ReadyPlanet.com
dot
Line ID
dot


Telescopic Belt Advantagee and Application article

  Telescopic Belt Conveyor คืออะไร

          Telescopic Belt Conveyor หรือ สายพานลำเลียงแบบยืด-หด เป็นระบบสายพานลำเลียงชนิดหนึ่งซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงสินค้า เข้า-ออกจากตู้ Container หรือรถบรรทุกอื่นๆ โดยใช้คนน้อยที่สุดในเวลาอันรวดเร็ว

 

           Telescopic Belt Conveyor สามารถยืดและหดเพื่อให้สามารถลำเลียงสินค้าได้ตามต้องการโดยคนในการปฏิบัติงานเพียงแค่สองคนเท่านั้นและเป็นการลำเลียงสินค้าแบบต่อเนื่องจึงทำให้สามารถทำงานได้มากกว่าวิธีแบบดั่งเดิมเป็นเท่าตัวและสามารถลดคนงานในการปฏิบัติงานได้ถึง 2-4 คนหรือมากกว่านั้นโดยจะขึ้นอยู่กับปริมาณในการขนถ่ายต่อวัน รวมถึงขนาดและน้ำหนักของสินค้านั้นๆด้วย

          นอกจากความรวดเร็วและการลดจำนวนพนักงานในการปฏิบัติงานแล้ว Telescopic Belt Conveyor ยังจะช่วยลดความเสียหายของสินค้าเนื่องจากความเมื่อยล้าของพนักงาน ท่าทางในการยกที่ไม่สะดวก รวมถึงความปลอดภัยของตัวพนักงานและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกันในการลำเลียงด้วย

 

                   การโหลดออกเข้า-ออกจากตู้ Container โดยวิธีดั้งเดิม

 โดยทั่วไปการ Load สินค้าเพื่อเข้าตู้ Container นั้นจะใช้รถ Folk Lift ยกสินค้าซึ่งวางเรียงกันอยู่บน Pallet วิ่งผ่านชุดทางลาดบริเวณหน้า Dock เพื่อเข้าไปในตู้ Container และวาง Pallet ลง และหลังจากนั้นก็จะใช้ คน 4-7 คน (ขึ้นอยู่กับ ขนาด, น้ำหนัก, จำนวน ของ Product) ในการวางเรียงสินค้าให้เป็นระเบียบภายในตู้ โดยหากสินค้ามีปริมาณที่น้อย (กล่องใหญ่) รถ Folk Lift ก็จะจอดรถอยู่ภายในเพื่อรอนำเอา Pallet เปล่าออกมาด้วย

 

 

ในบางกรณีที่สินค้าที่วางบน Pallet มีน้ำหนักไม่มากก็จะใช้ Hand Lift ในการลากสินค้าเข้าไปในตู้และลาก Pallet เปล่าออกมา

การ Unload วัสดุออกจากตู้ก็จะมีกระบวนการคล้ายๆกับการ Load สินค้าเข้าไปในตู้ โดยจะใช้ Folk Lift ยก Pallet เปล่าเข้าไปในตู้เพื่อให้คนยกสินค้าเรียงบน Pallet แล้ว Folk Lift จึงยกสินค้าออกมาจะตู้เพื่อนำไปเก็บ

หากวิเคราะห์จากการทำงานดังกล่าวทั้งการ Load/Unload นั้นจะสามารถพิจารณาจุดอ่อน จุดด้อย ได้ดังนี้

Ø Man Power ใช้ปริมาณของคนทำงานมากเนื่องจากต้องการความรวดเร็วในการจดเรียงสินค้าบน Pallet เพื่อทีจะให้ Folk Lift ยก Pallet ออกไปจากตู้

 

 Ø More Dangerous การใช้ Folk Lift ในการยกสินค้าเข้าและออกนั้นจะทำให้อากาศภายในตู้ Container นั้นมีลักษณะเป็นพื้นที่อับอากาศ แสงสว่างในการทำงานน้อย ก่อให้เกิดสภาพวะแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ปลอดภัย และไม่สะดวกในการทำงาน

 

 Ø Operator Fatigue & Product Damage ลักษณะการยกสินค้าเพื่อจัดเรียงในตู้หรือเรียงบน Pallet นั้นจะทำให้พนักงานเกิดความเมื่อยล้าและส่งผลต่อความเสียหายต่อตัวสินค้า

 

 Ø Non Continue Load ลักษณะการทำงานไม่ต่อเนื่องคือในกรณีที่มีการโหลดสินค้าเข้าตู้ Container เมื่อคนงานเรียงสินค้าเสร็จเรียบร้อยแล้วในหนึ่ง Pallet ก็จะต้องรอ Folk Lift ยก Pallet เปล่าออกและยก Pallet ใหม่ที่มีสินค้าเข้ามาในตู้อีกครั้ง และในกรณีนำสินค้าออกจากตู้ก็เช่นเดียวกัน เป็นการทำงานที่ไม่ต่อเนื่องส่งผลให้การLoad/Unload สินค้านั้นใช้เวลามากขึ้น

 

 

Ø Capability of Folk Lift Folk Lift ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากต้องคอย Support รอเพื่อยก Pallet อยู่ตลอดเวลาไม่สามารถทำงานอื่นได้

Ø Ramp Unit เนื่องจากระดับพื้นของตู้คอนเทนเนอร์และระดับพื้นของ Dock  มีระดับไม่เท่ากันและลักษณะการทำงานในการ Load ของเข้า-ออกตู้โดยใช้ Folk Liftหรือ Hand Lift เข้าไปภายตู้นั้น จึงต้องสร้างชุดทางลาดในบริเวณ หน้า Dock เพื่อปรับระดับให้ Folk Lift หรือ Hand Lift สามารถเข้าไปภายในตู้ได้อย่างสะดวก และต้องเป็นท่า Load สินค้าที่มี Dock Leveler เท่านั้น

Ø Increase Dangerous  การใช้ Folk Lift & Hand lift เข้าไปในตู้นั้นจะเพิ่มโอกาสในการที่จะก่อให้เกิดอันตรายให้กับ คน สินค้าและเครื่องจักรได้ โดยเฉพาะการยก Pallet ขนาดใหญ่หรือในกรณีที่ระดับของ Dock Leveler กับตู้ Container มีระดับที่แตกต่างกันมาก รวมถึงสินค้าที่วางเรียงอยู่บน Pallet อาจล้มหรือหล่นทับพนักงานที่จัดเรียงสินค้าอยู่ภายใน

Ø Low Efficiency ประสิทธิภาพในการทำงานน้อยจึงทำให้ใช้ระยะเวลาในการขนสินค้าเข้า-ออก ตู้ container มากทำให้ต้องมีจำนวนพนักงานหลายชุดและในบางครั้งอาจจะต้องเพิ่มระยะเวลาในการทำงานหากมีสินค้า เข้า-ออกต่อวันหลายๆตู้

Ø Decrease Space ในบางกรณีที่ใช้ Pallet วางซ้อนกันภายในตู้ก็จะทำพื้นที่ในการวางสินค้านั้นลดลงไป 8-10 %แล้วแต่ขนาดของ Pallet

 Ø Small Space Inside  การนำ Folk Lift วิ่งเข้าไปภายในตู้นั้นนอกจากจะเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะก่อให้เกิดอันตรายแล้วยังทำให้เหลือพื้นที่ในการทำงานที่คับแคบแคบพนักงานทำงานลำบากไม่สะดวก

 

การโหลดออกเข้า-ออกจากตู้ Container โดยTelescopic Belt Conveyor

            รูปแบบการทำงานของ Telescopic Belt conveyor นั้นหากเป็นการ Load สินค้าเข้าตู้ก็ใช้ Folk Lift หรือ Hand Lift ยก Pallet ที่มีสินค้ามมากองเรียงในด้านท้ายของตัว Telescopic Belt Conveyor แล้วใช้คนยกสินค้าจาก Pallet วางบน Telescopic Belt Conveyor โดยจะมีพนักงานที่อีกท่านรออยู่ด้านหัวของ Telescopic Belt Conveyor (ภายในตู้) เพื่อจัดเรียงสินค้าภายในตู้ ซึ่งพนักงานที่อยู่ภายในตู้นั้นจะเป็นคน ควบคุมระยะความยาว ความสูง ของแขน Telescopic Belt Conveyor ให้เหมาะสมเพื่อให้ง่ายต่อการยกและจัดเรียง

           ในกระบวนการ Load สินค้าออกจากตู้ container นั้นก็จะกลับกันโดยพนักงานที่อยู่ภายในตู้จะเป็นคน Load สินค้าภายในตู้วางบน Telescopic Belt Conveyor เพื่อให้ Telescopic Belt Conveyor นั้นลำเลียงสินค้าออกจากตู้ และมีพนักงานอีกหนึ่งท่านรออยู่ด้านท้ายของระบบ Telescopic Belt Conveyor เพื่อยกเก็บสินค้าวางบน Pallet, ชั้นวาง หรืออุปกรณ์ลำเลียงอื่นถัดไป

ทำไมต้อง Telescopic Belt Conveyor

Ø Fast Operate Telescopic Belt conveyor เป็นการลำเลียงแบบต่อเนื่องจึงสามารถลำเลียงสินค้าเข้าออกจากตู้ Container ได้รวดเร็วกว่าวิธีดั่งเดิมมาก กว่า 2 เท่า  หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับ ลักษณะ ขนาด น้ำหนัก ของสินค้า

Ø Increase Productivity ; สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการลำเลียงได้ 2 เท่าในปริมาณผู้ปฏิบัติงานที่ลดลง 2 เท่า

Ø Reduce Man Power ; ใช้คนปฏิบัติงานเพียงแค่ 2 คนด้านหัว 1 คน ด้านท้าย 1 คน และ 4 คน ด้านหัว 2 คน ด้านท้าย 2 คน ในกรณีทีสินค้านั้นมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก

Ø Work Safety Telescopic ;  เพิ่มความปลอดภัยในการทำงานไม่ต้องนำ Folk Lift /Hand Lift เข้าไปดำเนินการภายในตู้ Container รวมถึงการใช้คน Operateเพียงคนเดียว ก็ทำให้ภายในตู้ไม่เป็น Confine Space (พื้นที่อับอากาศ) โอกาสในการที่ Folk Lift จะทำความเสียหายให้กับ สินค้า ตู้Container หรือคนปฏิบัติงานเอง จึงทำให้ภายในตู้อยู่ในสภาวะที่สะดวกต่อการทำงานและปลอดภัย

Ø No Ramp Require ไม่ต้องใช้ชุดทางลาดในการ Load/Unload สินค้าเข้า ออกตู้ Container ช่วยลดต้นทุนในการสร้าง Dock Leveler และลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน

Ø Increase  Space ; การลำเลียงสินค้าโดย Telescopic Belt Conveyor สามารถเรียงสินค้าภายในตู้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ Pallet จึงทำให้สามารถเพิ่มพื้นที่ในการจัดเรียงได้ ตามปริมาตร Pallet

Ø Ergonomic Working ; Telescopic Belt Conveyor ทำให้พนักงานสามารถทำงานได้ตามหลักการยก ลักษณะท่าทางที่เหมาะสมเนื่องจากสามารถปรับระดับความสูงของแขน Telescopic ได้ตามความถนัดและความต้องการของผู้ Operate ต้องการ ส่งผลให้ผู้ Operate ใช้แรงในการยกน้อยลง ทำงานได้ยาวนานขึ้น ลดความเมื่อยล้าและยังส่งผลต่อความเสียหายของตัวสินค้าน้อยลงเพราะลดความความรุนแรงในการจัดวางเนื่องมาจากความเมื่อยล้าของผู้ Operate เอง

Ø Truck Non  Movement  ; การขนสินค้าจำพวกกระสอบ เช่น อาหารสัตว์ ปุ๋ย ข้าวสารเปลือก ข้าวสาร หากใช้ระบบสายพานแบบปกติ ก็จำเป็นต้องขยับรถบรรทุกอยู่ตลอดเวลาเพื่อความสะดวกในการจัดเรียงแต่หากเป็นระบบ Telescopic Belt Conveyor ไม่จำเป็นต้องขยับรถอีกต่อไปเพราะแขนของ Telescopic Belt Conveyor สามารถ ยืด-หด สายพานให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมะสมโดยผู้จัดเรียงสินค้าเอง

Telescopic Belt Conveyor Feature

Ø Steel Structure ; เหล็กแผ่นรีดร้อนแล้วน้ำมาขึ้นรูปโดยกระบวนการพับทำให้มีความแข็งแรง สามารถรองรับความเค้นและแรงบิดที่เกิดขึ้นในขณะใช้งานได้ดี การบำรุงรักษาต่ำ

Ø Bearing Life Time ; Bearing Unit ถูกออกแบบและเลือกใช้แบบที่ไม่ต้องการการบำรุงรักษา(Free Maintenance) หรือไม่ต้องเติมจาระบีอีกเลยตลอดอายุการใช้งาน

Ø Variable Speed; ความเร็วในการลำเลียงวัสดุที่เหมาะกับการใช้งานในลักษณะ Load/Unload นั้นไม่ควรเกิน 30 เมตร/นาที (Max.)  ความเร็วที่เหมาะสมกับการลำเลียงในแต่ละสถานการณ์นั้นขึ้นอยู่กับ จำนวนคน ขนาด น้ำหนักของผลิตภัณฑ์และความชำนาญของผู้ Operate เป็นต้น ดังนั้น Telescopic Belt Conveyor จึงออกแบบมาให้สามารถปรับความเร็วในการลำเลียงได้ 0-30 M/Min.เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถปรับความเร็วให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและความต้องการได้

Ø Height Adjustment; Telescopic Belt Conveyor สามารถยกปรับความสูงให้เหมาะสมกับระดับการยกหรือจัดเรียงสินค้าได้เพื่อที่พนักงานจะได้ทำงานได้ง่ายขึ้น ช่วยลดแรงและความเมื่อยล้าในการยกสินค้า โดยปกติแล้ว Telescopic Belt Conveyor จะสามารถยกได้ 3 องศา หรือที่ระดับความสูง (Max.) 1.65 M. (CG 40) แต่หากการใช้งานมีความต้องการความสูงในการยกมากกว่านี้ก็สามารถออกแบบเป็นกรณีๆไป

Ø Smooth Extension; Telescopic Belt Conveyor สามารถยืดออกและหดเข้าได้ตามระยะที่ผู้ใช้งานต้องการ อย่างนิ่มนวลและสม่ำเสมอ โดยใช้ Gear Motor เป็นต้นกำลังร่วมกับโซ่ในการทำงาน (12 M/Min.)

Ø Lamp ;  ที่ด้านปลายของระบบ Telescopic Belt Conveyor System ติดตั้งไฟส่องสว่างเพื่อให้แสงสว่างในกรณี Load/Unload สินค้าภายในตู้ Container ซึ่งมีแสงสว่างน้อยหรือแทบไม่มีเลย Operator ทำงานง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ลดอุบัติเหตุ

Ø Brake Motor ; เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานและสินค้า Motor ที่เป็นต้นกำลังขับสำหรับการยืดออกและหดเข้าของ Telescopic Belt Conveyor ได้ทำการติดตั้ง Brake เพื่อให้ระบบหยุดทันทีเมื่อผู้ใช้ปล่อยมือจากปุ่ม Control

Ø Easy Use ; Telescopic Belt Conveyor System ง่ายต่อการใช้งาน Operator สามารถเรียนรู้การใช้งานของตัวเครื่องได้ภายในเวลาไม่เกิน 5 นาที ก็สามารถใช้งานได้

Ø Severe Environment Design ; การออกแบบและเลือกใช้ Component ในการประกอบ Telescopic Belt Conveyor นั้นได้ออกแบบในสภาวะสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายที่สุดในการใช้งานดังนั้นในการใช้งานโดยทั่วไปจึงสามารถใช้งานได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย ในการใช้งาน

Ø Safety ; ในด้านความปลอดภัยของผู้ใช้งานนั้นเป็นสิ่งสำคัญในลำดับต้นๆในออกแบบและการใช้งานโดยมีระบบที่ช่วยป้องกันอันตรายจากการใช้งานดังนี้

-  Push Bar ; ติดตั้งที่ปลายแขนของ Telescopic Conveyor เป็น Safety Limit Switch ป้องกัน Operator ถูก Telescopic Belt Conveyor ผลักหรือดันในขณะที่ทำการยืดแขนออก

-  Emergency Switch ; ปุ่ม Switch ฉุกเฉิน โดยจะมีอยู่สองตำแหน่งคือบริเวณด้านหัว (ปลายแขน) และด้านท้าย (ตู้ Control) ของ Telescopic Belt Conveyor ใช้กดในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน Telescopic จะหยุดการทำงานทั้งหมดเมื่อกด Emergency Switch

-  Design Safety ; Telescopic Belt Conveyor ออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ดังนั้น ชิ้นส่วนที่มีการหมุนหรือสามารถเคลื่อนที่ได้ จะมี Cover ป้องกัน ช่วงว่างต่างๆ(Gab) ออกแบบและใช้กรรมวิธีการผลิตโดยให้เกิด Gab ให้น้อยที่สุดเพื่อความปลอดภัย

-  Siren ขณะที่แขนของ Telescopic Belt Conveyor ยืด-หด จะมีเสียงหวอเป็นสัญญาณเตือนคนให้ระวัง

Ø 2 Way Direction ; Telescopic Belt Conveyor สามารถทำงานได้สองทิศทางจึงสะดวกทั้งการนำสินค้าเข้าและออกจากตู้Container หรือรถบรรทุกอื่นๆ

Ø Roller End ; Free Roller ติดตั้งบริเวณด้านปลายของ Telescopic Belt Conveyor เพื่อเป็นรองรับสินค้า(ในกรณีการโหลดสินค้าเข้าไปในตู้) เพื่อเป็นที่พักสินค้าชั่วคราวในระยะเวลาหนึ่งในกรณีที่ Operator ยกสินค้าจัดเรียงไม่ทัน

Ø Power Coated ; ใช้สีอบหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าสีฝุ่นซึ่งเป็นรูปแบบการทำสีที่ทำให้สีนั้นทนทานต่อสภาพแวดล้อม สีมีความแข็ง ทนรอยขีดข่วนได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีความหนาอย่างสม่ำเสมอตลอดพื้นผิว

Ø 50 Kg./M. ; Live Load หรือน้ำหนักในการลำเลียงนั้นสามารถขนถ่ายวัสดุได้ 50 กิโลกรัมต่อความยาวสายพาน 1 เมตร โดยในสภาพความเป็นจริงในทางปฏิบัติแล้ว Telescopic Belt Conveyor จะขนถ่ายสินค้าแทบทุกชนิดที่มีน้ำหนักไม่เกิน 30 กิโลกรัม/Unit เนื่องจากเป็นน้ำหนักที่คนสามารถยกได้อย่างเต็มที่

Ø PVC Conveyor Belt Anti Static & Frame Resistance ; สายพานซึ่งเป็นส่วนประหลักตัวหนึ่งของระบบ Telescopic Belt Conveyor ได้เลือกใช้สายพานที่มีคุณสมบัติพิเศษคือ ป้องกันกระแสไฟฟ้าสถิต(Anti Static)และไม่ลามไฟ (Frame Resistance)ในกรณีที่เกิดไฟไหม้ จึงช่วยทำให้ผิวสายพานสะอาดและปลอดภัยจากอุบัติเหตุจากการเกิดไฟไหม้มากขึ้น

Ø Compact Design ;  Telescopic Belt Conveyor ของ Conveyor Guide มีขนาดเล็ก กะทัดรัด มีความกว้าง ความสูง เหมาะกับการทำงาน หากเทียบกับ Telescopic Belt conveyor ที่ผลิตภายในประเทศ ดังนั้นจึงทำให้มีพื้นที่เหลือภายในตู้ Containerและเหมาะกับการ ปฏิบัติงานมากกว่า

Telescopic Belt Conveyor สามารถใช้ลำเลียงในอุตสาหรรมอะไรได้บ้าง

Telescopic Belt Conveyor สามารถนำมาประยุกต์ใช้ลำเลียงวัสดุและสินค้าได้หลากหลายชนิด หลายรูปแบบที่เป็น Unit Load และในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น

     - อุตสาหกรรมยา

     - อุตสาหกรรมน้ำตาล (Sugar Industries)

     - โกดังสินเก็บสินค้า (Warehousing)

     - ห้างสรรพสินค้า

     - Distributors (ศูนย์กระจายสินค้า)

     - อุตสาหกรรมยาง

     - อุตสาหรรมก่อสร้าง

     - อาหารแช่แข็ง

     - อุตสาหกรรมอื่นๆ

Telescopic Cost Comparison

เป็นที่สงสัยของหลายท่านว่าใช้ Telescopic Belt Conveyor แล้ว

-  จะลดจำนวน Operator ได้แค่ไหน?

-  ความเร็วในการลำเลียงจะเป็นเท่าไร ?

-  ลำเลียงสินค้า 1 ตู้จะใช้เวลาเท่าไร?

-  คนงานหรือ Operator จะสามารถใช้เครื่องจักร (Telescopic Belt Conveyor) ได้หรือไม่?

-  จะประหยัดได้อย่างไร?

หลากหลายคำถามจากผู้ที่กำลังจะตัดสินใจหรือต้องการข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจสำหรับ Telescopic Belt Conveyor ซึ่งคำตอบเหล่านั้นมันขึ้นอยู่กับว่า รูปแบบการขนถ่ายสินค้า พื้นที่ ลักษณะสินค้า และปริมาณของสินค้าเป็นและยังมีปัจจัยอื่นๆอีกหลายประการซึ่งต้องดูเป็นกรณีๆไปอย่างไรก็ตามเราพยายามที่จะให้ลูกค้าได้มองเห็นภาพว่า Telescopic Conveyor Belt มีขีดความสามารถในการช่วยท่านได้อย่างไรในเบื้องต้นเราจึงได้ยกตัวอย่างในการขนถ่ายให้ท่านได้พิจารณาดังต่อไปนี้

 สำหรับตู้ Standard ตู้ Container ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จะมีอยู่ 4 รูปแบบคือ

1. Standard 20 Ft. Volume 33.18 m3; 21,727 kg.

2. Standard 40 Ft. Volume 67.67 m3; 26,780 kg.

3. High Cube 40 Ft. (ตู้ 40 Ft.ตู้สูง) Volume 76.28 m3; 26,512 kg.

4. Reefer 40 Ft. (ตู้แช่แข็ง 40 Ft.) Volume 57.76 m3; 20,756 kg

 

Telescopic Belt Conveyor นั้นจะเหมาะกับการลำเลียงสินค้าเข้า-ออก ตู้ Container ให้เต็มโดยคำนึงถึงเต็มโดยปริมาตรเป็นหลักเพราะหากสินค้าที่เต็มโดยน้ำหนักโดยส่วนมากก็จะวางบน Pallet และใช้ Folk Lift หรือ Hand Lift ในการยกและจัดเรียงสินค้า

Conveyor Guide จะขอยกตัวอย่างการลำเลียงสินค้าจำพวกอาหารแช่แข็งครับซึ่งลำเลียงสินค้าประเภทนี้เข้าตู้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งสินค้าจะมีลักษณะเป็นกล่องซึ่งมีขนาดที่แตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัท ในที่นี้ขอยกตัวอย่างกล่องที่มีขนาด 22 x 31 x 53 cm. มีน้ำหนักประมาณ 15 kg. จากการคำนวณ พบว่าในหนึ่งตู้ (40 Ft.) นั้นสามารถบรรจุกล่องได้ 1,383 กล่อง.หากเราคาดว่าทุกๆ 3 วินาทีจะสามมารถวางกล่องบน Conveyor ได้ 1 กล่อง ก็จะสามารถลำเลียงและจัดวางกล่องได้ 1,200 กล่อง/ชั่วโมง ดังนั้นจากกล่องทั้งหมด 1,383 กล่อง ก็จะใช้เวลา 1 ชั่วโมง 10 นาทีในการลำเลียงกล่องทั้งหมดเข้า หรือ ออกจากตู้ Container ขนาด 40 Ft.โดยใช้ Operator เพียงแค่ สองคน แต่หากเพิ่ม Operator อีก 1-2 คน เพื่อเพิ่มคนจัดเรียง จัดวาง(Load) ก็จะสามารถเพิ่มความเร็วในการลำเลียงได้อีก  แต่หากไม่มี Telescopic Conveyor Belt ช่วยในการลำเลียงคือใช้ระบบเดิมในการลำเลียงสินค้าเข้าออกจากตู้จะใช้เวลาเท่าไหร่นั้น โรงงานจะรู้ดีที่สุดเพราะขึ้นอยู่กับตัวแปรอีกหลายตัว แต่จากการสอบถามคงต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3-4 ชั่วโมงเป็นแน่และต้องใช้ Operator ประมาณ 6-7  คน. หากมองง่ายๆเหตุผลหลักๆ Telescopic Belt Conveyor จะให้อะไรกับคุณบ้าง มีดังนี้

§  ลดคนงาน (Operator) อย่างน้อย 3-4 คน

§  เพิ่มความเร็วในการทำงานอย่างน้อย 2 เท่า

§  Folk Lift สามารถไปทำงานอื่นได้

§  สินค้าเสียหายน้อยลง

§  Operator ทำงานอย่างมีความสุข ลดอาการบาดเจ็บและเมื่อยล้าในการทำงาน

§  ความปลอดภัยเพิ่มขึ้น

6 ข้อนี้เป็นประโยชน์โดยตรงของ Telescopic Belt Conveyor ที่ท่านจะได้รับทันทีที่ใช้งานในส่วนของความคุ้มค่านั้น ท่านจะต้องเปรียบเทียบดูแล้วว่าลดคนงานไป 3-4 คน ความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว สินค้าเสียหายน้อยลง คุ้มค่าไหมสำหรับท่าน เป็นสิ่งที่ท่านต้องนำไปพิจารณา แต่หากมีจำนวน สินค้าลำเลียงเข้า-ออก จากตู้ Container หรือรถบรรทุกวันหนึ่ง หลายๆตู้ สามารถประเมินได้เลย ว่า Telescopic Belt Conveyor จะตอบแทนและคืนทุนให้กับท่านในระยะเวลาไม่นาน ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี ขึ้นอยู่กับปริมาณตู้ Container ต่อวัน ซึ่งจะขอยกตัวอย่างในการคำนวณเพื่อให้ชัดเจนมากขึ้นดังต่อไปนี้

 

โจทย์   ใช้ Telescopic Belt Conveyor ลำเลียงกล่อง ขนาด 85x65x35 Cm. Weight 30 Kg.ออกจากตู้ ระยะวางกล่องห่างกันประมาณ 3 เมตร (สมมุติใช้เวลา 6 วินาที สามารถยกกล่องขึ้น-ลง Conveyorได้ 1 กล่อง)  Conveyor จะสามารถขนถ่ายได้ประมาณ 600 กล่อง/ชั่วโมง หากสำเลียงกล่องเข้า-ออกจากตู้ Container ขนาด 40 ft. ซึ่งจะบรรจุกล่องขนาดดังกล่าวได้ประมาณ 350 กล่องดังนั้น เท่ากับว่าการลำเลียงกล่องเข้า-ออกจากตู้นั้นใช้เวลา ประมาณ 35 นาทีเท่านั้นโดยใช้คนงานเพียงแค่ สอง(2)คนเท่านั้น แต่ในการปฏิบัติจริงคงต้องเผื่อเสียเวลาเล็กน้อยสำหรับการปรับแขน Conveyor เข้า-ออก เพื่อการจัดเรียงกล่องให้เข้าที่เป็นระเบียบ เผื่อคนงานเหนื่อยอู้งานอีก คิดง่ายๆ 15 นาที ดังนั้นการขนของ ออก ตู้ จะใช้เวลาประมาณ 50 นาที  โดยใช้ พนักงานเพียง 2 คนเท่านั้น 

 

ถ้าทำงานในตู้ถัดๆไป คนงานต้องเกิดความเมื่อยล้า ทำให้ประสิทธิภาพลดลง ดังนั้นเวลาเฉลี่ยต่อการเอาสินค้า เข้า-ออกจากตู้เท่ากับ 1 ชั่วโมง

 

หากต้องการหาปริมาณการขนถ่ายสามารถคำนวณได้จากสูตรต่อไปนี้

 

 

ลำเลียงสินค้าออกจากตู้ Container ขนาด 40 ฟุตโดยใช้แรงงานคน

จากการสังเกตการณ์ทำงานจริงพบว่ากระบวนการทำงานแบบดั้งเดิมคือการใช้คนงานประมาณ 6 -7 คนช่วยกันยกและเรียงสินค้าเพื่อวางมาบน Pallet ซึ่งยกมาวางไว้โดยรถ Folk Lift หรือ Hand Lift ในปริมาณครั้งละ 4-10 Pallet แล้วแต่ความเหมาะสมเมื่อพนักงานช่วยกันยกสินค้าภายในตู้วางบน Pallet จนเต็มแล้วจึงให้รถ Folk Lift มายก สินค้าออกไปจากตู้จนหมดและนำ Pallet มาวางในตู้อีกครั้ง และจะทำลักษณะแบบนี้เรื่อยไปจนกระทั่งสินค้าลำเลียงออกจากตู้จนหมด ซึ่งจะใช้เวลาจนกระทั่ง นำสินค้าออกจากตู้จนหมดประมาณ 3 ชั่วโมงต่อตู้

 

 ตารางสรุปเปรียบเทียบการทำงานระหว่างใช้แรงคนกับใช้ Telescopic Conveyor ต่อ หนึ่งตู้ 40 ฟุต คอนเทนเนอร์

Summary Time and Labor Coparison Between Using Manpower and Telescopic Conveyor

 

Unload Cargo out of  40 foot Container

Conveying Type

Time(Minute)

Manpower(No.)

Use Manpower

180

6

Use Telescopic Conveyor

60

2

Different

120

4

 

            สมมุติในหนึ่งวันต้องขนสินค้าออกจากตู้ให้ได้ 7 ตู้/วัน ในกรณีที่ใช้การขนถ่ายแบบดังเดิมจะต้องใช้ คนงานทั้งสิ้น 3 ทีมๆละ 6 คนจึงจะสามารถขนถ่ายสินค้าออกได้ทันในเวลา 8 ชั่วโมง รวมทั้งหมดต้องใช้ Man Power ทั้งหมด 18 คน

หากคิดค่าแรงของ Man Power เพียงอย่างเดียว ที่ลดลงจากเดิม 14 คน (Telescopic ใช้ Man Power 2 คนและเผื่อไว้อีก 2 คน) โดยคิดที่ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน (ทำงาน 26 วัน/เดือนโดยประมาณ)

= 14 x 300 x 26

            = 109,200 บาท/เดือน หรือ 1,310,400 บาท/ปี ในกรณีที่ทำงานปกติ 8 ชั่วโมงต่อวัน

            ทั้งนี้ จำนวนเงินที่สามารถประหยัดขึ้นนั้นจะมากหรือน้อยกว่าจากการคำนวณนั้นก็ขึ้นอยู่กับอีกหลาย Factor ประกอบกัน เช่น

Ø กระบวนการทำงาน

Ø พื้นที่(ผัง)ในการปฏิบัติงาน

Ø น้ำหนักวัสดุ

Ø ปริมาณการขนถ่ายต่อวัน

Ø ปริมาณการทำงานล่วงเวลาในแต่ละวัน

Telescopic Belt Conveyor Component Specification

            ระบบสายพานลำเลียงแบบยืดหดของ บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัดใช้อุปกรณ์ (Component) และชิ้นส่วนต่างๆที่มีคุณภาพดี เป็นที่ยอมรับในระดับโลก โดยใช้เลือก Brand จากฝั่งประเทศทางยุโรปเป็นหลัก และคำนึงถึงการหา Spare Part ในประเทศต้องมีจำหน่ายแพร่หลายสามารถจัดหาได้ง่าย โดยทั่วไป

           Telescopic Belt Conveyor ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับการใช้งานในการ Load หรือ Unload สินค้าหรือวัสดุจำพวก ลัง กล่อง ถุง ม้วน หรือPackageสินค้าในลักษณะอื่นๆ ซึ่งเป็นระบบลำเลียงที่มีประสิทธิภาพสูงในการลำเลียงสินค้าขึ้น-ลงจากรถบรรทุกหรือตู้ Container จากการออกแบบเพื่อให้เหมาะกับการขนถ่ายสินค้าระบบจึงสามารถใช้งาน ง่าย และสามารถเชื่อมต่อกับระบบ ลำเลียงอื่นๆได้โดยง่ายเช่นกัน

Area of Application:

Telescopic Belt Conveyor สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น

     1.อุตสาหกรรมยา

     2.อุตสาหกรรมน้ำตาล (Sugar Industries)

     3.โกดังสินเก็บสินค้า (Warehousing)

     4.ห้างสรรพสินค้า

     5.Distributors (ศูนย์กระจายสินค้า)

     6.อุตสาหรรมก่อสร้าง

     7.อุตสาหกรรมอื่นๆ

Advantages

 

 

 

► จากการออกแบบ Telescopic Belt Conveyor ของบริษัท Conveyor Guide ได้พิจารณาให้สามารถใช้ได้ครอบคลุมของทุกอุตสาหกรรม และหลากหลายสินค้า ดั้งนั้นจึงสามารถขนถ่ายสินค้าทั้งขาขึ้นและขาลงได้หลายชนิด หลายขนาด และหลายน้ำหนักภายในตัวเดียว

 

 

► ไม่ว่ารถบรรทุกหรือตู้ Container ของคุณจะยาวหรือสูง เพียงใดเรามีหลากหลายโมเดลให้ท่านเลือกเพื่อ ให้เหมาะสมกับลักษณะของพื้นที่ และความต้องการในการใช้งานมากที่สุด

 

► หลากหลาย Option สามารถเลือกติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความสะดวกหรือให้เหมาะสมกับลักษณะของพื้นที่นั้นๆได้เช่น

  • ระบบ Hydraulic ในการปรับมุมชัน ( Up & Down System )
  • ติดตั้งอยู่กับที่หรือแบบสามารถเคลื่อนที่ได้ (Fix or Mobile )
  • ระบบไปเพื่อแสงสว่างหรือความปลอดภัย (Light)
  • ตัวนับจำนวน (Counting)
  • ตัวสแกน (Code Scanning)
  • สามารถปรับความเร็วรอบได้ (Speed  Adjustable)
  • ชุดยกเพื่อเพิ่มความสูงของระบบลำเลียง (Supporting Feet)   

 

► มีความแข็งแรง ทนทาน สามารถเชื่อมต่อกับระบบ Handling ต่างๆที่มีอยู่ได้ เช่น Roller Conveyor, Belt Conveyor หรือ Chute Conveyor

► ช่วยลดเวลาในการ Loading และ Unloading 75% เป็นอย่างน้อยหากเทียบกับการดำเนินการโดยวิธีอื่น

 

 

► ระบบสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสมบูรณ์คงที่และสม่ำเสมอตลอดช่วงเวลาการLoading หรือ Unloading

 

► พื้นที่ในการบรรทุกเพิ่มขึ้นอีก 10% เนื่องจากไม่ต้องใช้ Pallet ในการช่วยในการลำเลียงและจัดวาง

► สามารถควบคุมระยะ ยืด-หด ของ Telescopic Belt Conveyor ได้อย่างง่ายและปลอดภัยเพียงควบคุมโดยปุ่มกดที่ปลายของ Telescopic Belt Conveyor

 

► สามารถลดกำลังคนในการดำเนินการซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนของสินค้า

► ใช้แรงงานน้อย Telescopic ลำเลียงวัสดุขึ้นหรือลงจากรถบรรทุกหรือตู้ Container โดยใช้พนักงานเพียงแค่ 2 คนเท่านั้น

Safety

 

ในแง่ของระบบความปลอดภัยนั้นในการออกแบบ Telescopic Belt Conveyor เราได้คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยความเป็นมิตรกับผู้ใช้และสามารถใช้งานได้ง่าย เป็นอันดับต้นๆ ดังนั้น เราถึงออกแบบ รูปแบบการใช้งาน ส่วนประกอบ (Component) ให้เป็นมิตรและปลอดภัยในการใช้งานกับผู้ใช้ให้มากที่สุด ในแง่ของระบบเตือน ป้องกัน และหยุดยั้ง เช่น ไฟแสดงสถานะ Emergency Stop ก็ได้ออกแบบให้สามารถ มองเห็น และใช้งานได้ง่ายและรวดเร็ว

 

การจัดวางตำแหน่งชุดปุ่มกดเพื่อควบคุมระบบอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมง่ายต่อการควบคุมผู้ใช้สามารถ ศึกษาได้จากคู่มือหรือได้รับคำแนะนำเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้นก็สามารถใช้งานได้

ในระบบ Telescopic Belt Conveyor ที่ใช้ลำเลียงสินค้าในแนวเอียง บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด ได้ติดตั้งระบบเบรกเพื่อป้องกันสินค้าไหลกลับในกรณีที่สินค้าคงค้างอยู่บนระบบลำเลียงในขณะที่ระบบ ลำเลียงหยุดการทำงานในทุกๆกรณี ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฎิบัติ งาน หรือผู้อยู่ใกล้เคียงรวมถึงช่วยไม่ให้สินค้าหรือทรัพย์สินเสียหายอีกด้วย

 




Telescopic Belt Conveyor

2)ทำไมต้องสายพานยืดหด