ReadyPlanet.com
dot
Line ID
dot


>> 8.4 CURVE CONVEYOR CALCULATION (ตัวอย่างการคำนวนกำลังมอเตอร์สายพานโค้ง)

การวาง Layout และข้อกำหนดระยะของสายพานModularรุ่น G300/G500/G1200

     ในการวางผังเครื่องจักรของโรงงานมีจุดประสงค์เพื่อให้ Process การทำงานของเครื่องจักรเป็นไปได้โดยมีประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะเดียวกันก็ต้องการใช้เนื้อที่ให้น้อยที่สุด สายพาน Modularมีคุณลักษณะพิเศษกว่าสายพานชนิดอื่นคือสามารถลำเลียงวัสดุได้ ทั้งแนวตรงและแนวโค้งโดยใช้สายพานแค่เส้นเดียวจึงสามารถตอบสนองความต้องการในแง่นี้ได้เป็นอย่างดี แต่ก็มีข้อจำกัดด้านกายภาพบางประการที่ผู้ออกแบบต้องทราบในการวาง Layout ของระบบลำเลียงในโรงงาน โดยผู้ออกแบบจำเป็นต้องรู้ว่า สายพาน Modular แต่ละ Model มีความสามารถและข้อจำกัดของระยะต่างๆอย่างไรบ้าง ดังนั้น บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด จึงมาแบ่งปันเรื่องการวางlayoutของสายพาน Modular รุ่นG300/G500/G1200ที่สามารถเลี้ยวโค้งได้ดังนี้

 

ข้อกำหนดที่สำคัญ

1.ข้อกำหนดของระยะของการวาง Lay out รูปแบบต่างๆที่สายพาน Modularสามารถทำได้

2.ข้อกำหนดระยะของสายพาน Modularรุ่นG300/G500/G1200


3.หน้ากว้างมาตรฐานของสายพานModular รุ่น G300/G500/G1200
 

*หมายเหตุ ถ้าต้องการสายพานหน้ากว้างที่แตกต่างไปจากนี้ให้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ

 

4. Specificationสายพานโค้งรุ่น G300,G500,G1200

 

สายพาน ModularG300

 

สายพาน ModularG500

Modular Belt HS-500B.jpg

สายพาน ModularG1200

5.ตัวอย่างการคำนวณกำหนดระยะLayoutของสายพานModular series 300 (PP)

 

ExampleการออกแบบการวางlayoutสายพานModular series 300 (PP)ให้โค้งหลบสิ่งกีดขวาง เช่น เสา เครื่องจักร ฯลฯ ตามรูปที่ 1 สมมุติว่าเลือกหน้ากว้างของสายพาน 1013 mm.

Solution:โดยเลือก Typeจาก Table1

รูปที่ 1


Table 1

จากTable 1หน้ากว้างสายพาน(A) = 1013 mm จากรูปที่ 1

     Ø ระยะทางตรงด้าน Motorขับ(B)และ ระยะทางตรง  หลังออกจากโค้ง ควรเท่ากับหรือมากว่า  2 เท่าของระยะหน้ากว้างสายพาน(A)เพราะฉะนั้นระยะ B = 2023 mm เป็นอย่างน้อย

     Ø เมื่อเจอสิ่งกีดขวางหรือต้องการเปลี่ยนทิศทางการลำเลียง ต้องใช้รัศมีความโค้งด้านใน(C)ของสายพานลำเลียงเป็น 2.2เท่า ของระยะหน้ากว้างสายพาน(A)เป็นอย่างน้อย เพราะฉะนั้นระยะของ C = 2228.6≈2229mm

     Ø ส่วนท้ายของระยะทางตรงด้าน Tail Sprocket ก่อนเข้าโค้ง(D) เท่ากับหรือมากว่า 2 เท่า ของระยะหน้ากว้างสายพานดังนั้น D =2023 mmเป็นอย่างน้อยก่อนเข้าโค้ง

 

 

เรามาดูReviewจากของจริงสายพานโค้งรุ่นG300ซึ่งลูกค้าซื้อสายพานไปประกอบกับโครงสร้างโดยลูกค้าทำโครงขึ้นมาเองเพื่อจะได้เห็นภาพมากยิ่งขึ้นเรามาดูกันครับ

รูปที่ 1 ถึง รูปที่ 3 ภาพโครงสร้างของสายพานที่ลูกค้าทำขึ้นมาเองได้เพื่อรองรับรุ่น G300

 

เนื่องจากลูกค้าได้สั่งซื้อสายพาน Modular รุ่น G 300 จากบริษัทฯ รายละเอียดมีดังนี้ Belt Length 25000 mm. Belt Width (517 mm.) , Material (POM) , Color (White)สายพานรุ่นที่ลูกค้าได้สั่งไปนั้น มี Lay out ดังรูปที่5

หน้ากว้างสายพาน(A) = 537 mm จาก(รูปที่ 5)

         Ø ระยะทางตรงด้าน Motorขับ(B) ควรเท่ากับหรือมากว่า  2 เท่าของระยะหน้ากว้างสายพาน(A)เพราะฉะนั้นระยะ B = 1074 mm เป็นอย่างน้อย

         Ø เมื่อเจอสิ่งกีดขวางหรือต้องการเปลี่ยนทิศทางการลำเลียง ต้องใช้รัศมีความโค้งด้านใน(C)ของสายพานลำเลียงเป็น 2.2 เท่า ของระยะหน้ากว้างสายพาน(A)เป็นอย่างน้อยเพราะฉะนั้นระยะของC=1181.4 mm1182 mm

Ø ส่วนท้ายของระยะทางตรงด้าน Tail Sprocket เท่ากับหรือมากว่า 2 เท่า ของระยะหน้ากว้างสายพาน(A)ดังนั้น D =1074 mm


รูปที่ 5

 

     นอกจากนี้ยังมีสายพานรุ่นพิเศษที่สามารถโค้งได้เลย โดยไม่ต้องมีส่วนของทางตรงมาก่อน ทำให้การเชื่อมต่อสะดวกมากยิ่งขึ้น นั้นก็คือรุ่น G2000 ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ของสายพานโมดูล่าร์.....เราก็มีจำหน่ายนะครับ


  

 

รูปที่ 6 สายพานโค้ง Modular รุ่น G2000

 

Specificสายพาน Modular รุ่น G2000



หากท่านสนใจหรือสงสัยสิ่งใด ส่งรายละเอียดทั้งหมดมาทาง E-mail จะสะดวกดีมากครับ อยากรู้อะไรเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วนโทรศัพท์มาสอบถามรายละเอียด เรายินดีให้คำปรึกษาตลอดเวลา หรือต้องการให้เราไปอบรมหรือจัดสัมมนาให้หน่วยงานบำรุงรักษาในหน่วยงานของท่านก็ได้ (มีค่าบริการนะครับ)^^ ไม่เพียงแต่เรื่องนี้เท่านั้นนะครับ เรื่องอะไรก็ได้ที่ท่านอยากรู้เกี่ยวกับสายพานลำเลียงก็ลองติดต่อเข้ามาได้อะไรที่แบ่งๆกันได้และหากไม่เปลืองทรัพยากรจนเกินไปก็ยินดีรับใช้ฟรีครับ เพราะเรามี Motto การทำงานคือ ‘’Together We Share ไปด้วยกัน...เผื่อแผ่กัน’’ ครับ มีของเท่าไหร่ก็ปล่อยหมด ไม่มี กั๊ก ไม่มีดึงเกมส์  ไม่มีเม้ม” “ความรู้เป็นทรัพย์ที่สะสมในสมองของคุณ ต้องสะสมไว้ก่อน จึงจะสามารถหยิบออกมาใช้ได้..ติดตามเราเรื่อยๆครับเราจะหาความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบลำเลียงมานำเสนออย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้ว่าเราจะเดินช้า...แต่เราก็ไม่เคยหยุดเดินแล้วพบกันใหม่ครับขอบคุณที่ติดตาม




8. ตัวอย่างการคำนวนหากำลังมอเตอร์สายพาน Modular Belt

>> 8.1 STRAIGHT ACCOMMULATION CONVEYOR CALCULATION (ตัวอย่างการคำนวนกำลังมอเตอร์แนวตรงมีวัตถุสะสม)
>> 8.2 ตัวอย่างที1 INCLINE CONVEYOR CALCULATION ( ตัวอย่างการคำนวนกำลังมอเตอร์สายพานแนวเอียง)
>> 8.3 ตัวอย่างที่2 INCLINE CONVEYOR CALCULATION (คำแนะนำการออกแบบสายพานวิ่งตรงในแนวเอียง)