงขึ้นที่สูง

 

 

 

 

 การวาง Layout ให้มี Buffer เพื่อประหยัดการใช้พื้นที่ (Save Floor Space) ใช้ตัวขับและตัวควบคุม (Control) เพียงชุดเดียวได้เหมาะสำหรับ Cooling and Drying Lines

 

 

 

   

 การวาง Layout ให้ยกระดับสูงขึ้นให้คนสามารถเดินลอดได้เพื่อความปลอดภัยขณะที่การไหลของวัสดุก็เป็นไปได้อย่างต่อเนื่องโดยปราศจากจุดเชื่อมต่อ

 

 

 

            2.3 Components, Structure and Installation

  

 โครงสร้างพื้นฐานของคอนเวเยอร์ Multiflex Chain แบบ Generation ใหม่

 

ประกอบด้วย Components มาตรฐานต่างๆดังนี้

 

·   Drive Unit คือตัวขับสายพานหรือมอเตอร์(ส่วนหัว)

·   Idle Unit คือ ตัวตามหรือ Roller (ส่วนท้าย)

·   Conveyor Beam  คือคานที่เป็นรูปอลูมิเนียมโปรไฟล์(Aluminum Profile)

·   Bend เป็นอุปกรณ์เปลี่ยนทิศทางของการลำเลียง

·   Slide Rail คือรางของ Conveyor Beam

·  Guide Rail  คือราวกันของตก

·  Chain คือโซ่แบบ Multiflex เลี้ยวได้หลายทิศทาง

·  Support System คือส่วนรับน้ำหนักโครงสร้างต่างๆของ Conveyor

·  นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อื่นๆอีกมาก ซึ่งไม่สามารถจะกล่าวได้หมดในที่นี้ลองดูตัวอย่างข้างล่าง

 Components ต่างๆของ Multiflex Chain แบบ Generation ใหม่ประกอบได้ง่ายมาก

 ทุกชิ้นมีขนาดเป็นมาตรฐานยึดติดกันด้วย Nut and Bolt

 

 

Components ต่างๆของ Multiflex Chain แบบ Generation ใหม่ประกอบได้ง่ายมาก

ทุกชิ้นมีขนาดเป็นมาตรฐานยึดติดกันด้วย Nut and Bolt

 

 

  

โค้งสำเร็จรูปต่างๆของ Multiflex Chain แบบ Generation ใหม่

 

 

                                                                    

Drive Unit คือตัวขับสายพานหรือมอเตอร์ (ส่วนหัว)

 

 

 Idle Unit คือ ตัวตามหรือ Roller (ส่วนท้าย)

 

 

 

Bend เป็นอุปกรณ์เปลี่ยนทิศทางของการลำเลียง

 

 

    

 

  

 

 

 

            2.5 Multiflex Chain specification

   
ภาพรวมคุณสมบัติทางกลของ Multiflex Chainรุ่นต่างๆ

 

 

            2.6 Chain Surface (ผิวหน้าของMultiflex Chain)ผิวหน้าของMultiflex Chain มีอยู่หลายรูปแบบแต่ละแบบถูกออกแบบมาเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภท เช่น

·       Plain Chain ผิวหน้าแบบพลาสติกเรียบธรรมดา ใช้งานทั่วไป

·       Steel Chain ผิวหน้าแบบเหล็กเรียบ ใช้งานในกรณีที่ต้องการป้องกันผิวหน้าโซ่จากการขูดขีดสูงเช่นการลำเลียง ขวดแก้วหรือกระป๋อง

·       Friction Top Chain ผิวหน้าแบบยางซึ่งต้องการแรงเสียดทานระหว่างวัสดุและสายพานทานสูง กรณีที่มีการลำเลียงของขึ้นในที่เอียงหรือในที่สูง

·       Cleated Chain ผิวหน้าแบบบั้ง(Cleat) ผิวหน้าแบบบั้ง(Cleat) มีหลายชนิดให้เลือกกรณีที่มีการลำเลียงของขึ้นในที่เอียงหรือในที่สูง มี roller อยู่ด้านบนโซ่กรณีต้องการวัสดุให้ไหลเร็วขึ้น

 

 ผิวหน้าของMultiflex Chain รูปแบบต่างๆ

 

  ผิวหน้าแบบพลาสติกเรียบธรรมดา ใช้งานทั่วไปลำเลียงได้ 2-5 องศาขึ้นอยู่กับความฝืดระหว่างวัสดุกับสายพาน

 

 

 

Friction Top Chain ผิวหน้าแบบยาง กรณีที่มีการลำเลียงของขึ้นในที่เอียงหรือในที่สูงประมาณ 25 องศา

 

 

  

Cleated Chain ผิวหน้าแบบบั้ง (Cleat) ลำเลียงแบบหนีบ(Wedge)ได้ถึง 90 องศา

 

 

            2.7 Limitation ข้อจำกัดการใช้งาน Multiflex Chain มีโซ่อยู่หลายรุ่นแต่ละรุ่นก็สามารถทนแรงดึงได้ต่างๆกันและสามารถบรรทุกน้ำหนักและขนาดวัสดุได้ต่างกันไปด้วย ตารางข้างล่างเป็นข้อมูลทั่วไปของโซ่รุ่นต่างๆ เอาข้อมูลมาจากสายพาน Flexlink ให้ดูเพื่อให้เข้าใจภาพรวม แสดงถึงความสามารถ Multiflex Chain ในการทำงานภายใต้ข้อจำกัดของหน้ากว้างโซ่ น้ำหนักและขนาดของวัสดุของโซ่ยี่ห้อนี้

 

 

 

Multiflex Chain รุ่นต่างๆลำเลียงวัสดุขนาด 10-300 มม.น้ำหนักบน conveyor 80-800 kg.ความยาว Conveyor 8-40 m.

 

 

 

 ถ้าลำเลียง Pallet น้ำหนัก Pallet ต้องไม่เกิน 10 กก.

 

 

 

 

 

 ถ้าลำเลียงแบบหนีบวัสดุ(Wedge) ต้องยาวไม่เกิน 8 เมตร ความกว้างของวัสดุ 40-300มม.และน้ำหนักวัสดุแต่ละชิ้นติองไม่เกิน 2 กก.  กก.

 

 

 

ตัวอย่าง Specification ของสายพานรุ่นหนึ่ง

 

 

 

 ยิ่งออกแบบให้ Conveyor มีความเร็วสูง แรงดึงของโซ่จะน้อยลง

 

 

 

ยิ่งออกแบบให้ Conveyor มีความยาวมากแรงดึงของโซ่จะน้อยลง

 

 

 

ยิ่งออกแบบให้ Conveyor มีความเร็วสูง เสียงจะดังมากขึ้น    

 

 

 

      เรื่องราวขออง Multiflex Chain ยังมีอีกมาก เราจะค่อยๆทยอยมานำเสนอต่อไป สำหรับการบอกเล่าข้อมูลโดยทั่วไป (Over View) ที่นำเสนอนี้ก็น่าจะทำให้ผู้อ่านมีความรู้เบื้องต้นเพียงพอและเข้าใจเรื่อง Multiflex Chain ที่จะเริ่มต้นพูดคุยเป็นภาษาเดียวกันกับช่างได้ หากไม่เข้าใจ หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามวิศวกรของเราได้ตลอดเวลาครับ

 

โปรแกรม..โครงการ... เพื่อน..ช่วย..เพื่อน

 1.ถ้าท่านสามารถทำ Layout ได้ ส่ง layout ให้เราช่วย Comment ได้

2 .ถ้าท่านทำ layout ไม่ได้ เราสามารถให้คำปรึกษาท่านและช่วยท่านเขียนเพียงแต่ท่านบอก Process flow ของท่านที่ต้องการ เราจะหา Solution ให้ท่านพยักหน้าตกลงจนได้

 3. ถ้าท่านทำไม่ได้ทั้งข้อ ข้อและข้อ 2 แต่อยากจะใช้สายพานชนิดนี้เพราะมั่นใจในความสามารถ โทรติดต่อวิศวกรของเราหรือ Walk in มาคุยกับเราก็ได้เช่นกันครับ

 

   ไม่รู้จัก ในไลน์ ยังกล้าทัก ตัวเป็นๆน่ารัก รีบทักเลย

                    

 

ทีมงานพร้อมให้บริการด้วยหัวใจ

            สุดท้าย บริษัท  คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด(Conveyor Guide Co.Ltd.) ขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านที่ให้กำลังใจติดตามอ่านผลงานและสนับสนุนสินค้าของเรา เราสัญญาว่า จะนำเสนอเรื่องราวดีๆมีประโยชน์มาให้ท่านได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เราจะตอบสนองท่านอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่หยุดนิ่ง เราไม่เคยทำงานลวกๆ หรือลดระดับการปฏิบัติงานตนเอง เราทราบวิธีและมีความสามารถ ที่จะสร้างสร้างความ เรียบง่ายบนซับซ้อนอยากใช้เราก็ติดต่อเราครับ ง่ายนิดเดียว สงสัยสิ่งใด ส่งรายละเอียดทั้งหมดมาทาง E-mail จะสะดวกดีมากครับ อยากรู้อะไรเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วน โทรศัพท์มาสอบถามรายละเอียด ไม่รู้จักในไลน์ ยังกล้าทัก ตัวเป็นๆน่ารัก รีบทักเลย เรายินดีให้คำปรึกษาตลอดเวลา หรือต้องการให้เราไปอบรมหรือจัดสัมมนาให้หน่วยงานบำรุงรักษาในหน่อยงานของท่านก็ได้ (มีค่าบริการนะครับ) ไม่เพียงแต่เรื่องนี้เท่านั้นนะครับ เรื่องอะไรก็ได้ที่ท่านอยากรู้เกี่ยวกับสายพานลำเลียงก็ลองติดต่อเข้ามาได้อะไรที่แบ่งๆกันได้และไม่เปลืองทรัพยากรจนเกินไปก็ยินดีรับใช้ฟรีครับ เพราะเรามี Motto การทำงานคือ Together We Share ไปด้วยกัน...เผื่อแผ่กัน...แลกเปลี่ยน...เรียนรู้ ร่วมกัน’’ ครับ เราจะหาความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบลำเลียงมานำเสนออย่างสม่ำเสมอ มีของเท่าไหร่ก็ปล่อยหมด ไม่มี กั๊ก ไม่มีดึง ไม่มีเม้ม ถึงแม้ว่าเราจะเดินช้า...แต่เราก็ไม่เคยหยุดเดิน แล้วพบกันใหม่ครับขอบคุณที่ติดตาม

Website

: www.conveyorguide.co.th

 

Email

: Info@conveyorguide.co.th

 

Tel. 

: 02-992-1025, 090-9076077, 083-1318644

Fax.

: 02-992-1022

 

 




Flexible Chain สายพานพลาสติกแบบใหม่

1.Flexible Chain
2. โครงสร้าง Main Conveyor( Beam conveyor , Fram conveyor) โครงสร้างหลัก
3.Componetns Flexible Chain Conveyor (อุปกรณ์)