ReadyPlanet.com
dot
Line ID
dot


>> 7.10 Transfer Point Design (การออกแบบจุเชื่อมต่อสายพาน)

Transfer Point เชื่อมต่อระหว่าง Conveyor

1. Transfer Point

           คือจุดเชื่อมต่อระหว่าง Conveyor s กับอุปกรณ์อื่นที่ Product จะต้องเคลื่อนที่ผ่าน ซึ่งจุดนี้จะมีช่องว่างเรียกว่า Floating Gap หรือ Transfer Gap

Transfer Gap (Floating Gap)

 

          ในการออกแบบต้องให้ความสำคัญกับช่องว่างนี้ เพื่อให้Product สามารถเคลื่อนที่ผ่านด้วยความราบเรียบ (Smooth) ไม่กระโดด ไม่ล้ม  Product ต้องเคลื่อนที่ด้วยความเสถียร ระยะของ ช่องว่างจะแตกต่างกันไปตามสายพานแต่ละรุ่น สามารถดูได้จาก Specification Sheet  หรือสอบถามจากผู้ขาย ตารางข้างล่างนี้แสดงตัวอย่าง Floating Gap ของสายพานบางรุ่น


 

2.Nosebar Arrangement

          การวาง Layout ของคอนเวเยอร์ ณ.จุดต่อ(Transfer Point) ต้องให้ช่องว่าง ( Transfer Gap )ที่โปรดักส์จะต้องเคลื่อนที่ผ่านมีค่าน้อยที่สุด ดังนั้นแนะนำให้วางตำแหน่งของมอเตอร์ขับอยู่ด้านล่าง โดยใช้วัสดุที่มีแรงเสียดทานน้อย (HMUW or HDPE) เป็น Nosebar บริเวณที่ปลายจุดต่อ 


Nosebar Layout Arrangement

 

 

          เมื่อตำแหน่ง  Head ของคอนเวเยอร์ถูกแทนที่ด้วย Nosebar ตำแหน่งนี้จะเกิดแรงดึงมากกว่าปรกติดังนั้นจะต้องเลือกวัสดุที่มีแรงเสียดทานต่ำ(HMUW or HDPE) เพื่อลดแรงดึงของสายพาน  Nosebar ต้องมีรัศมีความโค้งเพียงพอ ขึ้นอยู่กับรุ่นของสายพาน(สอบถามผู้ขาย)

 

Conveyor and Nosebar Confrigulation

 



สายพานแต่ละรุ่นจะมีระยะและขนาดเฉพาะของอุปกรณ์เพื่อใช้วาง

โครงสร้างของ Conveyorให้สอบถามรายละเอียดจากผู้ขาย

 


รัศมีความโค้ง Nosebar สอบถามผู้ขายขึ้นอยู่กับรุ่นของสายพาน

 

 

3.Dead Plate  Arrangement การเชื่อมต่อช่องว่าง Transfer Point ด้วยแผ่นโลหะ

          การเชื่อมต่อระยะ Transfer ด้วยแผ่นโลหะ(Dead Plate) ที่ทำด้วยเหล็ก สแตนเลสหรือโลหะชนิดอื่น(แนะนำหนา 5 มม.) ที่มีความแข็งแรง เพื่อให้Product สามารถเคลื่อนที่ผ่านจุดเชื่อมต่อด้วยความเสถียร ความราบเรียบ (Smooth)  ไม่กระโดด จะต้องวางระดับของแผ่นโลหะให้ต่ำกว่าระดับสายพานของคอนเวเยอร์ตัวส่งประมาณ 0.8 mm และให้ระดับของแผ่นโลหะสูงกว่าระดับของสายพานของคอนเวเยอร์ตัวรับประมาณ 0.8 mm เช่นกัน

 

ระดับของแผ่นโลหะ Dead Plate

 

 

แผ่นโลหะDead Plateหนาประมาณ 5 มม.



ระดับของแผ่นโลหะ Dead Plate (Side Transfer)

 

 


Side Transfer ระดับของแผ่นโลหะ Dead Plate

 

 

4.Roller Transfer การเชื่อมต่อช่องว่าง Transfer Point ด้วยลูกกลิ้ง


Transfer By Roller

          เมื่อ Product ที่ลำเลียงมีขนาดใหญ่มากกว่า 150 มิลลิเมตรและมีพื้นผิวด้านล่างแข็งแรงเพียงพอ เช่นกล่องกระดาษแข็ง สามารถออกแบบ Transfer Point โดยใช้ Roller แทน Dead Plate ได้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ Roller ขึ้นอยู่กับรุ่นของสายพานที่ใช้ดูได้จากตารางข้างล่าง

 

Design Specification of Roller Transfer


Design Specification of Roller Transfer With Dead Plate

 

5.Plastic Roller Transfer การเชื่อมต่อช่องว่าง Transfer Point ด้วยลูกกลิ้งพลาสติก

          มีการพัฒนา Roller พลาสติกสำเร็จรูป เพื่อให้ติดตั้งง่ายและราคาถูกเป็นที่นิยมใช้มากในปัจจุบัน


Special Plastic Roller Transfer

Plastic Roller ขนาด 56x85 มม.เรามีจำหน่าย

 

6.Finger Plate Transfer การเชื่อมต่อช่องว่าง Transfer Point ด้วยแผ่นพลาสติกสำเร็จรูป

          ผู้ผลิตได้พัฒนาอุปกรณ์เชื่อมต่อให้เหมาะสมเฉพาะสายพานแต่ละรุ่นก็เรียกว่า Finger Plate ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกรูปร่างหวี ทำให้การเชื่อมต่อเป็นไปได้อย่างราบเรียบมากยิ่งขึ้น


 

ช่องว่าง Transfer Point สามารถใข้แผ่นพลาสติกสำเร็จรูปคล้ายหวีเชื่อมต่อได้

 


ด้วยแผ่นพลาสติกสำเร็จรูปคล้ายหวีเรามีจำหน่าย

 

 


ตัวอย่างSpecification Of Finger Plateของสายพานบางรุ่น

 

7.Guide Deviceตัวช่วยประคอง Product ให้หมุนตัวอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ

          เมื่อ Product ต้องเคลื่อนที่จากคอนเวเยอร์หนึ่งไปยังอีกคอนเวเยอร์หนึ่งซึ่งตั้งฉากกัน แรงหนีศูนย์กลาง จะทำให้ product เคลื่อนที่ออกจากแนวจุดศูนย์กลางของสายพาน ดังนั้นเพื่อจัดระเบียบให้ Product อยู่ตรงกลางสายพานจะต้องติดตั้ง Guide เป็นตัวช่วยประคอง product ให้หมุนตัวอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ


 

Guide Device


 

ใช้วัสดุที่ เช่น UHMW,HDPE เป็น Special Guide Device ออกแบบรูปร่างเป็น Guide Rail ตามความเหมาะสมกับการใช้งาน

 

ไม่รู้จัก ในไลน์ ยังกล้าทัก ตัวเป็นๆน่ารัก รีบทักเลย

สอบถามมาเลย...โดน

แกนหลักที่ให้ข้อมูลเป็นทีมงานวิศวกร ซึ่งจบมาจากหลายสถาบันเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ทีมงานมีเบื้องหลังและประสบการณ์การทำงานด้านระบบสายพานลำเลียงทั้งระบบสายพานลำเลียงทั้งขนาดใหญ่(Heavy Duty)ที่และขนาดเบา(Light Duty) ร่วมกันเป็นทีมงานที่จะแบ่งปันความรู้กับท่านผู้อ่านผ่าน website นี้


 

ขอเน้นว่า D.N.A ทีมงานเป็นช่าง ไม่ใช่D.N.Aของนักขายอาชีพ ไม่มีความถนัดในการปิดงานขายเหมือน Sale อาชีพ เราจะลบสภาพที่ท่านคุ้นเคยนี้ออกไป โดยสร้างความเชื่อใจให้เป็นสิ่งแวดล้อมใหม่ด้วยการพยายามอย่างหนักที่จะช่วยเหลือผู้บริโภคอย่างจริงใจ บอกตรง พูดจริง ไม่รับปากซี้ซั๊ว เอาเฉพาะเรื่องวิทยาศาสตร์ พิสูจน์กันได้ รับข้อมูลไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องเชื่อเราทั้งหมด เก็บสมองด้านขวาไว้ในลิ้นชักชั่วคราว...ใช้สมองด้านซ้ายคำนวณด้วยเหตุ-ผลพิจารณาความเหมาะสมเอาเอง เลือกอุดหนุนกับใครหรือ Suppliers ใดๆได้ตามความคุ้มค่ากับเงิน(Value for Money) ที่จ่ายไปก็แล้วกัน


 

 

ลองถามมาเลยครับถ้าเป็นเรื่องสายพานลำเลียง (Conveyor Belt) ไม่ว่าจะเป็นสายพานยางดำ(Rubber Belt) สายพาน PVC BELT , PU BELT, สายพานพลาสติกโมดูลาร์ (Modular Belt) , สายพานท็อปเชน(Flat Top Chain) , สายพานกระพ้อ(Elevator Belt)  ยินดีแชร์กันทุกแง่มุม ตั้งแต่ การออกแบบ การผลิต การเลือก การเก็บรักษา การบำรุงรักษา การซ่อมแซม การต่อ การใช้งาน การ Modify  ปัญหาด้านเทคนิคApplication การใช้งานที่ไม่ปรกติ อะไรที่แปลกๆ ถามที่เราได้เลยครับ มีของเท่าไหร่ปล่อยหมด ไม่มีกั๊ก ไม่มีดึง ไม่มีเม้ม บอกทุกสิ่งที่คนอื่นไม่อยากให้คุณรู้สงสัยสิ่งใด ส่งรายละเอียดมาที่ Line@cg1356 หรือ info@conveyorguide.co.th หรือ โทร 090-907-6077 , 02-992-1025 ยินดีที่เรามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาร่วมกันกับทุกท่าน......





> 7. การออกแบบสายพานโมดูล่าร์(How-To Design Modular Belt)

>> 7.1 การออกแบบสายพานโมดูล่าร์(How-To Design Modular Belt)
>> 7.2 General conveyor Guide Design (คำแนะนำ: แนวทางทั่วไปการออกแบบระบบสายพานโมดูล่าร์)
>> 7.3 Horizontal Conveyor Designed Guide (คำแนะนำการออกแบบสายพานวิ่งตรงในแนวราบ)
>> 7.4 Inclined Conveyor Designed Guide
>> 7.5 การติดตั้งเพลาและเฟือง(Shaft and Sprocket Installation)
>> 7.6 TWO DIRECTIONAL Conveyors Designed Guide
>> 7.7Transfer Point
>> 7.8 BELT SUPPORT ARRANGEMENT การออกแบบส่วนรองรับสายพาน
>> 7.9 GRAVITY TAKE UP (คำแนะนำการออกแบบตุ้มถ่วงสายพาน)