ReadyPlanet.com
dot
Line ID
dot


>> 7.9 GRAVITY TAKE UP (คำแนะนำการออกแบบตุ้มถ่วงสายพาน)

 

 

 GRAVITY TAKE UP (คำแนะนำการออกแบบตุ้มถ่วงสายพาน)

 

Garvity tak up Layout (รูปแบบการวางตุ้มถ่วงแบบใช้แรงโน้มถ่วง)

ในบางกรณีที่คอนเวเยอร์ต้องรับน้ำหนักบรรทุกมากทำให้สายพานมีแรงดึงสูง ระยะตกท้องช้าง(Canary sag)ไม่สามารถที่จะมีแรงดึงของสายพานได้เพียงพอที่จะป้องกันไม่ให้สายพาน Slip ดังนั้นจึงจะต้องจำเป็นติดตั้ง Gravity Take Up หรือตุ้มถ่วงแบบใช้แรงโน้มถ่วงของโลกเป็นน้ำหนักพิเศษเพิ่มเติม เพื่อสร้างแรงดึงสายพานด้านล่าง ซึ่งเป็นการปรับความตึงของสายพานที่ได้ผลดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อติดตั้งในด้านสายพานกลับใกล้กับ Drive Sprocket  โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาดังนี้ 


เมื่อไหร่ถึงจะติดตั้ง Gravity take Up

1)คอนเวเยอร์ที่มีความยาวมากกว่า 23 เมตร

2)ติดตั้งในคอนเวเยอร์ที่มีความยาวมากกว่า 15 เมตรและมีความเร็วมากกว่า 30 เมตรต่อนาที 3 คอนเวเยอร์ที่ทำงานอยู่ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างสูง

3) คอนเวเยอร์ที่มีความเร็วมากกว่า 15 เมตรต่อนาทีและน้ำหนักบรรทุกมากกว่า 120 กิโลกรัมต่อเตารางเมตรและมีการเปิดปิดคอนเวเยอร์บ่อยๆ

Ø สำหรับสายพานที่มี Pitch  1 นิ้ว ใช้ลูกกลิ้งที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้วและมีน้ำหนักตุ้มถ่วง 15 กิโลต่อเมตรน้ำหน้ากว้างของสายพาน

สำหรับสายพานที่มี Pitch 2 นิ้วใช้ลูกกลิ้งที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้วและมีน้ำหนักตุ้มถ่วง30 กิโลต่อเมตรตามหน้ากว้างของสายพาน

 

การจัดระยะ Conveyor ขนาดสั้นมีระยะ center to Center น้อยกว่า 2.0 เมตรเพื่อให้มีแรงดึงด้านล่าง(Back Tension) ที่เหมาะสมเพียงพอ

              b 

การจัดระยะ Conveyor ขนาดยาวมีระยะ center to Center มากกว่า 4.0 เมตรเพื่อให้มีแรงดึงด้านล่าง(Back Tension) ที่เหมาะสมเพียงพอ

 

ไม่รู้จัก ในไลน์ ยังกล้าทัก ตัวเป็นๆน่ารัก รีบทักเลย

สอบถามมาเลย...โดน

แกนหลักที่ให้ข้อมูลเป็นทีมงานวิศวกร ซึ่งจบมาจากหลายสถาบันเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ทีมงานมีเบื้องหลังและประสบการณ์การทำงานด้านระบบสายพานลำเลียงทั้งระบบสายพานลำเลียงทั้งขนาดใหญ่(Heavy Duty)ที่และขนาดเบา(Light Duty) ร่วมกันเป็นทีมงานที่จะแบ่งปันความรู้กับท่านผู้อ่านผ่าน website นี้

 

ขอเน้นว่า D.N.A ทีมงานเป็นช่าง ไม่ใช่D.N.Aของนักขายอาชีพ ไม่มีความถนัดในการปิดงานขายเหมือน Sale อาชีพ เราจะลบสภาพที่ท่านคุ้นเคยนี้ออกไป โดยสร้างความเชื่อใจให้เป็นสิ่งแวดล้อมใหม่ด้วยการพยายามอย่างหนักที่จะช่วยเหลือผู้บริโภคอย่างจริงใจ บอกตรง พูดจริง ไม่รับปากซี้ซั๊ว เอาเฉพาะเรื่องวิทยาศาสตร์ พิสูจน์กันได้ รับข้อมูลไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องเชื่อเราทั้งหมด เก็บสมองด้านขวาไว้ในลิ้นชักชั่วคราว...ใช้สมองด้านซ้ายคำนวณด้วยเหตุ-ผลพิจารณาความเหมาะสมเอาเอง เลือกอุดหนุนกับใครหรือ Suppliers ใดๆได้ตามความคุ้มค่ากับเงิน(Value for Money) ที่จ่ายไปก็แล้วกัน




> 7. การออกแบบสายพานโมดูล่าร์(How-To Design Modular Belt)

>> 7.1 การออกแบบสายพานโมดูล่าร์(How-To Design Modular Belt)
>> 7.2 General conveyor Guide Design (คำแนะนำ: แนวทางทั่วไปการออกแบบระบบสายพานโมดูล่าร์)
>> 7.3 Horizontal Conveyor Designed Guide (คำแนะนำการออกแบบสายพานวิ่งตรงในแนวราบ)
>> 7.4 Inclined Conveyor Designed Guide
>> 7.5 การติดตั้งเพลาและเฟือง(Shaft and Sprocket Installation)
>> 7.6 TWO DIRECTIONAL Conveyors Designed Guide
>> 7.7Transfer Point
>> 7.8 BELT SUPPORT ARRANGEMENT การออกแบบส่วนรองรับสายพาน
>> 7.10 Transfer Point Design (การออกแบบจุเชื่อมต่อสายพาน)